Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โลกและความมั่นคง : Bear Forum for Security Study
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2020 เวลา 11:33 • ข่าว
Opinion : ระบบขีปนาวุธพิสัยกลาง (Intermediate-range ballistic missile และ ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางไกลและป้องกันขีปนาวุธ ที่มีประสิทธิภาพสูง (High to Medium Air Defense , Anti-Ballistic Missile Defense System) ระบบอาวุธที่จะเป็น "Game Changer" ในอาเซียน
*บทความนี้ลงในเฟสบุ๊คเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 63*
facebook.com
Đăng nhập hoặc đăng ký để xem
Xem bài viết, ảnh và nội dung khác trên Facebook.
เยี่ยมชม
2 ระบบอาวุธที่เป็น Game Changer ในอาเซียน คือระบบป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธพิสัยกลาง
จากสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปทั้งหมดกอปรกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มองเห็นนั้น เรามองว่าระบบอาวุธสองประเภท ที่เมื่อมาถึงแล้วจะทำให้ดุลยภาพนั้นเปลี่ยนไป โดยมีปัจจัยในเรื่องของ "ความเป็นไปได้ ในอนาคตอันใกล้" เป็นโจทย์หนึ่งในการที่เรานำมาวิเคราะห์ด้วย
ระบบอาวุธทั้งสอง ได้แก่ อย่างแรก ระบบขีปนาวุธพิสัยกลาง (Intermediate-range ballistic missile นับรวมตามINF Treaty เลยครับ 500-5500กม. )
1
อย่างที่สองคือระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางไกลและป้องกันขีปนาวุธ ที่มีประสิทธิภาพสูง (High to Medium Air Defense , Anti-Ballistic Missile Defense System)
*ที่ต้องเขียนระบุแบบนี้เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งกรณี S-300 ของเวียดนามครับ*
ทำไมเราถึงมองว่าเป็นสองระบบนี้?? ทำไมไม่ใช่เครื่องบินรบยุคที่ 5? ทำไมไม่ใช่เรือบรรทุกเครื่ิองบิน?
--- ทำไมสองระบบนี้ถึงจะเป็น Game Changer ----
ณ ปัจจุบันส่วนใหญ่ที่รัฐต่างๆในอาเซียนครอบครองในส่วนอาวุธปล่อยทั้งหลาย เป็น ขีปนาวุธยุทธวิธีหรือพิสัยใกล้ (SRBM) ระยะยิงไกลสุดประมาณ 300 กม. หรือ SCUD-Cของเวียดนามก็ไปได้ที่ 500 กม. ซึ่งระยะของขีปนาวุธระยะสั้นพวกนี้ เมื่อพิจารณาจากระยะแล้ว เป็นไปได้ยากที่จะสร้างความเสียหายต่อเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ได้ เช่น เมืองหลวง พื้นที่กองบัญชาการทหาร ทำเนียบรัฐบาล อะไรแบบนี้
คืออาจจะทำลายเป้าหมายสำคัญในพื้นที่ยุทธบริเวณ หรือพื้นที่ส่วนหลังที่ติดกับพื้นที่การรบแถวนั้นได้ แต่ไม่อาจทำลายเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ได้ด้วยระยะอันจำกัด
เพราะฉะนั้นแล้ว ถ้าเราเอาไทยเป็นที่ตั้งหรือเป็นโจทย์ เราแทบไม่ต้องสนใจเลยก็ได้ ในแง่ยุทธศาสตร์เพราะแทบจะไม่กระทบเลย ตรงนี้หลายท่านอาจจะแย้งว่ามีหลายพื้นที่ตามแนวชายแดนที่ห่างจาก กทม.ไม่ถึง 300 กม.นั้นก็มี ตรงนี้ต้องให้เหตุผลว่า อาวุธพวกนี้เป็นอาวุธหนักและสำคัญ
การเคลื่อนย้ายมายังพื้นที่แบบนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและตรวจจับได้่โดยง่ายครับ
สมดุลย์จะเปลี่ยนทันที เมื่อเป็นIRBM เพราะขีปนาวุธชนิดนี้ระยะทำการที่ไกลกว่า เดิมสามารถโจมตีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของรัฐอื่นๆในอาเซียนได้เกือบจะทั้งหมด หรืออย่างน้อยไปได้ไกลกว่า พื้นที่ยุทธบริเวณที่ปะทะกันอยู่แน่นอน ยังไม่นับความสามารถในการติดตั้งหัวรบได้หนักกว่าเดิมมากกว่าเดิม และหรือหัวรบอย่างนิวเคลียร์ได้อีกด้วย (ระยะจากเนปยีดอว์-กทม ประมาณ 1000 กม. จากเวียดนามตลอดแนวมา 700-800 กม.)การมาถึงของ IRBM จะทำให้เกิดการเสียสมดุลย์ ที่แต่ละรัฐจะต้องปรับมุมมอง ภัยคุกคามของตนเอง
ถ้าคำถามต่อว่าถ้า IRBM คือตัวเปลี่ยนเกมส์ แล้วทำไมไม่คิดถึง ICBM ?
