Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
6 พ.ค. 2020 เวลา 15:18 • การศึกษา
Chapter 6 :
7 Indicator หลักที่ใช้วัดผลกิจกรรม TPM
KPI : Key Performance Indicator
สงสัยกันมั้ยครับ..ว่าเราจะกำหนดดัชนีชี้วัดอย่างไร ..นั้นสิ❓ และเราจะกำหนดแบบไหน..เพื่อให้สามารถชี้วัดการเดินทางของเราได้ในการทำ TPM ..เพื่อให้ตอบโจทย์ตรงที่สุด..ยากอีกละ💢
ต้องบอกก่อน Indicator หรือดัชนีชี้วัด ในส่วนของ TPM เราสามารถที่จะกำหนดได้ 2 ส่วนคือ
1) ดัชนีรวม หรือดัชนีหลักที่หน่วยงาน TPM Promoter เป็นผู้กำหนด
2) ดัชนีเสา หรือตัววัดผลการทำกิจกรรมของแต่ละเสานั้นเอง
นั้นสิและทำไม มันต้องแยกและต้องมีทั้งของเสาและของ Promoter ผมก็เลยสรุปง่ายๆ ตามภาษาชาวบ้านเลยละกัน💬
Indicator ของ Promoter ก็คือ Indicator ภาพรวมกิจกรรมของ Plant ของโรงงานซึ่งจะใช้เป็นตัวชี้วัดหลักในกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะอ้างอิงจาก Policy Vision Mision ซึ่งมันจะแตกออกมาเป็น KMI ที่เคยอธิบายไปใน Chapter ก่อนหน้า ซึ่งผมจะจบไว้ตรงนี้ เดี๋ยวจะงง...ใครสงสัยก็ลองย้อนกลับไปอ่าน Chapter ก่อนหน้านะครับ ^^”
ส่วน Indicator ของเสาจะเป็นดัชนีที่ใช้ชี้วัด คือผลสำเร็จของกิจกรรมแต่เสานั้นเอง ส่วนใหญ่ 80-90% จะกำหนดโดยอ้างอิงจาก KMI บริษัท และอีกส่วนหนึ่งจะอ้างอิงมาจาก Criteria ของการดำเนินกิจกรรมเสา จากสถาบันของประเทศที่คุณจะขอ Award เช่น ญี่ปุ่น หรือ อังกฤษ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
Indicator ของ Plant เมื่อมองในแง่ของ Productivity ,Promotor อาจจะกำหนดภาพรวมของ Plant เช่น ภาพรวม OPE เป้าหมายอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของเสาอาจจะแตกออกมาเป็นดัชนีที่ชี้ไปที่ OEE ของแต่ละเครื่องจักร แต่ละกลุ่ม แต่ละประเภทตามแต่เงื่อนไขนั้นๆ
หมายเหตุ : ขยายความ OPE (Overall Plant Effectiveness) ประสิทธิผลโดยรวมของโรงงาน เป็นการนำเอาประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) ทั้งโรงงานมาพิจารณาร่วมกัน โดยการพิจารณานั้นจะให้ความสำคัญกับเครื่องจักรหรือกระบวนการต่างๆแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำคัญของเครื่องจักรที่ส่งผลต่อสมรรถนะโดยรวมของโรงงาน
แนวความคิดการหาภาพรวม OPE โรงงาน
โดยวันนี้เราจะมาสรุปดัชนีหลักในส่วนของโรงงานหรือ TPM Promotor โดย 7 ดัชนีหลักๆ คือ PQCDSME
1 Productivity (P)
2 Quality (Q)
3 Cost (C)
4 Delivery (D)
5 Safety (S)
6 Morale (M)
7 Environment (E)
ขอบคุณภาพจาก Lean Manufacturing Online
ซึ่งจากดัชนีข้างต้นสามารถแตกย่อยและกำหนดลงไปในดัชนีได้อีกมากมายขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่เราจะเดินไปให้ถึง เช่น Quality เราสามรถที่จะแตกย่อยออกมาได้ เช่น %Prime yield, %Quality defect ,%Scrap ,Claim & Compain เป็นต้น ใน Chapter หน้าเดี๋ยวจะมาขยายความและแตกดัชนีแต่ละตัวอีกครั้ง
ซึ่งจากที่กล่าวมาเรามีตัวอย่างการตั้งดัชนีชี้วัดโดยใช้ PQCDSME และการ Benchmark ของดัชนีแต่ละตัว
ตารางการกำหนดดัชนี และการ benchmark
สำหรับ Chapter ที่ 6 ขอจบไว้เท่านี้ สำหรับครั้งหน้าจะมาขยายความเรื่องอะไร กดติดตามกันไว้เลยครับ TPM ไม่ยากอย่างที่คิด....
ถ้าเห็นว่าข้อมูลมีประโยชน์ ช่วยแชร์และติดตามเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
6 บันทึก
5
11
6
5
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย