7 พ.ค. 2020 เวลา 05:52 • ธุรกิจ
เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง
แต่มักจะมีเหตุผล สุดคลาสสิคที่ว่า ไม่มีต้นทุนที่จะทำ เลยไม่ได้ทำกับเขาซักที
วันนี้มีหนึ่ง Case study ที่น่าสนใจนำมาแบ่งปันให้ฟังกันครับ
เป็นเคสที่เริ่มต้นจาการ ไม่ได้ลงทุนทำร้านเป็นของตัวเอง เพื่อขายสินค้าก่อนแต่อย่างใด
แต่เป็นการหาลูกค้าเป็นของตัวเองก่อนแล้วจึงเปิดขายสินค้า
ลองมาดูกันครับ
เคสแรก เกิดขึ้นในไทยนี่เอง เป็นร้านกาแฟ เล็ก ๆ แห่งหนึ่งในตัวเมือง ยะลา
ร้านนี้เกิดมาจากการที่ ตัวเองอยากเปิดร้านกาแฟเป็นของตัวเอง แต่ดันไม่มีต้นทุน
เขาก็เริ่มจากการที่ ชงกาแฟ ทานเอง และนำที่เหลือไปแจกจ่ายให้กับเพื่อนร่วมงานบ้าง เพื่อนบ้านบ้าง คนรู้จักบ้าง จนคนที่ชิม กาแฟของเขานั้นบอกว่าอร่อย และติดใจ
ทุกอย่างเริ่มจากจุดนี้แหละครับ เมื่อชงให้คน 100 คน แล้วมีคน 90 คน บอกว่าอร่อย จะเป็นไปได้หรอ ที่หนึ่งใน 90 คน จะไม่ซื้อเลย ถ้าทำกาแฟออกมาขายจริง ๆ?
เขาจึงเริ่มจากจุดนั้น โดยเปิดบ้านของตัวเอง เป็นร้านชงกาแฟ เล็ก ๆ และขายให้กับคนที่รู้จัก
แต่ประเด็นมันก็ดันอยู่ที่ว่า บ้านของเขามันอยู่ใน ซอย ที่การจะเข้ามาทีก็ลำบาก ไอ้ดันจะไปเปิดหน้าร้าน ริมถนนใหญ่ ก็ไม่มีเงินไปเช่าเค้าอีก
มาถึงจุดนี้นั่นคือจุด ที่เรามีของดี แต่ต้องการตลาดที่จะได้โชว์
เขาเลยไปติดต่อ งานกีฬาสีของมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่ง เพื่อที่จะขอเข้าไปเปิดร้านขายน้ำ
และ นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นจุดที่สอง ที่ทำให้ธุรกิจของเขาเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แน่นอนว่า ขึ้นชื่อว่างานกีฬาสี ต้องจัดในช่วงตอนกลางวัน ซึ่งถ้าถามว่าร้อนไหม ก็คงตอบได้เลยว่าร้อน
แล้วถ้าร้อน มีใครบ้างหละ ที่ไม่อยากกินน้ำ??
