ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือก
ต้นสีน้ำตาล ผิวเรียบ เมื่อลำต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว แก่นมีความ
แข็งแรง คงทน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ออกหนาแน่นที่ปลายยอด ใบรูปวงรี ปลายใบแหลม กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร
ขอบใบขนาน แผ่นใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ฐานใบมน
ปลายใบแหลม ท้องใบและขอบใบเรียบ เส้นกลางใบสีเขียวอ่อน นูนเล็ก
น้อย ผิวใบด้านบนลื่น เป็นมันสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเหนียว หูใบยาว
0.1-0.2 ซม. เส้นแขนงใบ 5-9 คู่ เห็นไม่ชัดเจน ด้านบน เส้นกลางใบด้านบนนูนเล็กน้อย ด้านล่างเป็นสันนูนชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ยาว 4-12 ซม. ก้านช่อยาว 2-6.5 ซม. ก้านดอกย่อย
ยาว 0.3-0.6 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาวและเหลืองอ่อนจำนวน 5 กลีบ
ม้วนงอเข้าหาก้านดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบดอกแหลม กลีบดอกรูปปากแตรแคบๆ ยาวได้ประมาณ 2 ซม. หลอดกลีบ
ดอกยาว 0.7-1.2 ซม. กลีบรูปขอบขนาน ยาว 0.5-0.8 ซม. พับงอกลับ ดอก
เริ่มบานมีสีขาวเมื่อบานเต็มที่มีสีเหลืองอมส้ม มีก้านเกสรยาวออกมา เกสรตัวผู้ยาวและติดกับกลีบดอกมี 5 อัน ยื่นพ้นเลยปากหลอดกลีบดอก ก้านเกสร
เพศผู้แผ่กว้าง ยาว 1.5-2 ซม. อับเรณูรูปรีหรือขอบขนาน ยาวได้ประมาณ
0.2 ซม เกสรตัวเมียยาวมี 1 อัน รังไข่ยาว 1.7-2.4 ซม. รวมก้านเกสรเพศเมีย ยอดเกสรรูปโล่ห์หรือแยกเป็น 2 พู กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยงรูประฆัง ยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบยาวได้ประมาณ 0.2 ซม. ปลายกลีบกลม ผลอ่อนทรงกลมสีเขียว สุกสีเหลือง ส้ม หรือแดง เป็นแบบผลสดมีหลายเมล็ด ผลกลม เส้น
ผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.8 ซม. เมล็ดมีขนาด 0.1-0.2 ซม.มีเหลี่ยม ผิวเรียบเป็นมัน ฉ่ำน้ำ มีติ่งแหลมสั้นติดอยู่ที่ปลาย เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาลไหม้ มี
หลายเมล็ด ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน จัดเป็นพรรณไม้มงคล และเป็นพรรณไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบตามป่า
เบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้กินเป็นผักสดได้