7 พ.ค. 2020 เวลา 07:02 • ท่องเที่ยว
อนุสาวรีย์ค่ายบางระจัน🌜สิงห์บุรี
พามาชมค่ายบางจัน วีรชนผู้กล้า ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ เมื่อนึกถึงสิงห์บุรี ทุกคนก็จะนึกถึงบ้านบางระจันใช่มั้ยล่ะค่ะ นอกจากเราจะมาเที่ยวที่สุพรรณบุรีแล้ว ทางผ่านของเราคือจังหวัดสิงห์บุรี และเราก็แวะเข้าไปชมกันสักหน่อยตั้งอยู่ที่อำเภอบางระจัน ที่นี่อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันจังหวัดสิงห์บุรี เป็นอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่ประดิษฐ์รูปหล่อ
วีระชน ซึ่งเป็นชาวบนบางระจันอันกล้หาญที่เสียสละอันยิ่งใหญ่ ต่อต้านศึกจากกองทัพพม่านานถึง 5 เดือน
อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันและอุทยานค่ายบางระจัน สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่วีรชนบ้านบางระจันในการต่อสู้ แม้ว่าค่ายบางระจันจะต้องพ่ายแพ้แก่พม่า แต่วีรกรรมครั้งนั้นได้รับการจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมา นามของวีรชนและค่ายบางระจันมักได้รับการยกย่อง และเป็นตัวอย่างแห่งความกล้าหาญ ความสามัคคี และความเสียสละ
อนุสาวรีย์วีรชน 11 ท่าน ได้แก่ นายจันหนวดเขี้ยว , ขุนสรรค์ , นายดอก , นายทองเหม็น , พันเรือง , นายโชติ , นายแท่น , นายเมือง , นายทองแก้ว , นายอิน และนายทองแสงใหญ่
"อนุสาวรีย์วีรชนผู้กล้าชาวบางระจัน" เป็น อนุสาวรีย์ที่รัฐบาลและประชาชนร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจัน โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ.2519
วันนี้รู้สึกหึกเหิมมากๆ ที่มีเราในวันนี้ ที่ที่เราได้มีบ้านเกิดอยู่เราเดินชมค่ายจนทั่ว ภายในอย่างสงบและปลอดภัยบริเวณนี้ยังมีอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่ายบางระจันห้องนิทรรศการต่างๆ อ่านแล้วประทับใจมากๆเลยคะ
หากเพื่อนมีโอกาส อยากให้มาลองศึกษาประวัติศาสตร์ที่นี่ดูนะคะ มาแล้วก็อยากให้มาอีกคะ
อุทยานวีรชนค่ายบางระจัน ตำบลบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 16150
โทรศัพท์ : 036-520 030 / ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬา อบจ.สิงห์บุรี โทร. 095-268 4006
โทรสาร : 036-520 030
เปิดบริการทุกวัน
เวลา 08.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม (ไม่เสียค่าเข้าชม)
การเดินทาง
1.รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จนถึงตัวเมืองจังหวัดสิงห์บุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านอำเภอวังน้อย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 311 ผ่านอำเภอท่าวุ้ง เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เลี้ยวซ้ายเข้า เส้นทางหมายเลข 309 ผ่านจังหวัดอ่างทอง ไปจนถึงจังหวัดสิงห์บุรี
 
2.โดยรถประจำทางและรถตู้ สายกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว
การเดินทางในตัวจังหวัดสิงห์บุรี มีรถให้บริการจากสถานีขนส่งไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง และต่างอำเภอ เช่น รถสองแถว รถสามล้อเครื่อง มอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย
โฆษณา