Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิภาวดีสัตวแพทย์
•
ติดตาม
7 พ.ค. 2020 เวลา 04:32 • การศึกษา
ร้อนนี้ สัตว์เลี้ยงตายหลายตัวแล้วนะคะ
อาการ Heat Stroke (โรคลมแดด) คือการหมดสติที่มีสาเหตุมาจากอากาศ หรืออุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้น
🔴โดยมีสาเหตุหลัก คือ การที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้น(ภายนอก และภายในร่างกาย)ได้ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย อาจมีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงมาก เช่น ตัวร้อน หอบ ขนลุกเหมือนหนาวสั่น ตะคริว เกร็งกระตุก คล้ายอาการชัก เป็นลมหมดสติ โคม่า ไม่รู้สึกตัว จนถึงมีผลเสีย หรือกระทบต่อการทำงานของอวัยวะหลาย ๆ ระบบ
🔴โรคลมแดด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่มีขนหนาและยาว รวมทั้งสัตว์ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นแต่ถูกนำมาเลี้ยงในบ้านเราก็แทบจะมีอยู่ฤดูกาลเดียวคือ “ร้อน” จะร้อนมากร้อนน้อยก็ว่ากันไป สัตว์เลี้ยงที่มีโอกาสเป็นโรคนี้มีดังนี้ สุนัข แมว กระต่าย หนู แม้แต่ปลาก็ตายได้จากสภาพอากาศที่ร้อนขนาดนี้
🔴ทำไมสัตว์เลี้ยงถึงทนกับความร้อนไม่ได้ นั่นเพราะไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนคน ที่มีหน้าที่เพื่อระบายความร้อน เมื่อเจอกับอากาศที่ร้อนบวกกับขนหนานุ่มที่ยิ่งทำให้ร้อนไปใหญ่ ระบายความร้อนก็ไม่ได้ ความร้อนก็จะสะสมสูงขึ้นๆจนทำให้เสียชีวิตได้เลย
🔴อาการของ โรคลมแดด
✅ขั้นที่ 1 มีอาการตัวร้อน ใบหูร้อน เส้นเลือดที่ใบหูดูขยายใหญ่ ถ้าจับตัวตามใบหู ขาหนีบต่างๆแล้วรู้สึกร้อนผิดปกติจะมีอาการหายใจเร็ว รัว หอบ หายใจทางปาก (อ้าปากหายใจ)หายใจเสียงแรงผิดปกติ เหมือนหายใจลำบาก น้ำลายฟูมปาก เจ้าของสามารถวัดอุณหภูมิได้นะคะ ไม่ควรเกิน 40.5 เซียลเซียสค่ะ
✅ระดับที่ 2 มีน้ำลายไหลยืดเป็นฟอง แฉะทั้งจมูกและปาก จะมีอาการกระสับกระส่ายไม่สบายตัว หรือ อาจจะมีอาการเซื่องซึม เชื่องช้ามากกว่าปกติ เริ่มไม่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
✅ขั้นรุนแรง ตะคริว เกร็งกระตุก คล้ายอาการชัก เป็นลม หมดสติ โคม่า ไม่รู้สึกตัว จนถึงมีผลเสีย หรือกระทบต่อการทำงานของอวัยวะหลาย ๆ ระบบนี่เป็นขั้นสุดท้ายค่ะ ภาวะนี้ถือว่าเป็นภาวะเร่งด่วนฉุกเฉิน ที่ต้องรีบให้การรักษาโดยทันที
✅ดังนั้นเจ้าของจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา เพราะถ้านึกถึง สงสัย และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น จนถึงส่งให้สัตวแพทย์ช่วยเหลืออย่างรวดเร็วจะช่วยลดอัตราตายลงได้ถึงร้อยละ 10 ส่วนการวัดไข้ต้องวัดโดยทางทวารหนักจะเที่ยงตรงที่สุด
❤️การป้องกัน❤️
ในกรณีอากาศปกติควรดูแลดังนี้ค่ะ
• ถ้าเลี้ยงในห้องแอร์ ก็ไม่เกิดปัญหานี้แน่นอน(ยกเว้นแอร์เสียแล้วไม่มีใครดูแล)
• เปิดพัดลม แบบเปิดส่ายไปมาให้ลมพัดผ่านสบายๆ แต่ไม่ควรจ่อตรงๆ เพราะถ้าอากาศร้อนมากก็จะเป็นการดูดความร้อนจากด้านนอกให้เข้าตัวสัตว์ของเราเร็วมากขึ้นค่ะ
• เลี้ยงนอกบ้านทำที่กำบังแดดไว้ให้หลบแดด และอากาศต้องถ่ายเทได้ดี
ในวันที่มีอากาศร้อนกว่าปกติ ควรเพิ่มเติมดังนี้
• เตรียมน้ำไว้ให้กินอย่างเพียงพอ
• เอาน้ำแข็งใส่น้ำให้กิน หรือน้ำหวานก็ได้
• ย้ายไปอยู่ในที่ที่เย็นกว่าเดิมเปลี่ยน ในตำแน่งที่เราสามารถอยู่ได้ด้วยในช่วงที่ร้อนที่สุดของวันคือเที่ยงวันถึงบ่ายสาม เป็นการตรวจสอบไปในตัวว่าอุณหภูมิไม่ร้อนจนเกินไป
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หากสัตว์เลี้ยงของเราเริ่มมีอาการโรคลมแดดแล้ว เราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งสัตวแพทย์ดังนี้นะคะ
• ในกรณีที่อาการยังไม่หนักมาก ยังพอกลืนได้ ให้ป้อนน้ำเย็น
• ลดอุณหภูมิกายลงโดย ค่อย ๆ ลดลงมาที่ 39-40 องศาเซลเซียสก่อน(บางตัวอุณหภูมิเลยปรอทก็ได้คือวัดไม่ได้เพราะสูงเกินไป) ยังไม่ต้องรีบลดลงจนเป็นปกติเร็วเกินไป พ่นละอองฝอยของน้ำเป็นสเปรย์ละเอียดกับร่างกายสัต์ป่วยคลุมด้วยผ้าชุ่มน้ำหรืออาจเอาถุงน้ำแข็งวางบริเวณซอกรักแร้และขาหนีบทั้งสองข้างร่วมไปด้วย
• หัวใจหรือหลักการรักษา คือต้องค่อยๆลดอุณหภูมิกายลง ไม่ต้องการให้ลดเร็วจนเกินไป โดยวิธีการใช้ละอองน้ำพ่นใส่ ร่วมกับเปิดพัดลมเป่า จะช่วยส่งเสริมการระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดีที่สุด ห้ามจุ่มน้ำเย็นจัดหรือลงอ่างที่ผสมน้ำแข็งเพราะจะทำให้ความร้อนยิ่งเพิ่มขึ้น ระบายไม่ออกจากร่างกาย
• สุดท้ายรีบนำส่งสัตวแพทย์ด่วนๆค่ะ
ฝากเจ้าของว่า : เจ้าของบางท่านออกจากบ้านเช้ามืดกว่าจะกลับก็มืดค่ำแล้ว เจ้าต้องตรวจสอบสัตว์เลี้ยงของเราว่า เริ่มมีอาการผิดปกติจากโรคลมแดดหรือยังในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวันคือเที่ยงถึงบ่ายสามโมงเพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที ก่อนจะสายเกินไป
โทร ; 062-292-2661
✅FB:วิภาวดีสัตวแพทย์
✅FB : Cat Hotel by Wipa
#CatHotelbyWipainBangkok
#CatHotelbyDrWipainBangkok
#วิภาวดีสัตวแพทย์
เราอยู่ที่นี่ ;
Location
https://goo.gl/maps/rVbDDE7xuRK2
ติดต่อเรา ;
Line@ :
https://line.me/R/ti/p/%40fha7883t
บันทึก
4
3
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย