9 พ.ค. 2020 เวลา 18:18 • ประวัติศาสตร์
ท่าทีราชวงศ์ชิงต่อสถานะกษัตริย์ของ "สมเด็จพระเจ้าตากสิน"
ที่มาของภาพ www.silpa-mag.com
ที่มาของภาพ www.silpa-mag.com
‘กันเอินซื่อ’ หมายถึงพระเจ้าตากสิน เป็นคำที่ปรากฎอยู่ในพงศาวดารจีน
ชื่อ‘ชิงสือลู่’ เป็นเอกสารพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ชิง รายงานดังกล่าวได้
กล่าวไว้ว่า พระเจ้าตากสินทรงต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับพระองค์เอง ในฐานะผู้สืบทอดอำนาจต่อจากกรุงศรีอยุธยา จึงหวังได้รับตราตั้งจากจีนเป็นสิ่งยืนยันและค้ำจุนพระราชอำนาจที่กำลังสร้างขึ้น และยังอาจใช้เป็น
เครื่องมือในการปราบก๊กหรือชุมนุมต่าง ๆ ซึ่งสามารถอ้างว่าได้รับความ
ชอบธรรมจากจีน
แต่มันไม่ได้ง่ายดังพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เนื่องจากราช
สำนักจีนได้พิจารณาเห็นว่า การสถาปนาตนเองของสมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นเป็นเป็นพระเจ้าแผ่นดินนั้น ไม่ถูกต้องตามราชประเพณี เนื่องจากราชสำนัก
จีนยึดมั่นในเรื่องการสืบสายเลือดของราชวงศ์เดิม ซึ่งเห็นได้จากการตำหนิ
พระเจ้าตากสินที่ไม่ยอมสืบหารัชทายาทหรือยกเชื้อสายเจ้าราชวงศ์บ้านพลูหลวงขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกครั้ง
ที่มาของภาพ www.silpa-mag.com
หลังจากที่พระเจ้าตากสิน ได้ทำการขับไล่ทหารพม่าและปราบชุมนุมต่างๆที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจเดิมของกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งความพยายามกำจัด
รัชทายาทเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยาและมีความพยายามทำให้บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง จนทำให้ราชสำนักจีนมีที่ท่าที่อ่อนลง
สาเหตุที่ราชสำนักจีน มีที่ท่ายอมรับสถานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินก็คง
เนื่องมาจาก พระเจ้าตากสินทรงเป็นผู้นำชุมนุมแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะสามารถปราบชุมนุมต่างๆได้เกือบหมด จึงมีความชอบธรรมในการ
สถาปนาตนเองสืบทอดอำนาจต่อจากกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งเป็นผลสืบเนื่อง
จากการที่กรุงธนบุรีได้กลายเป็นศูนย์กลางและมี่อิทธิพลต่อชุมนุมต่างๆในละแวกนั้น จึงทำให้มีผลต่อการค้าขายของชาวจีนในไทยจึงต้องอยู่ภายใต้
พระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าตากสิน ราชสำนักจีนจึงไม่อาจปฏิเสธคำขอของพระเจ้าตากสินได้อีกต่อไป
ที่มาของภาพ www.silpa-mag.com
ราชสำนักจีนมีท่าทีจะพระราชทานตราตั้งแก่พระเจ้าตากสิน เมื่อ พ.ศ. 2320 หลังจากที่พระองค์เสด็จปราบดาภิเษกเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2311
จะเห็นได้ว่าเป็นเวลาเกือบ 10 ปี กว่าที่จีนจะยอมรับว่าพระเจ้าตากสิน
มีสถานะเป็นพระมหากษัตริย์
แต่สุดท้ายพระเจ้าตากสินไม่เคยได้รับ ‘ข่าวดี’ จากคณะราชทูต เนื่องจาก พ.ศ. 2324 ราชสำนักชิงพึ่งยอมรับสถานะกษัตริย์ของพระเจ้าตากสิน และ
ยอมรับเครื่องราชบรรณาการ ปีถัดมา พ.ศ. 2325 เรือคณะราชทูตของกรุง
ธนบุรีกลับมาถึงไทย แต่เวลานั้นก็ผลัดแผ่นดินเสียแล้ว
ข้อมูลอ้างอิงจาก www.silpa-mag.com
โฆษณา