12 พ.ค. 2020 เวลา 04:27 • ธุรกิจ
Price war สงครามราคาที่แข่งขันกันดุเดือด แต่ผลของการแข่งขันส่งผลกระทบที่หนักหนาสาหัส มากกว่าที่คาดคิด เมื่อวิกฤตมาเยือนอย่างไม่มันได้เจรียมตัว
สงคราราคาน้ำมันของประเทศยักษ์ใหญ่
Price war สงครามราคาที่แข่งขันกันดุเดือด เพื่อต้องการคำสั่งซื้อ ในทุกๆอุตสหกรรมแต่แล้วเมื่อการมาถึงของสิ่งที่เรียกว่าวิกฤตเศรฐษกิจ ความหายนะของสงครามราคาจึงค่อยๆแสดงออกมาตามธุรกิจต่างๆของประเทศไทย อย่างไม่ทันได้เตรียมตัว
สงครามราคา(Price war) คือรูปแบบกลยุทธ์ในการทำธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่ใช้งานง่ายมาก โดยการแข่งขันกันลดราคาสินค้าเพื่อทำการแย่งชิงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้เข้ามาใช้สินค้าของตนเอง โดยผู้ขายจะทำการลดราคาสินค้าตัวเองต่ำลงเรื่อยๆจนกว่าจะสามารถเอาชนะคู่แข่งได้เพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในธุรกิจนั้น
และท้ายที่สุดคนที่จะได้ประโยชน์กลับเป็นผู้บริโภค และฟังดูเหมือนจะดี
1
การลดราคาเพื่อต้องการคำสั่งซื้อคือหนึ่งในกลยุทธ์ที่เรียบง่าย
แต่ สงครามไม่ว่าจะที่ไหนคนชนะเองก็อาจจะพบกับความสูญเสียด้วยเช่นกันเพียงแต่เราอาจไม่รู้ สุดท้ายก็จะเจ็บด้วยกันทั้งสองฝ่าย เพราะเมื่อบริษัทลงเล่นในสงครามราคาและไม่สามารถที่ตะควบคุมต้นทุนได้ ท้ายที่สุดพนักงานอาจต้องเป็นผู้รับผกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในท้ายที่สุดผู้ชนะต้องสูญเสียไปมากขนาดไหนถึงจะอยู่รอดได้
สำหรับธุรกิจที่ทำสงครามราคากันอย่างหนักที่สุด คือ...อุตสหกรรมการบินโลว์คอสต์(Low cost) ที่การแข่งขันเป็นไปอย่างดุเดือด มีการทำสงครามด้านราคาผ่านทางโปรโมชั่นต่างๆมากมาย เพื่อต้องการกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการ จึงทำให้กำไรของสายการบินตกลงจากเมื่อก่อนอย่างเห็นได้ชัดเจน ในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา
แล้วภาพรวมองสายการบินในอนาคตจะไปในทิศทางไหน จากงบการเงินที่ออกมา หลายๆบริษัทที่กำไรในตอนนี้กลับประสบกับภาวะขาดทุนและในปี2563
ยังมีการระบาดขของเชื้อไวรัส Covid-19 เข้ามาอีกจึงซ้ำเติมธุรกิจสายการบินที่เปราะบางลงไปอีก จะดีก็แค่ราคาน้ำมันที่ตกลง แต่จะมีประโยชน์อะไรเมื่อยังไม่สามารถทำการบินได้
ธุรกิจการบินส่วนแบ่งการตลาดจะเป็นไปในทิศทางไหนในอนาคตสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำ
สุดท้ายในปี2563นี้ คงเป็นงานหินอีกปีหนึ่งแน่นอน เพราะสายการบินตอนนี้ ต้องตามดูกันต่อไปว่าจะมีการแก้เกมกันอย่างไร จะทำอย่างไรให้เครื่องบินที่จอดนิ่งไม่สร้างรายได้สามารถกลับมาทำกำไรให้บริษัทได้อีกครั้ง
แต่ที่แน่ๆในตอนนี้บางสายการบินต้องประกาศลดเงินเดือนตั้งแต่ระดับผู้บรหารลงไปเลยทีเดียว แถมยังมีการให้พนักงานลาหยุดแบบไม่ได้รับเงินเดือน เลยทีเดียว
การปรับตัวเพื่อรับมือกับการต่อสู้ของสงครามราคา มีวิธีไหนที่น่าสนใจนำมาปรับใช้กับธุรกิจกันบ้าง ตามมาดูเป็นแนวทางกันดีกว่า
ธุรกิจจะเดินหน้าอย่างยั่งยืนได้ต้องพยายามอย่าลงไปเล่นในเกมราคา
1. การทำสินค้าให้แตกต่าง หรือหาจุดเด่นของสินค้าและบริการ เพราะจุดเด่นสินค้าจะทำให้เราเหนือกว่าคู่แข่งและสร้างคุณค่าให้กับสินค้านั้น
2. เอาลูกค้าเป็นศูยน์กลาง เราต้องกลับมาคิดได้แล้วว่าลูกค้าต้องการอะไร อะไรที่ลูกค้าจะยอมจ่ายเพื่อสินค้าชิ้นนั้น ต้องแก้โจย์ให้ได้ คิดให้ดี
3. ตั้งราคาตามคุณค่าของสินค้า ไม่ใช่ราคาสินค้าของคู่แข่ง การตั้งราคาตามคุณภาพของสินค้าจะเพิ่มความจงรักภักดีต่อสินค้าชิ้นนั้น เพราะถ้าสินค้าดีจริงราคาย่อมต้องสูงตามคุณภาพที่ใช้
4. หาของราคาถูกและต้นทุนต่ำมาขายต่อ เมื่อเราได้สินค้าในราคาต้นทุนต่ำมาขาย นั่นหมายถึงกำไรที่เพิ่มขึ้นเมื่อต้องขายราคาเท่ากับคู่แข่งในท้องตลาด และก็จะกลายเป็นสงครามราคาในที่สุด
5. ขายวิธีแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า เพราะการเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้าใหม่ เราจึงต้องเสนอวิธีในการอยู่รอดของสินค้าให้กับลูกค้า และคอยแก้ไขปัญหาของสินค้าให้สามารถสู้กับแบรนด์อื่นในตลาดได้
ทั้งหมดนี่คือวิธีการเพื่อความอยู่ในธุรกิจในยุคสงครามราคาที่ต้องต่อสู้แย่งชิงกัน หวังว่าทุกคนจะเอาตัวรอดได้นะครับ
ในท้ายที่สุดนี้ไม่มีใครรู้ว่าผลลัพธ์ของธุรกิจแต่ละอุตสหกรรมที่ได้รับผลกระทบจะออกมาในรูปแบบไหน แต่ไม่ว่าจะอย่างไร อนาคตข้างหน้าที่รออยู่ผมเชื่อเสมอว่า มันจะต้องดีกว่าเก่าอย่างแน่นอน
แล้วสักวันหนึ่งประเทศไทยจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาสร้างรายได้อีกครั้งอย่างแน่นอน
ในท้ายที่สุดทุกอย่างจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แล้วธุรกิจในตอนนี้พร้อมหรือยังสำหรับการเปลี่ยนแปลง
ขอบคุณที่ติดตาม
โฆษณา