9 พ.ค. 2020 เวลา 18:04 • สุขภาพ
จริงหรือ? นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายจริงจัง เสี่ยงติดโควิด!!!
Cr. DSN by นักกายภาพบำบัดอิสระ
วันนี้มิวได้มีโอกาสฟัง live เรื่อง กลยุทธ์การฝึกซ้อมให้ปลอดภัยในวิกฤตโควิด-19
กับ นพ. มีชัย อินวู๊ด แพทย์ประจำสโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
โดยมิวจะนำความรู้ที่ได้มาสรุปง่ายๆ พร้อมรูปภาพสวยๆให้ทุกคนเข้าใจ รวมถึงเพิ่มเติมความรู้ลงไปอีกด้วยค่ะ
ทุกคนทราบดีว่าผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกาย = ติดเชื้อ 100% เพราะทุกคนไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตัวนี้มาก่อน
หากเรามีโอกาสติดเชื้อได้ 100% ความแตกต่างของแต่ละบุคคลจะเกิดขึ้นจากอะไร? เฉลยคือ เกิดจากระดับภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันนั่นเองค่ะ
ความสำคัญของภูมิคุ้มกัน คือ
- คนที่ภูมิคุ้มกันดี = ภูมิไวต่อเชื้อไวรัสที่ยังเข้ามาสู่ร่างกายในระดับที่ไม่มาก = ร่างกายสามารถสร้าง Antibody ออกมาจัดการกับเชื้อได้อย่างรวดเร็ว = เกิดการอักเสบในร่างกายเพียงเล็กน้อย = แสดงอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ต่ำๆ
- คนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ = ภูมิทำงานช้า = ไวรัสเพิ่มและกระจายไปสู่หลายๆอวัยวะมากขึ้น = ร่างกายต้องสร้าง Antibody ออกมาจำนวนมากขึ้น = อักเสบมาก = อาการหนัก,หายช้า
📌(Antibody = โปรตีนที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นมาเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย)
ทุกคนอาจจะพอทราบกันมาบ้างว่าผู้ที่มีภูมิต่ำ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อและมีอาการหนัก แต่ปัจจุบันมักได้ยินข่าวพบผู้ติดเชื้อซึ่งอยู่ในช่วงอายุของวัยทำงานเป็นจำนวนมากไม่ต่างกัน
ประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ นักกีฬามีโอกาสเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อ พอๆกับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
เป็นไปได้ยังไง?
คำตอบคือ นักกีฬาที่มีการฝึกซ้อมหนักๆ ต้องการโปรตีนที่เพียงพอเพื่อใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งโปรตีนจะต้องใช้ในการสร้าง IgM (antibody) เพื่อสู้กับไวรัสอีกที เหมือนร่างกายต้องแบ่งโปรตีนเพื่อใช้งานสองเป้าหมายนั่นเอง
นี่ยังไม่รวมถึงการใช้ร่างกายหนักๆ แทบทุกวัน จนร่างกายอ่อนแอนะคะ
วิธีการแก้ปัญหาก็คงไม่ใช่การหยุดออกกำลังกายไปเลยในช่วงวิกฤตนี้นะคะ เพราะเรื่องนี้เป็นความเสี่ยงที่เราสามารถควบคุมได้ (ไม่ใช่ห้ามไม่ให้ติดเชื้อนะคะ แต่ห้ามให้ร่างกายอ่อนแอจะได้ไม่เป็นหนัก)
“โภชนาการดีไม่มีปัญหา” นี่คือคำแนะนำของคุณหมอ หากร่างกายต้องการใช้โปรตีนเพื่อไปสู่หลายเป้าหมายแล้ว การกินอาการที่ดี มีโปรตีนเพียงพอต่อร่างกาย ก็จะช่วยอุดรอยรั่วรอยนี้ได้ค่ะ
ตัวอย่างโปรตีนที่สามารถทานหลังออกกำลังกาย ได้แก่ อกไก่ โยเกิร์ต ไข่ต้ม นม เป็นต้นค่ะ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก infographic ที่มิวได้ทำขึ้นตามคำแนะนำของพี่ที่มีความรู้ในทีม เพื่อใช้กับนักกีฬาที่พวกเราดูแลนะคะ
Cr. DSN by นักกายภาพบำบัดอิสระ
“มีเวลาพักใช้ร่างกาย (recovery)” ตรงไปตรงมานะคะ ร่างกายควรมีวันพักสำหรับซ่อมแซม ฟื้นฟู ให้สามารถกลับมาใช้งานอีกครั้งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพักใช้ร่างกายไม่ได้หมายความว่าจะต้องนอนทั้งวัน ดูเน็ตฟลิกซ์ เพียงแค่ใช้ร่างกายทำกิจกรรมที่ความหนักน้อยลง เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การทำโยคะ การว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยานเบาๆ ก็ย่อมได้ค่ะ
Cr. DSN by นักกายภาพบำบัดอิสระ
ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
ปลดล็อคได้แต่ต้องไม่ใช้ชีวิตแบบเดิม
อย่าลืมทำตามมาตรการ : คัดกรองวัดไข้, สวมหน้ากาก, รักษาระยะห่าง,ล้างมือบ่อยๆ, ไม่รวมกลุ่มหมู่มาก
ถึงจะยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อได้ 100% และไม่มีวี่แววว่าวันนั้นจะมาเมื่อไหร่
แต่มาตรการทั้งหมดที่มีอยู่ตอนนี้ก็เพื่อว่าหากมีผู้ติดเชื้อขึ้นมา บุคลากรทางการแพทย์จะสามารถดูแลพวกเราได้อย่างทั่วถึงมากที่สุดค่ะ
ขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีนะคะ ❤️
โฆษณา