โจทย์สำคัญอย่างนึงคือเราวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้วยครับ ชาติในอาเซียนไม่มีใค รเป็นมหาอำนาจ ที่มีความขัดแย้งหรือต้องทำการ "ป้องปราม" ข้ามทวีป ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยเงินทุน ปัจจัยเทคโนโลยี และปัจจัยอำนาจ เป็นไปไม่ได้เลยที่ชาติในอาเซียนจะครอบครอง ICBM ได้ และด้วยเหตุผลในแบบเดียวกัน IRBM ก็แทบเป็นไปไม่ได้เช่นกัน พร้อมด้วยปัจจัยเพิ่มเติมกับการกลายเป็นภัยคุกคามต่อชาติมหาอำนาจอย่างจีนไปอีก …
แล้วทำไมเราเสนอ IRBM ?
เหตุผลแรก IRBM ที่ระยะไม่ไกลมากนักประสิทธิภาพไม่สูงมากนัก ยังอยู่ในวิสัยที่ หลายรัฐอาจจัดหาได้ และที่สำคัญคือสนธิสัญญา INF ยกเลิกไปแล้ว ถึงแม้จะเป็นสนธิสัญญาที่ทำกันเฉพาะสหรัฐกับโซเวียต แต่มันก็สร้างบรรทัดฐานไว้หลายประการ อยู่ เท่ากับNorms นี่หายไป เหลือแต่ MTCR ที่จำกัดประสิทธิภาพของBallistic Missile เอาไว้ แต่ก็มีหลากหลายวิธีในการหลบหลีกหลีกเลี่ยงได้อยู่
เหตุผลข้อที่สอง ภูมิภาคอาเซียนอาจกลายเป็นตัวเลือกหนึ่งเมื่อจำเป็นในการต่อสู้ กันของมหาอำนาจ เมื่อต้องใช้ IRBM เป็นเครื่องมือในการป้องกันหรือหวังผลใน สงคราม อาจมีการนำเข้ามาติดตั้ง หรือให้ประจำการในภูมิภาค
ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเองของมหาอำนาจนั้นๆ หรือการให้ยุทโธปกรณ์ให้กับรัฐอื่น ๆใช้งานแลกกับการโจมตีให้เมื่อร้องขอ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองเหตุผล เรามองว่า "ไม่เกิดขึ้นได้โดยง่าย" เราจึงเสนออีกหนึ่งระบบอาวุธที่อาจจะเป็น Game Changerได้เช่นกัน และดูจะมีความเป็นไปได้ มากกว่า IRBM อยู่เล็กน้อย ได้แก่
ระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางไกลและป้องกันขีปนาวุธ ที่มีประสิทธิภาพสูง (High to Medium Air Defense , Anti-Ballistic Missile Defense System)
ประโยชน์ของระบบจำพวกนี้ คือการป้องกันและต่อต้านได้ตั้งแต่ ขีปนาวุธใกล้ กลาง ไกล และเครื่องบินรบยุคที่ 5 ทำให้ขีดความสามารถในการโจมตีก่อน First Strike Capabilities และ การจู่โจม Surprise Attack สูญเสียไป
และอาจรวมไปถึงการโจมตีในระลอกที่ 2 หรือ Second Strike Capabilitites อีกด้วย ยังไม่นับว่าระบบพวกนี้มาพร้อมเรดาร์ระยะไกล ที่สามารถใช้ในการจับตามองกิจกรรมทางการทหารที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ทั้งยังตอบโจทย์ภัยคุกคามภายนอกและภายในได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะภัยคุกคามจาก Tactical Ballistic Missile ในปัจจุบัน ต่อต้านและลดทอนขีดความสามารถจากเครื่องบินรบยุคที่ 5 ที่อาจมีการเข้าประจำการ
จะเห็นได้ว่า แม้ระบบดังกล่าวจะไม่ใช่ระบบอาวุธที่โจมตีผู้ใดได้ แต่เป็น การสร้างความมั่นคงที่ไปลดทอนประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการโจมตีของตัวแสดงอื่นๆได้ ทั้งตัวแสดงในภูมิภาคและตัวแสดงนอกภูมิภาค ทำให้แต่ละรัฐต้องคิดอย่าง หนักต่อโจทย์ใหม่ ว่าไพ่ในมือที่ตัวเองจะดีพอที่จะหวังผลทางยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่ยุทธวิธีได้หรือไม่
