พื้นที่อยู่อาศัยแต่เดิมของกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้ ถูกผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้เกิดความแห้งแล้งมาเป็นเวลานาน และ เมื่อพายุฝนถล่มกลับมา ก็ไม่ใช่เรื่องดีสำหรับกุ้งเครย์ฟิชที่หายากเหล่านี้เลย เนื่องจากเมื่อน้ำท่วมใหม่อีกครั้ง ก็ทำให้เกิดตะกอนดิน และ มีการทับถมของซากพืช ซากสัตว์
ที่เน่าเปื่อยปริมาณมหาศาล ที่ทำให้ คุณภาพน้ำแย่ลง เนื่องจากในขั้นตอนในการย่อยสลายสิ่งเหล่านี้ทำให้น้ำมีคุณภาพต่ำลงมาก ( เกิดสภาวะ "น้ำดำ" ) แม้ว่า กุ้งเครย์ฟิช จะพยายามปรับตัวให้อยู่รอด โดยการขึ้นบกเป็นเวลานานๆแล้วลงน้ำแค่พอให้เหงือกชุ่มชื่นเพื่อประทังชีวิต แต่หลายๆตัว ก็ตายไปโดยสัตว์ผู้ล่าชนิดอื่นๆ หรือ ชาวประมงที่จับตัวกุ้งเองไปจนปริมาณของกุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้ ลดลงจนเข้าขั้นวิกฤต รวมทั้งสภาวะอากาศที่ร้อน ก็ส่งผลให้กุ้งเครย์ฟิชชนิดนี้ ตายไปเป็นจำนวนมาก แค่ภาวะ " น้ำดำ " ที่ปรากฏขึ้นอย่างเดียว ก็ทำให้ Murray crayfish มีจำนวนประชากรลดลงถึง 81 เปอร์เซ็นต์แล้วและยังส่งผลกระทบไปถึงสัตว์น้ำในสปีชียส์เดียวกันนี้ ที่มีปริมาณลดลงไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์อีก , ดร. Whiterod กล่าว ,