9 พ.ค. 2020 เวลา 09:39 • ประวัติศาสตร์
ชะตากรรมของพระราชวงษานุวงษ์ หลังกรุงศรีฯแตก ครั้งที่ ๒
ขอบคุณภาพจาก www.silpa-mag.com
ในวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ครบรอบ ๒๕๓ ปี ปิดฉากอยุธยาอาณาจักรที่เคยรุ่งเรื่องมา ๔๑๗ ปี การเสียกรุงครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๑๐” สิ้นสุดลงในรัชกาลที่ ๓๓ และเป็นรัชกาลสุดท้ายแห่งอาณาจักรอยุธยาในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
มีคำถามที่ยังพูดถึงชะตากรรมของพระราชวงษานุวงษ์ ทั้งชายและหญิงของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาว่ามีชะตากรรมอย่างไรหลังกรุงแตก ซึ่งตามหลักฐานการบันทึกอย่างละเอียดในเอกสารรายงานของพม่าว่าสามารถกวาดต้อน
พระสนมที่เปนเชื้อพระวงษ์รวม ๘๖๙ องค์ พระราชวงษานุวงษ์ทั้งชายและหญิงรวมทั้งสิ้น ๒,๐๐๐ องค์
มีการกวาดต้อนเชลยกลับไปครั้งนั้นราวๆ ๑๐๐,๐๐๐ คน แต่ในเอกสารฝ่ายไทย ระบุไว้ว่าเชลยที่ถูพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้นราว ๓๐,๐๐๐ คน และกล่าวถึงจำนวนผู้เสียชีวิตจากการสู้รบ ป่วยไข้ อดอยาก มีจำนวนถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน
ส่วนสาเหตุของการที่กองทัพพม่าโดยมีเนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ ให้มีการ
จดบันทึกอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเงินทอง อาวุธยุทโธปกรณ์และพระราชวงษานุวงษ์ ที่ดูเหมือนจะเป็น "ของมีค่า” ที่น่าจะหมายถึงการปูนบำเหน็จรางวัลอย่างสูงแก่ผู้สามารถคุมตัวได้จากพระเจ้ามังระ
จึงมีแม่ทัพนายกองของพม่าบางคนที่พยายามหลบเลี่ยงและเก็บไว้เสียเอง จนเนเมียวสีหบดีแม่ทัพใหญ่ต้องออกประกาศให้นำพระราชวงษานุวงษ์ทั้งหมดทั้งปวงมาคืนแก่ตน
ทั้งนี้ จึงสามารถสัณนิฐานได้ว่าบรรดาพระราชวงษานุวงษ์ทั้งหมดทั้งปวง จึงไม่น่าจะตกระกำลำบากมากสักเท่าไหร่ เพราะว่าทุกพระองค์น่าจะ “ถึงมือ”
พระเจ้ามังระ พระเจ้าแผ่นดินกรุงอังวะทั้งหมดทั้งสิ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.silpa-mag.com/
โฆษณา