11 พ.ค. 2020 เวลา 08:50 • ธุรกิจ
10 อันดับมหาเศรษฐีของประเทศไทยจากการจัดอันดับของ Forbes มาดูกันครับว่ามีใครกันบ้าง
อันดับ 10: ชูชาติ เพ็ชรอำไพ และ ดาวนภา เพชรอำไพ (ขึ้นจากอันดับ 13)
สองสามีภรรยาจากครอบครัวเพ็ชรอำไพ โดยคุณชูชาติ และดาวนภา เพชรอำไพ อดีตพนักงานแบงก์ลาออกจากงานธนาคารเพื่อก่อตั้งเมืองไทย ลิสซิ่งเมื่อปี 2535 และขยายธุรจิจจนเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยสาขาที่มีถึง 3,279 สาขา บมจ.เมืองไทย ลิสซิ่ง คือบริษัทสินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา และล่าสุดทั้งคู่ประกาศแผนการเติบโตตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 4,500 สาขาภายในปี 2563
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.65 พันล้านเหรียญ / 8.66 หมื่นล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)
แหล่งที่มา: เมืองไทย แคปปิตอล MTC
อันดับ 9: คุณวานิช ไชยวรรณ (อันดับคงที่)
อดีตพ่อค้าข้าว สินทรัพย์ของเขาส่วนใหญ่มาจาก บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ โดยมีบริษัท Meiji Yasuda จากประเทศญี่ปุ่นร่วมถือหุ้นในสัดส่วน 15% ปัจจุบันไทยประกันชีวิตมีผู้นำคือลูกชายคนโตของวานิช ไชย ไชยวรรณ
บริษัทนี้มีชื่อเสียงจากโฆษณาโทรทัศน์ในรูปแบบสะเทือนอารมณ์ มีกลยุทธ์การขายผ่านตัวแทนเป็นหลัก และมีนโยบายหลักเกณฑ์พิเศษให้สำหรับผู้พิการรวมถึงกองทัพไทย
คุณวานิชยังมีหุ้นส่วนใน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ซึ่งมีเจ้าของคือมหาเศรษฐี เจริญ สิริวัฒนภักดี
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.8 พันล้านเหรียญ / 9.15 หมื่นล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)
แหล่งที่มา: ไทยประกันชีวิต
อันดับ 8: ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (อันดับคงที่)
บริหารโดย เพชร นั่งเป็นประธานบริษัท
โดยบริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ” หรือ “โอสถสภา”) ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (FMCG) ภายใต้แนวคิด ‘พลังเพื่อเสริมสร้างชีวิต’ (The Power to Enhance Life) โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค
มูลค่าทรัพย์สิน: 3 พันล้านเหรียญ / 9.8 หมื่นล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินคงที่)
แหล่งที่มา: โอสถสภา
อันดับ 7: ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (ขึ้นจากอันดับ 24)
ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ คือหนึ่งในพี่น้อง 3 คน ผู้ร่วมกันสร้างอาณาจักรสีทีโอเอ โดยเริ่มธุรกิจจากร้านขายของชำและฮาร์ดแวร์ ก่อนจะเริ่มผลิตสีทาไม้ออกจำหน่ายเอง ก่อนจะเจริญเติบโตมาสู่การขายสีทาอาคาร สร้างรายได้ไป 1.65 หมื่นล้านบาท กำไรสุทธิ 1.8 พันล้านบาท เมื่อปี 2561
ประจักษ์เข้ามาในทำเนียบมหาเศรษฐีไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561 หลังจากทีโอเอเข้าเทรดในตลาดหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2560 จากการขายหุ้น 507 ล้านหุ้นสามารถระดมทุนได้ 1.4 หมื่นล้านบาท
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.1 พันล้านเหรียญ / 1.01 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)
แหล่งที่มา: ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย)
อันดับ 6: อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (อันดับคงที่)
เจ้าของธุรกิจดิวตี้ฟรี ประธานทีม Leicester City แห่งพลีเมียร์ลีกอังกฤษ คุณอัยยวัฒน์ ได้เข้ามารับตำแหน่งทั้ง 2 นี้จากคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ที่ได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ตกที่ข้างสนาม King power stadium หลังเกมส์แข็งขันระหว่าง Leicester City กับ ทีมเวสต์แฮม ยูไนเต็ด ที่เป็นทีมเยือน หลังการแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอกัน 1 ต่อ 1 ทางด้านธุรกิจดิวตี้ฟรีเพิ่งจะชนะการประมูลอพื้นที่ดิวตี้ฟรีสนามบินสุวรรณภูมิภายในเดือนพฤษภาคม 2562 และสัญญาเดิมของคิง เพาเวอร์จะหมดลงในปี 2563
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.8 พันล้านเหรียญ / 1.24 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)
แหล่งที่มา: คิง เพาเวอร์
อันดับ 5: สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับคงที่)
นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2554 แต่ก่อนหน้านี้กลุ่มกัลฟ์เริ่มลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้ามาตั้งแต่ 20 ปีก่อน โดยปัจจุบันยังมีบริษัทย่อยอยู่ภายใต้กัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ เช่น บริษัท กัลฟ์ เอ็มพี จำกัด (GMP) บริษัท อินดิเพนเดนท์ พาวเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (IPP) บริษัท กัลฟ์ โซล่าร์ จำกัด (Gulf Solar) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่น ในนาม บริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด (GJP) โดยกัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ มีโรงไฟฟ้าทั้งที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อรวมทุกบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุนภายใต้เครือข่ายของกัลฟ์ เอ็นเนอร์จีฯ พวกเขามีโรงไฟฟ้ารวม 33 โครงการรวมทั้งที่เปิดดำเนินการแล้วและอยู่ระหว่างก่อสร้าง
มูลค่าทรัพย์สิน: 6.8 พันล้านเหรียญ / 2.22 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)
แหล่งที่มา: กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
อันดับ 4: ตระกูลจิราธิวัฒน์ (ลงจากอันดับ 2)
เมื่อปี 2470 เตียง จิราธิวัฒน์ ปู่ของทศ ผู้อพยพจากประเทศจีนมาแบบเสื่อผืนหมอนใบได้ก่อตั้งร้านค้าแห่งแรกของเขาขึ้นที่กรุงเทพฯ ในนาม “เข่งเซ่งหลี” จนถึงปี 2499 สัมฤทธิ์ ลูกชายของเตียงจึงได้ขยายกิจการเปิดเป็น “ห้างเซ็นทรัล” ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่เขตวังบูรพา และขยายสาขาทั่วทุกภูมภาคทั่วประเทศไทยในปัจจุบัน
มูลค่าทรัพย์สิน: 9.5 พันล้านเหรียญ / 3.1 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)
แหล่งที่มา: กลุ่มเซ็นทรัล
อันดับ 3: เจริญ สิริวัฒนภักดี (ขึ้นจากอันดับ 4)
ครอบครัวของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เดิมทีมีอาชีพขายหอยทอด แต่ในวันนี้คือผู้กุมบังเหียน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย มีชื่อเสียงโด่งดังจากเบียร์ช้างและเหล้าแสงโสม เจริญ นำไทยเบฟเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสิงคโปร์เมื่อปี 2549 หลังจากความพยายามเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยไม่เป็นไปตามแผนจากการประท้วงต่อต้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 
สินทรัพย์ขนาดใหญ่อื่นๆ ของเขารวมไปถึงบริษัทอสังหาริมทรัพย์นอกตลาดหุ้นอย่าง ทีซีซี แลนด์ กรุ๊ป และ กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ บริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาฯ ของสิงคโปร์ ที่เจริญคว้าเอาไว้ได้ในปี 2556 ต่อด้วยการรุกคืบธุรกิจรีเทลเมื่อปี 2559 เจริญได้ขยายอาณาจักรด้วยเม็ดเงินมากกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการเข้าซื้อกิจการ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
มูลค่าทรัพย์สิน: 1.05 หมื่นล้านเหรียญ / 3.43 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)
แหล่งที่มา: ไทยเบฟเวอเรจ
อันดับ 2: เฉลิม อยู่วิทยา (ขึ้นจากอันดับ 3)
เฉลิม อยู่วิทยา ผู้นำตระกูลอยู่วิทยาที่เป็นเจ้าของสัดส่วนหุ้นรวมกัน 51% ใน บริษัท เครื่องดื่มกระทิงแดง จำกัด (Red Bull) เครื่องดื่มให้พลังงานที่มีแบรนด์เป็นเอกลักษณ์ เฉลิมเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ เฉลียว อยู่วิทยา ผู้ก่อตั้งบริษัท ในประเทศไทย บริษัทยังเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มให้พลังงานแบบอัดแก๊ส ชาขาว เครื่องดื่มเกลือแร่ และขนมเมล็ดทานตะวัน ซึ่งทั้งหมดบริหารภายใต้กลุ่มธุรกิจ TCP
โดยที่ คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ซีอีโอของกลุ่ม TCP คือ ซึ่งเป็นบุตรชายคนเล็กของเฉลียว เขาประกาศเป้าไว้เมื่อปี 2561 ว่า จะนำพากลุ่มธุรกิจของบริษัทขยายรายได้จาก 3 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2561 ให้โตขึ้น 3 เท่าเป็น 1 แสนล้านบาท
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.02 หมื่นล้านเหรียญ / 6.6 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)
แหล่งที่มา: กระทิงแดง
อันดับ 1: ตระกูลเจียรวนนท์ (อันดับคงที่)
เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ซึ่งบริหารงานโดยตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย ได้ประกาศการส่งมอบตำแหน่งบริหารสูงสุดขององค์กรให้กับทายาทรุ่นต่อมาเมื่อ ธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานและซีอีโอตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ได้ลงจากตำแหน่งประธานบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เมื่อเดือนเมษายน 2562 อย่างไรก็ตาม ธนินท์ยังคงนั่งเก้าอี้ประธาน ซีพี ออลล์ อยู่
ธนินท์ แต่งตั้ง สุภกิต วัย 55 ปี บุตรชายคนโต และ ศุภชัย วัย 52 ปี บุตรชายคนเล็ก ให้ดำรงตำแหน่งประธานและซีอีโอของเครือซีพีตามลำดับ ขณะที่ ณรงค์ บุตรชายคนกลาง เป็นรองประธานเครือซีพีพร้อมกับการดูแลธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ตของเครือในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด เครือซีพี เพิ่งประมูลซื้อกิจการ Tesco ในไทยและมาเลเซียได้เมื่อเดือนมีนาคมด้วยราคา 1.06 หมื่นล้านเหรียญ ถึงแม้ว่าความผันผวนทางเศรษฐกิจและการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้จำนวนทรัพย์สินลดลง แต่ก็ยังคงเป็นอันดับ 1 ในทำเนียบของเราด้วยทรัพย์สิน 2.73 หมื่นล้านเหรียญ
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.73 หมื่นล้านเหรียญ / 8.92 แสนล้านบาท (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)
แหล่งที่มา: เครือเจริญโภคภัณฑ์
ข้อมูลอ้างอิง : Forbes Thailand
Facebook : Top 10 Special Thailand
Youtube : Top 10 Special Thailand
#Forbes #10อันดับมหาเศรษฐีประเทศไทย #TOP10SPECIALTHAILAND
โฆษณา