การแลก"หมัด"กัน เจ็บทั้งคู่ อาจไม่เท่ากับการ"ฟุตเวิร์ค " หลบหลีกแล้วสวนหมัดฮุค หรือไม่อย่างไร
เพราะฉะนั้น ความหลากหลายในการต่อต้านภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์ที่มีแนวโน้มตามข้างต้นนั้น เราจึงเสนอให้ ะบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางไกลและป้องกันขีปนาวุธ ที่มีประสิทธิภาพสูง (High to Medium Air Defense , Anti-Ballistic Missile Defense System) เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม และเป็นไปได้ที่สุด ในการเป็น "ตัวเปลี่ยนเกมส์ในภูมิภาคอาเซียน
แล้วสำหรับ F35? เรือบรรทุกเครื่องบินล่ะ? สำหรับเครื่องบินรบยุคถัดไปอย่าง F-35 ที่หลายท่านพูดถึงเพราะส่วนนึงอาเซียนมีชาติที่เสนอความต้องการจัดหาเข้าประจำการแล้วคือสิงคโปร์ "แต่" ต้องบอกว่า สิงคโปร์ โจทย์ความมั่นคงไม่เหมือนชาติอื่นๆ ในอาเซียน
มุมมองภัยคุกคามของสิงคโปร์ทั้ง Means และ Ends มีความแตกต่าง รวมไปถึงมุมมองภัยคุกคามของชาติอื่นๆต่อสิงคโปร์ก็ไม่เหมือนกับบนโจทย์ความมั่นคงอื่นๆที่เจอ พูดโดยง่ายๆ คือ สิงคโปร์ เป็น Exceptional ในอาเซียนไปแล้ว
การมาถึงของ F35 สิงคโปร์จึงไม่ทำให้รัฐอื่นในอาเซียนรู้สึกว่า ดุลยภาพนั้นเปลี่ยน ไป แต่อย่างใด สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน เป้าหมายของเรือบรรทุกเครื่องบิน คือการต่อระยะ และการ "Power Projection" ถ้าวัดด้วยสถานะของรัฐต่างๆของอาเซียนในปัจจุบันแล้วนั้น แทบไม่มีผู้ใดจำเป็นจะต้อง "Power Projection" เลยด้วยซ้ำไป
ส่วนเสริมคือ ข้อเสนอนี้ต่อไปไทย เรามองว่าจำเป็นมากที่ไทยควรจะมองะบบป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลางไกลและป้องกันขีปนาวุธ ที่มีประสิทธิภาพสูง (High to Medium Air Defense , Anti-Ballistic Missile Defense System) พวกนี้เป็นความเร่งด่วนหรือความจำเป็นระดับต้นๆ เพราะ เป็นสิ่งที่ขาดอย่างแท้จริง และด้วยตำแหน่งที่ตั้งของเราในยุทธศาสตร์อันจำเป็นต่อมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายอย่างที่เราได้่อธิบายกันไปแล้ว ระบบๆ นี้จะจำเป็นต่อไทยอย่างมากในอนาคต
สุดท้าย ขีดความสามารถทุกอย่างที่พัฒนาขึ้น ดีขึ้น ล้วนทำให้ขีดความสามารถโดยรวมของแต่ละชาติสูงขึ้นทั้งนั้น แต่ การเสริมตามใจที่ต้องการหรือสิ่งที่มองว่าดีเพียงอย่างเดียวโดยไม่สามารถจะเปลี่ยนเกมส์หรือพลิกเกมส์ได้ อย่างมีอิมแพค สุดท้ายมันจะผลักดันให้แต่ละฝ่ายเข้าสู่สภาวะของการแข่งขันสะสมอาวุธ มากกว่าการหวังผลทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีอย่างแท้จริง
เอวัง
9 บันทึก
34
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ยุทธศาสตร์ทะเลจีนใต้
9
34
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย