Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WinThestoryteller
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2020 เวลา 04:40 • ประวัติศาสตร์
กิโมโน ชุดประจำชาติญี่ปุ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และความสวยงามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กิโมโน ( Kimono ) ถือได้ว่าเป็นชุดประจำชาติของญี่ปุ่น สามารถสวมใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีลักษณะพิเศษตรงที่ชายเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และมีผ้าแพรพันสะเอว ( Obi ) และลวดลายของผ้าที่มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแต่ละชุดแต่ละเทศกาล ด้วยการออกแบบที่ดูสวยและมีความเป็นศิลปะจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจหากจะมีคนไทยหรือคนต่างชาติจะนึกถึงชุดกิโมโนเป็นอย่างแรกเมื่อพูดหรือคิดถึงจุดเด่นของประเทศญี่ปุ่น
ในปัจจุบันเราจะสามารถพบเห็นผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันหลักๆจะมีเพียงผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณ หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการ งานเทศกาลต่างๆเท่านั้น แต่ในบางครั้งก็จะพบการแต่งชุดกิโมโนได้ในงานคอสเพลย์หรืองานอีเว้นท์ต่างๆที่จัดขึ้นในธีมวัฒนธรรมของญี่ปุ่นและอีกจุดที่เราจะสามารถเห็นชุดนี้ได้นั้นก็คือสื่อบันเทิงต่างๆของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย หนังสือการ์ตูน อนิเมชั่น ภาพยนตร์ ฯลฯ
สำหรับคนที่อ่านหรือดูการ์ตูนญี่ปุ่น ก็มีไม่น้อยที่ชอบชุดนี่และอยากจะลองใส่เพราะการได้เห็นตัวละครตัวโปรดสวมใส่ชุดนี้
ในช่วงสมัยนารา ( ค.ศ. 710 - 794 ) ชาวญี่ปุ่นนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย จนกระทั่งเมื่อมาถึงสมัยเฮอัน ( ค.ศ 794 - 1192 ) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นของการใส่ชุดแบบกิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ อีกทั้งยังเป็นที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ ถ้าฤดูหนาวใช้ผ้าหนา ถ้าฤดูร้อนใช้ผ้าบางๆความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว
ผู้ตัดเย็บจะคิดค้นหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสันผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละช่วงจนเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของชุดกิโมโน
ต่อมาในยุคเอโดะ (ค.ศ. 1600 - 1868) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่า ชุดเครื่องแบบ ชุดที่ใส่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือชุดกิโมโน ชุดคามิชิโมตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้ง กางเกงขายาวที่ดูเหมือนชุดกระโปรงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี๊ยบมากนับเป็นผลงานศิลปะอีกชิ้นหนึ่ง
วัฒนธรรมการใส่ชุดกิโมโนเริ่มไม่เป็นที่นิยมเมื่อมาถึงสมัยต่อมาในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) เมื่อญี่ปุ่นได้เปิดประเทศในต่างชาติเข้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจนญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากชาวต่างชาติจึงเริ่มเปลี่ยนไปใส่ชุดสากลมากขึ้น และจะใส่ชุดกิโมโนที่เป็นงานพิธีการเท่านั้น
ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะแต่งกายแบบสากล ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันจะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือสวมใส่เฉพาะงานพิธีการหรืองานเทศกาลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานปีใหม่ งานฉลองบรรลุนิติภาวะ เทศกาลชมดอกไม้ไฟ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผู้ที่สามารถสวมชุดกิโมโนได้เองมีน้อย ถึงขนาดจัดเป็นคุณสมบัติข้อสำคัญข้อหนึ่งของการเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าสาวของสตรีญี่ปุ่น