สิ่งที่เขาทำคือ ชงน้ำทีละหลายๆ แก้ว และไปขายตามแสตนด์ต่าง ๆ พร้อมทั้งติดสติ๊กเกอร์ Add line พร้อมเบอร์โทรศัพท์ ถ้าเกิดว่าอยากสั่งก็ให้ add line หรือโทรไปสั่งได้
ผลปรากฎว่า วันนั้น นอกจากจะขายหมดเกลี้ยงแล้ว เขายังได้ลูกค้ากลุ่มใหม่คือกลุ่มนักศึกษา ที่กลายมาเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของเขาในปัจจุบัน
เมื่อร้านเติบโตด้านลูกค้า ปัญหาที่ตามมานั่นก็คือ การส่งของในอัตราที่จำกัด เนื่องจากว่าเขาเริ่มธุรกิจ โดยไม่ได้จ้างใคร ใช้เพียงตัวเขากับภรรยา จึงทำให้ส่งของได้ค่อนข้างจำกัด ผิดกับยอด ออร์เดอร์ ที่สั่งเข้ามา
เขาจึงเพิ่มจำนวนคนส่งโดยวิธีการ ที่ไม่เปลืองต้นทุน โดยให้นักศึกษาที่เป็นลูกค้า มาทำหน้าที่ส่งของให้แทน โดยจะให้ค่าส่งจาก จำนวนแก้วที่นักศึกษาสามารถส่งได้ ไม่ใช่เป็นราคาเหมาต่อวัน
นั่นก็เท่ากับว่า เขาจะได้ต้องมามีค่าใช้จ่ายด้านคน แต่อย่างใด และ อีกอย่างคือ นักศึกษาเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องวิ่งงานทั้งวัน เพียงแค่วิ่งในช่วงที่พอใจ จึงทำให้มีคนมาสมัครเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้เสริม
ทุกวันนี้ธุรกิจของเขาเติบโต ไปมาก จากร้านเล็ก ๆ และเริ่มจากไม่มีเงินเลย ตอนนี้เขามีรายได้ จนสามารถพาภรรยา บินไปเที่ยวญี่ปุ่นแบบสบาย ๆ เรียกว่าเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว
อีกหนึ่งเคส ธุรกิจที่น่าสนใจ เคสนี้มาจากต่างประเทศ
หลาย ๆ คนคงไม่รู้ว่า ก่อนที่จะเกิด google drive หรือ clound ที่เราได้ฝากไฟล์กันนั้น มี เจ้าหนึ่งได้กำเนิดขึ้นมาก่อน นั่นก็คือ Dropbox โดยจุดเริ่มต้น ของธุรกิจนี้ มาจากเจ้าของที่มี Pain point ที่ว่า ตัวเองเป็นคนขี้ลืม บางทีลืมหยิบ Flash drive มาจากที่บ้าน และก็ไม่สามารถเปิดไฟล์ได้ จึงคิดอยากจะทำพื้นที่สำหรับ ฝากไฟล์แบบ online ที่เปิดเมื่อไหร่ ที่ไหนก็ได้ขึ้นมา
หลังจากที่ได้ไอเดีย เขาก็ลองทำคลิปวีดีโอสั้น ๆ ถึงวิธีการใช้ และ ประโยชน์ของ สิ่งที่เขาจะทำ และนำไปโพสต์ยังเวปบอร์ด ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลปรากฎว่า ภายในช่วงข้ามคืน มีคนมาคอมเมนต์ ว่าต้องการเป็นพัน ๆ คน
ทั้ง ๆ ที่เขายังไม่ได้เริ่ม ทำอะไรเลยด้วยซ้ำ
เขาจึงนำ คอมเมนต์ และคลิปเหล่านี้ไปหาเหล่า ผู้สนับสนุนต่าง ๆ เพื่อระดมทุนในการสร้างมันขึ้นมา
จนในที่สุดก็เป็น Dropbox แบบที่เรารู้จักในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า ไอเดียทั้ง 2 นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมี สินค้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรก แต่เขาเริ่มจากหาลูกค้าที่ต้องการสินค้า ก่อน และหลังจากนั้นค่อยเริ่มธุรกิจอย่างจริงจัง
แน่นอนว่า โอกาสในการขาดทุนมันก็ยังคงมีอยู่ แต่ที่แน่นอนกว่าก็คือ สิ่งที่เขาได้ทำออกมานั้น มีฐานลูกค้าที่รองรับแล้วแน่ ๆ
ซึ่งมันก็คงจะดีกว่า การที่มีไอเดียดี ๆ เจ๋ง ๆ แล้วไปผลิตสินค้ามาก่อน พอออกมาขายจริง แล้วกลับขายไม่ได้
1
จริง ๆ แล้วเรื่องสำคัญของการขายสินค้า ทุกชนิดบนโลก ไม่ได้อยู่ที่ว่า ตัวสินค้าคุณเจ๋งแค่ไหน
แต่มันอยู่ที่ว่า สินค้าของคุณ มีคนจะซื้อมันหรือใช้มันรึเปล่า
ลองคิดดู ดี ๆ สิว่า ทุกวันนี้คุณ กำลังทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเรื่องสำคัญที่ว่านี้อยู่รึเปล่า??
ทั้ง 2 เคสได้มาจากการเล่าของคุณ นพ พงศธร ธนบดีภัทร ผู้ก่อตั้ง Refin ครับ
1
โฆษณา