12 พ.ค. 2020 เวลา 20:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
AI คืออะไร? เราไม่ทิ้งกัน.com ใช้ AI จริงหรือ?
ล่าสุดเดือนเมษายนที่ผ่านมา คำว่า AI ถูกพูดถึงกันวงกว้างในบ้านเรา หลังจากรัฐบาลเปิดโครงการช่วยเหลือประชาชนที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ให้ไปลงทะเบียนขอรับเงินช่วยเหลือผ่านทางเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com โดยรัฐบาลอ้างว่าในขั้นตอนนี้ ทางหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบได้ใช้ระบบ AI เข้ามาช่วยคัดกรองผู้มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขจริง
หลังจากประกาศสิทธิ์รอบแรกทำให้หลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับการอนุมัติและปฏิเสธสิทธิ์เนื่องจากมองถึงความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้น และมีคำถามต่ออีกว่า สรุปแล้ว “ระบบ AI คืออะไร” “รัฐบาลใช้ AI จริงหรือไม่” และ “ถ้ารัฐบาลใช้จริง ระบบนี้จะเชื่อถือได้จริงหรือไม่”
มิวก็เป็นเหมือนใครหลายคนค่ะ ที่ไม่ได้เข้าใจระบบนี้มากนัก แต่ด้วยความที่กำลังฝึกการเขียนคอนเทนต์และสนใจการทำธุรกิจ เลยมีโอกาสได้อ่านทำความเข้าใจความรู้ต่างๆผ่านหนังสือหลายเล่ม หนึ่งในนั้นก็คือหนังสือเล่มใหม่ของ Amarin How To เรื่อง “การปฏิวัติคอนเทนต์ในยุคแห่ง AI “ วันนี้มิวเลยจะมาชวนเพื่อนๆเรียนรู้ไปพร้อมกันค่ะ
📌 AI คืออะไร
- AI ย่อมาจากคำว่า Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์)
- ประกอบด้วยคำว่า Artificial (ของเทียม ของที่สร้างขึ้นมา) และ Intelligence (อัจฉริยะ)
- เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันก็จะแปลได้ว่า ความอัจฉริยะเทียมที่สร้างขึ้น, ความอัจฉริยะท่ีไม่ได้มีมาแต่กำเนิด
- นิยาม : วิทยาศาสตร์ของการฝึกฝนเครื่องจักรโดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาของมนุษย์
อธิบายลึกลงไป
- AI เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งใน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรูปแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อธิบายเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนเรียกเป็นภาษาทางเทคนิคว่า “อัลกอริทึม”
AI สามารถแบ่งนิยามการเรียนรู้ได้ง่ายๆ 4 กลุ่ม คือ
- Acting Humanly การกระทำคล้ายมนุษย์
- Thinking Humanly การคิดคล้ายมนุษย์
- Thinking rationally คิดอย่างมีเหตุผล
- Acting rationally กระทำอย่างมีเหตุผล
https://www.g-able.com/thinking/artifact-intelligence/
แนวคิดเรื่อง AI มีมาตั้งแต่ปี 1956 (10ปีหลังจากมีคอมพิวเตอร์เครื่องแรก) พัฒนาไปอย่างช้าๆ จนมาบูมครั้งใหญ่ในปี 2016 เมื่อ AlphaGo โปรแกรมเล่นหมากล้อมของบริษัท DeepMind ชนะการประลองหมากล้อมกับมนุษย์ซึ่งเป็นแชมป์เก่าที่เก๋าเกมส์มาก
ถึงตรงนี้หากใครชอบดูภาพยนตร์ Sci-fi ก็อาจจะนึกภาพตามได้ถึงการนำหุ่นยนต์ซึ่งมี AI ทำให้มีพฤติกรรมเหมือนกับมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันเรื่องที่เคยเห็นเฉพาะในภาพยนตร์ก็มีให้เห็นแล้วในปัจจุบันนั่นเองค่ะ
AI ในปัจจุบันไม่ได้มีขีดความสามารถหยุดอยู่ตามนิยามแรกเริ่มเท่านั้น สามารถเจาะลึกเป็น Subset ย่อยๆได้มากขึ้น คือ
https://www.thaiprogrammer.org/2018/12/whatisai/
📌Machine learning
- ซับเซ็ตของ AI ที่จะเจาะจงไปที่การฝึกฝนเครื่องจักรให้เกิดการเรียนรู้จากตัวอย่างและประสบการณ์ และพยายามหารูปแบบ (pattern) ที่สามารถบ่งบอกความเป็นไปของสิ่งนั้นๆ เพื่อทำการทำนายถึงความเป็นไปในอนาคตได้
📌 Deep learning
การที่เครื่องจักรใช้หลายๆโครงข่ายที่แตกต่างกันในการทำความเข้าใจหรือเรียนรู้ข้อมูล โดยความซับซ้อนของโมเดลก็แปรผันตามจำนวนโครงข่าย ซึ่งเปรียบเทียบได้กับเซลล์ประสาทสมอง (Neural network) ของมนุษย์
ยัอนกลับมาถึงเรื่องการให้สิทธ์ของรัฐบาลผ่าน เราไม่ทิ้งกัน.com
มิวได้ศึกษาต่อจากข้อมูลของ Techsauce ซึ่งอ้างถึง คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในเบื้องหลังของผู้สร้างเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน โดยคุณสมคิดได้เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า
พอจะเข้าใจคำตอบคร่าวๆของผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กันใช่ไหมคะ เบื้องต้นมิวเข้าใจว่าเทคโนโลยีที่ใช้อาจจะยังไม่ได้ถูกดึงขึ้นมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพของ AI ที่ทำได้ ณ เวลานี้ และยังคงมีคำถามเดิมว่าสรุปแล้วใช้ระบบอะไรในการคัดกรองและระบบที่ใช้น่าเชื่อถือที่สุดแล้วหรือยัง
อย่างไรก็ตาม มิวมองว่าเทคโนโลยีต่างๆต้องใช้เวลาในการพัฒนา และเป็นการยากที่จะใช้ตรวจสอบข้อมูลของคนหมู่มาก แต่เมื่อครั้งนี้มีปัญหา เราจึงมีความหวังเรื่องการแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคตค่ะ
สิ่งที่น่าสนใจ คือ AI ได้เริ่มส่งผลกระทบไปในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น สื่อ, โทรคมนาคม, บริการทางการเงิน, การค้า, การแพทย์และสุขภาพ รวมไปถึงการศึกษา และจะส่งกระทบอย่างมากในอนาคตกันใกล้ การพยายามเรียนรู้และปรับตัวให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
ที่สำคัญคือ หลายๆเรื่องเราไม่สามารถที่จะเข้าใจและปรับในมุมกว้างได้ แต่เราเรียนรู้ที่จะปรับตัวเองให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ
มิวไม่ได้เก่ง แต่พยายามฝึกให้รู้มากยิ่งขึ้นค่ะ ❤️🙏🏽
โฆษณา