11 พ.ค. 2020 เวลา 17:30 • ประวัติศาสตร์
พระเจ้าตาก"กวาดล้างรัชทายาทราชวงศ์บ้านพลูหลวง" หลังกรุงแตก
ขอบคุณภาพจาก oknation
จากบทความที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ท่าทีราชวงศ์ชิงต่อสถานะกบัตริย์
ของพระเจ้าตากสินไว้นั่น สืบเนื่องจากเรื่องนี้มีความสำคัญต่อการครอบครองราชบัลลังก์ของพระเจ้าตากต่อจากกลุ่มอำนาจเก่าก็คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะเรื่องการยอมรับของประชาราษฎร เหล่าขุนนางอำมาตย์ พระราชวงศ์ และนานาประเทศ
โดยเฉพาะจีน ซึ่งแน่นอนเป็นอย่างยิ่งว่าหลักความเชื่อและการยึดมั่นอยู่ในโบราณราชประเพณีการสืบเชื้อสายตามโบราณราชประเพณี ยังคงเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญต่อการขึ้นครองราชย์ครั้งนี้ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน
จนมีข้อเรียกร้องจากภายนอกที่ต้องการให้องค์รัชยาทที่เหลือ เป็นผู้สืบต่อราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยา “อย่างชอบธรรม” จนทำให้พระเจ้าตากจำเป็นต้อง “เก็บกวาด” องค์รัชทายาทที่เหลือให้หมด ก่อนที่จะได้เป็น “พระเจ้าแผ่นดินสยามแห่งกรุงธนบุรี” อย่างสมบูรณ์
เวลานั้นมีองค์รัชทายาทที่ปรากฏพระนามในพระราชพงศาวดารอยู่ 3 พระองค์ คือ
๑.กรมหมื่นเทพพิพิธ (พระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)
๒.เจ้าศรีสังข์ (พระโอรสในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ “เจ้าฟ้ากุ้ง”)
๓.เจ้าจุ้ย (พระโอรสในเจ้าฟ้าอภัย – เจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)
ปฏิบัตการกวาดล้าง เริ่มต้น !!!!
กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นพระราชวงศ์ชั้นสูง มีบทบาททางการเมืองมาตลอดนับว่าเป็นองค์"รัชทายาท"ลำดับต้นๆ พระองค์หนึ่ง
หลังจากกรุงแตกพระองค์ทรงรวบรวมกำลังพลไปลอบสังหารพระยานครราชสีมา และยึดเมืองได้ในที่สุด แต่ก็ถูก "หลวงแพ่ง" น้องพระยานครราชสีมาได้ไปตีเมืองนครราชสีมาเอาเมืองคืน ปรากฏว่ารบชนะ จึงจับกรมหมื่นเทพพิพิธได้ หลวงแพ่งต้องการที่จะประหารชีวิตกรมหมื่นเทพพิพิธเสีย แต่เจ้าพิมายมีความสงสารจึงขอชีวิตไว้ จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินเมืองพิมาย สถาปนาเมืองพิมายเป็นราชธานีต่อจากกรุงศรีอยุธยา ส่วนเจ้าพิมายนั้นได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการบ้านเมืองทั้งหมด หลังจากนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ได้สังหารหลวงแพ่ง แล้วยึดเมืองนครราชสีมาได้
จนกระทั่งปี 2311 สมเด็จพระเจ้าตากสิน มีบัญชาให้ พระราชวรินทร์ และ พระมหามนตรี ยกทัพมาตีพิมาย กองทัพพิมายของกรมหมื่นเทพพิพิธมิอาจต่อสู้ได้ พระองค์จึงพาครอบครัวหนีไปเมืองเวียงจันทน์ แต่ถูก ขุนชนะ กรมการเมืองนครราชสีมาตามจับตัวได้ทัน จึงนำตัวมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ พระองค์จึงจำต้องสำเร็จโทษกรมหมื่นเทพพิพิธ
เจ้าศรีสังข์ หนีไปเมืองพุทไธเพชร กรุงกัมพูชา
ตามบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศส "เจ้าศรีสังข์" หลบหนีข้าศึกไปอยู่ในป่า ๓ เดือนและได้เสด็จไปที่บางปลาสร้อย พระเจ้าตากจึงได้ เร่งสืบหาตัวพระองค์ แต่พระองค์ทรงหลบหนีได้ทางเรือ แต่ถูกโจรสลัดปล้น จึงต้องหลบหนีเข้ากรุงกัมพูชา
ถ้าเป็นจริงตามบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศส การตามล่าหาตัว "เจ้าศรีสังข์" เกิดขึ้นตั้งแต่พระเจ้าตากยังไม่เช็คบิลค่ายโพธิ์สามต้น และยังไม่ได้สถาปนากรุงธนบุรีเสียด้วยซ้ำ เป็นไปได้หรือไม่ว่าพระเจ้าตาก “ตัดสินใจ” ที่จะเป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา “อย่างแน่นอน” หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีฯ
หลังจากนั้นกองทัพกรุงธนบุรียกทัพขึ้นมาตีเมืองพุทไธเพชร พร้อมๆกับการเช็คบิลหาองค์รัชทายาทด้วย แต่ไม่ได้มีรายงานว่าสามารถจับคุม เจ้าศรีสังข์ได้ แต่หลังจากนั้น ๒ เดือน มีบันทึกว่าเจ้าศรีสังข์ได้สิ้นพระชนม์ลง ตามพงศาวดารของกรุงกัมพูชา
ตี ญวน ตามหา "เจ้าจุ้ย"
ก่อนที่กองทัพกรุงธนบุรี จะเข้าไปตีกรุงกัมพูชานั้น ได้เคลื่อนทัพ เข้าไปตีเมืองพุทไธมาศ เมืองหลวงของญวนก่อน พร้อมกับตามหาองค์รัชทายาท "เจ้าจุ้ย " ที่ได้รับการสนับสนุนจากพระยาราชาเศรษฐี
กองทัพของญวนไม่อาจต้านทานกองทัพกรุงธนบุรีได้ รบกันไม่นานญวนก็แตก พระยาราชาเศรษฐีลงเรือหนีไปได้ ส่วนเจ้าจุ้ย…ไม่รอด
บทสรุปของเจ้าจุ้ยจึงไม่แน่ชัดว่ารอดหรือไม่ แต่หลังจากถูกจับครั้งนี้ ก็ไม่มีเรื่องราวของเจ้าจุ้ยปรากฏขึ้นอีกเลยในพงศาวดาร
หลังจากนั้นท่าทีของจีนก็ดูจะเริ่มยอมรับในสถานะกบัตริย์ของ พระเจ้าตากสิน โดยมีการเปลี่ยนการกล่าวอ้างพระนามของพระเจ้าตากสินใหม่ จาก“กันเอินซื่อ”เป็น “เจิ้งเจา” ซึ่งหมายถึง “กษัตริย์เจิ้ง” หรือ “แต้อ๋อง” นั่นเอง
ตลอดรัชกาลของพระเจ้าตากสิน ก็ไม่มีเหตุการณ์ไล่ล่า "องค์รัชทายาท"หรือกลุ่มอำนาจเดิมแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวงลุกขึ้นต่อต้านพระองค์อีกเลย ตลอดรัชกาลของพระองค์
ขอบคุณข้อมูล www.silpa-mag.com,www.wikipedia.org
โฆษณา