แต่ในบางครั้งเราก็สามารถพบเห็นชุดพวกนี้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เหมือนกันเพราะในญี่ปุ่นก็มีการให้เช่าชุดกิโมโนแก่นักท่องเที่ยวที่สนใจอยากจะลองใส่เพื่อไปชมเทศการ หรือใส่เพื่อความแฟชั่นนั้นเอง
ประวัติโดยละเอียดของชุดกิโมโน
อย่างที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นก่อนหน้านี้ ในสมัยนารา ( ค.ศ. 710 - 794) ก่อนที่ชุดกิโมโนจะเป็นที่นิยม ชาวญี่ปุ่นมักนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลยเพื่อความสะดวกต่อการสวมใส่
ต่อมาในสมัยเฮอัน ( ค.ศ. 794 - 1192) ซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโน ชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อการสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ สามารถเปลี่ยนเนื้อผ้าที่ตัดเย็บให้เหมาะกับฤดูกาล ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว โดยวงการแฟชั่นสมัยนั้น ผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสานกันด้วยสีต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและชนชั้นทาง สังคมถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง สี มากที่สุด
ในยุคคามาคุระ (ค.ศ. 1338 - 1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำและแสดงอำนาจและตัวชุด คุณภาพของชุดยังใช้ในการบ่งบอกถึงฐานะได้ด้วย
ต่อมาในยุคเอโดะ ( ค.ศ. 1600-1868 ) ในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตนเองเรียกว่าเป็น "ชุดเครื่องแบบ" โดยชุดที่ใส่นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้งและกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปงแยกชิ้นชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
สมัยต่อมา ในยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 - 1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมากขึ้นชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนมาใส่ชุดสากลในชีวิตประจำวันที่มีสองส่วนคือ เสื้อผ้าส่วนบน และกางเกง / กระโปรงในส่วนล่าง และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการเท่านั้น
ชุดกิโมโนรูปแบบต่างๆ
นอกจากชุดกิโมโนที่เราๆคุ้นหูคุ้นตากันอยู่แล้ว ยังมีชุดอีกแบบที่ถือว่าสวยที่สุด ชื่อของชุดนี้นคือ อูชิคาเคะ ( uchikake ) จะเป็นชุดกิโมโนยาวเต็มยศซึ่งเจ้าสาวจะเป็นผู้สวมใส่ในพิธีแต่งงาน มีการตัดเย็บจากผ้าไหมประดับด้วยดิ้นไหมสีทองและเงิน ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายดอกไม้หรือนก
ชุด Uchikake ที่ใช้ในวันแต่งงาน โดยของผู้ชายจะเป็นชุดสีดำ มีการปักตราประจำตระกูลสีขาวไว้ และของผู้หญิงจะเป็นชุดที่มีสีสันลวดลายสวยงาม
นอกจากกิโมโนแบบปกติและแบบอูชิคาเคะที่เราพบเห็นนั้น ยังมีชุดกิโมโนอีกหลายแบบ ซึ่งบางรูปแบบเราอาจจะเคยเห็นแต่ไม่เคยรู้ว่ามันต้องใส่ในช่วงไหนและต้องใส่ยังไง เช่น ชุดกิโมโนสำหรับผู้หญิงที่ยังเป็นโสดและแต่งงานแล้ว การออกแบบจะแตกต่างกัน รวมถึงสีสันความยาวของชายเสื้อ และลวดลาย บนเนื้อผ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสของการสวมใส่และเป็นพิธีการหรือไม่เป็นทางการ แรกเริ่มเดิมทีผู้หญิงญี่ปุ่นจะสวมใส่กิโมโนในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ และโอกาสสำคัญ ๆ เช่น
เทศกาลฉลองการเติบโตเป็นสาวเต็มตัว, งานเลี้ยงจบการศึกษา, งานแต่งงาน และงานพิธีศพ เป็นต้น และเราอาจจะรู้สึกแปลกตาไปบ้างเมื่อเห็นผู้ชายชาวญี่ปุ่นสวมใส่กิโมโน แต่ในสังคมญี่ปุ่นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วหากผู้ชายจะสวมใส่ชุดกิโมโนบ้างในโอกาสวันขึ้นปีใหม่หรือในบางครั้งก็จะใส่ในงานแต่งงาน นั่นก็เพราะในงานพิธีสำคัญบางครั้งผู้ชายจะต้องออกมารับแขกที่มาเยือนบ้าน และในบางโอกาสที่ไม่ได้เป็นงานพิธีอย่างเป็นทางการ ผู้ชายก็อาจจะสวมใส่เพียงแค่เสื้อคลุมครึ่งท่อน ( haori ) และกระโปรงแบ่งครึ่ง ( hakama )
ชุด Kimono สำหรับผู้ชาย โดยส่วนมากจะใส่เมื่อมีงานที่บ้านเช่นงานปีใหม่ แต่หากเป็นชุดที่ใช้ในงานแต่งหรือพิธีสำคัญๆจะเป็นแบบชุด uchikake
ส่วนชุดผ้าฝ้าย ยูคาตะ ( yukata ) ก็ถือว่าเป็นชุดกิโมโนอย่างไม่เป็นทางการซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะในฤดูร้อนเนื่องจากเมื่อสวมใส่อยู่กับบ้านจะให้ความสบายไม่ร้อนอบอ้าว แถมยังใส่สะดวกกว่าชุดกิโมโนเพราะชุดยูกาตะไม่ได้มีความพิถีพิถันในการสวมใส่มากเหมือนชุดกิโมโน
คนที่สวมชุด Yukata จะสามารถพบเห็นได้ง่ายกว่าชุด Kimono เพราะ Yukataเป็นชุดที่ใส่ได้สะดวกกว่าและสบายตัวกว่าชุด Kimono
ความแตกต่างระหว่างชุดกิโมโนกับชุดจากตะวันตก
หากเปรียบเทียบการตัดเย็บเสื้อผ้าระหว่างชุดของตะวันตกกับชุดกิโมโนของญี่ปุ่นแล้ว จะเห็นถึงความแตกต่างในด้านการตัดเย็บเพราะชุดของตะวันตก สามารถดัดแปลงแก้ไขตามขนาดของผู้สวมใส่ให้พอดี แต่ชุดกิโมโนจะใช้วิธีตัดเย็บขนาดให้หลวมพอประมาณแต่จะแก้ไขให้พอดีตัวเมื่อต้องนำมาสวมใส่ ดังนั้นจึงต้องใช้ผู้ชำนาญการเป็นพิเศษสำหรับตัดเย็บ ความประณีตและความสวยงามของชุดกิโมโนจะบังเกิดขึ้นมาได้ก็ด้วยการตัดเย็บด้วยฝีมือของช่างตัดเสื้อโดยเฉพาะ
แต่ทุกวันนี้หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นเองซึ่งส่วนมากจะคุ้นเคยกับการสวมเสื้อผ้าแบบตะวันตกก็ไม่สามารถที่จะใส่ชุดกิโมโนได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะการผูกโอบิ ( Obi ) ดังนั่นเมื่อไปเช่าชุดกิโมโนเราจึงเห็นว่าทางร้านจะต้องมีการส่งคนที่เชี่ยวชาญเรื่องชุดมาสอนในการสวมใส่ชุดนี้ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติหรือชาวญี่ปุ่นเองก็ตาม และการส่วมโอบินั้นในปัจจุบันก็ได้มีการออกผลิตภัณฑ์เป็นโอบิแบบสำเร็จ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการจะผูกโอบิด้วยตัวเอง
ในการผูก Obi จำเป็นต้องมี Obimakura เป็นวัตถุที่มีรูปร่างคล้ายหมอนและมีเชือกไว้ผูกเพื่อพยุงทรงของ Obi
การสวมใส่กิโมโนในงานพิธีต่างๆ
ก่อนหน้านี้ผมได้กล่าวไว้ว่า การสวมชุดกิโมโนนั้นส่วนมากจะสวมในงานพิธีต่างๆที่สำคัญและงานเทศกาล เช่น วันงานแต่งที่เจ้าสาวจะสวมชุดกิโมโนที่ตัดเย็บลวดลายอย่างสวยงาม หรือจะเป็นวันสำเร็จการศึกษาที่การสวมชุดกิโมโนจะมีการใส่ ฮาคามะ ( hakama ) ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับกระโปรงพลีทเอวสูง และมักสวมใส่คู่กับรองเท้าบูทสีเข้ม
นอกจากงานพิธีสำคัญๆดั่งตัวอย่างที่กล่าวมานั้น ยังมีการสวมใส่กิโมโนตามงานเทศกาลหรือเวทีต่างๆเมื่อต้องแสดงความสามารถบนเวที เช่น การแสดงดนตรีญี่ปุ่น ไปร่วมงานที่ค่อนข้างเป็นพิธีการโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น อย่างการชงชา หรือการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น หรือเมื่อเราเป็นแขกงานแต่งงานของผู้อื่นอีกด้วย
ที่ญี่ปุ่นมีการจัดงานประกวดกิโมโนทุกๆปี นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมแล้ว ยังจัดเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้นำเอากิโมโนประจำตระกูลที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาสวมใส่ กิโมโนมีความพิเศษนั่นคือเป็นเหมือนกับชุดฟรีไซต์ที่ถ้าหากว่าความสูงไม่แตกต่างกันมากก็สามารถจะแบ่งกันใส่ได้ เพราะเป็นการใส่แบบเก็บความยาว ทำให้กิโมโนเป็นของพิเศษที่ตกทอดจากยายสู่แม่ และจากแม่สู่ลูกสาวได้
หากคุณได้มีโอกาสไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วอยากสวมใส่ อยากสัมผัสความเป็นญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ ก็สามารถเช่าชุด Kimono ได้
ขอขอบคุณผู้ที่ติดตาม และอ่านจนจบครับ หากคุณรู้สึกยังไงกับชุดประจำชาตินี้ รู้สึกชอบหรืออยากลองใส่ในงานพิธีต่างๆยังไง สามารถคอมเม้นท์พูดคุยกันได้นะครับ และหากท่านถูกใจบทความแบบนี้ก็สามารถกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามเพื่อที่จะได้อ่านเรื่องราวต่างๆได้นะครับผม ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับทุกท่านที่อ่านจนจบครับ สวัสดีครับ
#เรื่องนี้วินเขียน
ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม
แฟชั่น
1 บันทึก
10
5
7
1
10
5
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย