7 พ.ค. 2020 เวลา 13:41
"กิจการโรงแรม" บนหน้าประวัติศาสตร์ไทย
เริ่มขึ้นเมื่อใด?
โรงแรมโอเรียนเต็ล (Oriental Hotel) ภาพเก่า
ถ้าหากจะย้อนไปหาหลักฐานในสมัยอยุธยา กิจการโรงแรมนั้นจะเป็นเพียงรูปแบบการรับรองแขกบ้านแขกเมืองจากทางการเท่านั้น
เช่น ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากจดหมายเหตุลาลูแบร์ เมื่อราชทูตฝรั่งเศสเข้ามากรุงศรีอยุธยาราว พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1687) ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทยและได้กล่าวถึงการรับรองแขกเมืองในหนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ เรื่องราวที่เกี่ยวกับอาณาจักรสยาม ที่มีบ้านพักสำหรับราชทูต
สรุปได้ว่าสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โรงแรมยังไม่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ เพียงแต่จะเป็นการสร้างที่พักรับรองหรือที่พักแรมชั่วคราวสำหรับผู้ที่มีบรรดาศักดิ์สูงหรือแขกเมือง บางส่วนจะไปเข้าพักในวัง หรือมีการจัดเรือนรับรองจากทางการที่ได้ตระเตรียมเอาไว้
ต่อมากิจการโรงแรม ได้มีหลักฐานเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณช่วง พ.ศ. 2406-2411 จากหนังสือพิมพ์รายปีบางกอกคาแลนดาร์ (Bangkok Calendar) ของหมอบรัดเลย์ (D.B. Bradley) ที่ได้พิมพ์ในประเทศไทยฉบับรายปี ระบุเนื้อหาประกาศในเชิงโฆษณา มี 3 โรงแรม ที่ดำเนินกิจการให้บริการในสยามโดยทั้งหมดเป็นโรงแรมที่บริหารโดยต่างชาติทั้งสิ้น
ดังนี้
(Bangkok Calendar) ของหมอบรัดเลย์ (D.B. Bradley)
1.ได้มีข้อความประกาศเปิดโรงแรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือ ยูเนี่ยนโฮเต็ล (Union Hotel) และ บอร์ดดิ้งโฮเต็ล (Boarding Hotel) ปี พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863)
2.ได้มีข้อความประกาศดำเนินกิจการของโรงแรม Oriental Hotel และ Fisher’s Hotel, Union Hotel ในฉบับปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864)
3.เกิดเหตุเพลงไหม้ โรงแรมที่ลงประกาศจึงเหลือเพียงโรงแรมเดียว คือ Union Hotel ฉบับ พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866)
และใน พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) มีลงแจ้งความประกาศไว้อีก 2 โรงแรม คือ Union Hotel และ Falck’s Hotel แต่สุดท้าย พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) มีโรงแรมลงประกาศที่เหลือเพียงโรงแรมเดียว คือ Union Hotel
เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินกิจการโรงแรมในสมัยนั้นยังไม่ได้รับความนิยมและต้องพบกับปัญหาเพลิงไหม้ จึงต้องปิดตัวลง
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วง ปี พ.ศ. 2413 ธุรกิจโรงแรม มีการปรับตัวโรงแรมครั้งใหญ่ ด้วยการนำความเจริญทางด้านเทคโนโลยีจากยุโรปเข้ามาในประเทศ มีชาวต่างประเทศเดินทางมาติดต่อค้าขายและติดต่อราชการงานเมืองมากขึ้น ความต้องการที่พักมีเพิ่มขึ้น
โดยหลักฐานในหนังสือพิมพ์ Bangkok Calendar ของหมอบรัดเลย์ ฉบับนี้ พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870 มีลงแจ้งความประกาศไว้ถึง 6 โรงแรม)
1. Union Hotel
2. Falck’s Hotel
3. German Hotel
4. Hamburg Hotel
5. Marine Hotel
6. Siam Hotel
แต่น่าเสียดายภาพของโรงแรมเก่าแก่เหล่านี้ ไม่สามารถหามาให้ท่านผู้อ่านชมได้
ในช่วง พ.ศ. 2513-2519 มีนักเดินทางเรือชาวเดนมาร์ค 2 คน คือ จาร์ค (H.Jarck) และ ซาล์จ (C.Salje) ได้ร่วมกันสร้างโรงแรมโอเรียลเต็ลขึ้นที่แขวงสี่พระยา เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างขนานไปกับริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งยังมีการมีการนำไฟฟ้าเข้าไปใช้ในโรงแรมเป็นครั้งแรกที่ โรงแรมโอเรียลเต็ล Oriental Hotel
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดเป็นกองบัญชาการของทหาร เมื่อสงครามเลิกในปี พ.ศ.2486 ก็ถูกใช้เป็นกองบัญชาการของกองทัพสหประชาชาติ นับว่าเป็นช่วงที่โรงแรมได้รับผลกระทบและทรุดโทรมลง
จนในปี พ.ศ. 2520 ได้สร้างอาคารใหญ่เพิ่มอีก 2 หลัง มีห้องพักจำนวน 406 ห้อง ประกอบด้วยห้องชุดที่หรูหรา จำนวน 21 ห้อง มีพร้อมทั้งห้องรับแขกและห้องอาหาร มีที่จอดรถกว้างขวางสามารถจอดรถได้ 350 คัน เป็นโรงแรมที่มีบุคคลสำคัญและนักธุรกิจต่างประเทศมาพักมากมาย
จนโรงแรมโอเรียนเต็ล Oriental Hotel ได้รับการยกย่องเป็นโรงแรมชั้นเยี่ยม อันดับ 1 ของโลกในปี พ.ศ. 2524 (The Best Hotel in the world)
รวมทั้งในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 พระประมุขและผู้แทนพระองค์ส่วนใหญ่ประทับ ณ โรงแรมแห่งนี้
https://www.businesstraveller.com/business-travel/2018/11/08/mandarin-oriental-bangkok-to-undergo-renovation-work-once-again/
โรงแรมโอเรียนเต็ล Oriental Hotel มีการเปลี่ยนเจ้าของและผู้ดำเนิน ได้แก่
- พ.ศ. 2436 หลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ เป็นเจ้าของ
- พ.ศ. 2500 แหม่ม ครูลล์ เป็นเจ้าของ
- พ.ศ. 2510 บริษัท สยาม ซินดิเคทในเครือบริษัทอิตัลไทยจำกัดเป็นเจ้าของ
- พ.ศ. 2551 กลุ่มกิจการแมนดาริน โอเรียลเต็ล ซึ่งเป็นกลุ่มโรงแรมที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งของเอเชีย ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของโรงแรม หลังจากนั้นก็ได้มีการเปลื่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มาเป็น บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) และโรงแรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ "
https://m.traveloka.com/en-vn/hotel/thailand/mandarin-oriental-bangkok-1000000109288
ในส่วนของโรงแรมเก่าแก่ที่บริหารกิจการโดยคนไทย ยกตัวอย่างพอสังเขป ได้แก่
สมัยรัชกาลที่ 6
-โรงแรมหัวหิน (พ.ศ. 2465) โดย สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน บริเวณชายหาดหัวหิน
โรงแรมหัวหิน
- โฮเต็ลวังพญาไทหรือโรงแรมวังพญาไท
โรงแรมวังพญาไท
-โรงแรมรอยัล (พ.ศ. 2454) บริเวณถนนสาธรเหนือ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ชื่อว่า “Royal hotel” ปัจจุบัน คือ สถานทูตรัสเซีย
โรงแรมรอยัล
สมัยรัชกาลที่ 7
-โรงแรมทรอคาเดโร (พ.ศ. 2470) เป็นโรงแรมที่มีความหรูหราและทันสมัยมากแห่งหนึ่ง ปัจจุบันคือ โรงแรมนิวทรอคาเดโร
โรงแรมทรอคาเดโร
-โรงแรมราชธานี (พ.ศ. 2470) ที่สถานีหัวลำโพง เพื่อเป็นที่พักของประชาชนที่เดินทางมาโดยรถไฟ ยกเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2511 ปัจจุบันเป็นกองคลังพัสดุรถเสบียงการรถไฟแห่งประเทศไทย
สมัยรัชกาลที่ 8
- สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้สร้างอาคารสองข้างถนนราชดำเนินกลาง คือ โรงแรมรัตนโกสินทร์และโรงแรมสุริยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2485
โรงแรมรัตนโกสินทร์
อย่างไรก็ตามกิจการโรงแรมในประเทศไทยได้ขยายและเติบโตอย่างรวดเร็วในกาลต่อ
มา
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
ขออภัยหากข้อมูลมีการตกหล่นหรือผิดพลาดด้วยนะครับ
อ้างอิง:
โฆษณา