Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Kanji Daily ทบทวนคันจิ by PasSensei
•
ติดตาม
13 พ.ค. 2020 เวลา 05:06 • การศึกษา
สวัสดีอย่างเป็นทางการนะครับ*** เพจทบทวนคันจิ by PasSensei ครับ++
ขอเริ่มจากเทคนิคการจำคันจิ ทำไมลืมบ่อยจัง? ทำอย่างไรถึงจะจำได้?
จริง ๆ แล้วแต่ละคนก็มีวิธีแตกต่างกันไป เราเองก็ลองมาหลายวิธีเหมือนกัน
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้คิดว่าเป็นวิธีที่เป็นพื้นฐาน ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ..
"How To Remember Kanji"
ขอเกริ่นก่อนว่าการเรียนภาษาโดยทั่วไป จะประกอบด้วย 4 อย่างหลัก ๆ
ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน แบ่งคร่าว ๆ เป็น 2 อย่าง
> INOUT** (รับข้อมูลเข้า) : การฟัง และ การอ่าน
จะมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะการจำคันจิในระยะสั้น เช่น เพื่อสอบ
> OUTPUT** (ส่งข้อมูลออก) : การพูด และ การเขียน
จะมีประโยชน์ต่อการเรียนระยะยาว เนื่องจากต้องผ่านการประมวล
ทั้ง INPUT และ OUTPUT ต่างก็มีความสำคัญ หากต้องการเรียนภาษาในระดับที่สูงขึ้น การฝึกให้ครบจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้เรียนครับ..
มาถึงคำถามที่เจอบ่อย ทำไมลืมบ่อยจัง? เนื่องจากเป็นภาษาต่างประเทศ
และเราไม่ได้ใช้คันจิเป็นประจำ การลืมถือเป็นเรื่องปกติ ขอให้อย่าท้อ..
"อยากให้คิดว่าลืมได้ เราก็เอากลับมาได้ครับ"***
และเราจะใช้เวลาน้อยลงทุกครั้งที่ทบทวนของเดิมที่เคยเจอมาก่อน
พูดถึงความจำ หากอยากจำระยะยาว OUTPUT เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
"เรียนคันจิก็ต้องคัดคันจิครับ"*** เรื่องนี้เรา highly recommended เลย
มาเริ่มกันเลย..
First : find notebook for Kanji Handwriting
1. เตรียมสมุดคัดคันจิ
สมุดอย่างแรกต้องเป็นสมุดสำหรับคัดคันจิโดยเฉพาะ จะมีเส้นหรือไม่มีก็ได้
(เราแนะนำแบบมีเส้น เนื่องจากจะง่ายต่อการฝึกเขียน กะตำแหน่งเส้นได้ดี)
เมื่อเราหาสมุดที่จะคัดจริงจัง คัดอย่างเป็นระเบียบสวยงาม ไฟมันจะมา ^^
สมุดหาซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป 7-11 บางสาขาก็มี หาไม่ยากครับ
หากเริ่มใหม่ยังไม่คล่องมีโอกาสเขียนผิด ให้เริ่มด้วยดินสอก่อน
พอคล่องแล้ว ใช้ปากกาได้ ของเราที่ใช้มีคนถามมาเยอะเหมือนกัน**
เราใช้ Zebra Sarasa Clip 1.0 สำหรับช่องใหญ่ และ 0.7 สำหรับช่องเล็ก
ข้อดีของการใช้ปากกาหมึกคือ สามารถตวัดเส้นได้คล้ายพู่กันครับ
Second : start Handwriting (concentrated)
2. เริ่มคัดกันเลย (คัดอย่างมีสมาธิ)
เริ่มแรก คัดคันจิตัวที่เราต้องการตัวใหญ่ ๆ ใช้ 4 ช่องเล็กดังภาพประกอบครับ
ตามด้วย 音読み (おんよみ) เสียงจีน และ 訓読み (くんよみ) เสียงญี่ปุ่น
บางครั้งเราจะเรียกว่า อ่านตามเสียง และ อ่านตามความหมาย ตามลำดับ
เสียงอ่านแบบจีน จะนิยมเขียนด้วยตัว Katakana ครับ
ต่อไป ตามด้วยความหมายของตัวคันจิ
แล้วก็มาถึงการคัด เบื้องต้นแนะนำที่ 20 จบต่อตัว (แล้วแต่คน)
ส่วนตัวเราเองจะคัดอย่างน้อย 8 จบ อย่างมาก 20 ครับ ขึ้นกับความยาก
***ที่สำคัญ ทุกครั้งที่คัดต้องมีสติ ห้ามคัดแบบเครื่องถ่ายเอกสาร***
หากเราไม่มีสติ แม้จะคัดเป็น 1,000 ตัวก็จะได้ผลน้อย และจะท้อได้ง่าย
สุดท้าย เป็นการนำคันจิมาประกอบกันเป็นคำศัพท์ต่าง ๆ เขียนหลาย ๆ คำ
(ขอให้ท่องศัพท์เยอะ ๆ ด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นจาก internet
จาก app จาก flashcard จากข้อสอบ หรือจากตำราเรียนมาตรฐาน ได้หมด)
หรือติดตามเพจเรา ทบทวน Quiz คันจิรายวัน ด้วย เรามีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องให้ด้วยครับ (ขายของนิดนึง^^)
คำศัพท์แนะนำให้อ่านออกเสียงไปด้วย จะได้คุ้นว่าคำไหนใช้เสียงจีน/ญี่ปุ่น
ที่แนะนำแบบนี้เพราะคันจิไม่ตายตัวครับว่าคำไหนจะอ่านออกเสียงแบบไหน
> คันจิ + คันจิมักออกเสียงแบบจีน
> คันจิ + Hiragana มักออกเสียงแบบญี่ปุ่น (แต่ไม่เสมอไป)
บางครั้งก็เปลี่ยนเป็นเสียงพิเศษก็มี..
การที่เราได้เห็นตัวอย่างคำศัพท์เยอะที่สุด ได้อ่านออกเสียง จะช่วยให้จำได้
Third : make sentences by yourself or from internet
3. ใช้คันจิมาแต่งประโยค (น้อยคนที่จะทำ.. แต่ดีมากนะ)
แต่งประโยคด้วยไวยากรณ์ที่เราเรียนมา เป็นการฝึกไวยากรณ์ไปในตัว
หรือ search จาก internet เพื่อหาตัวอย่างที่คนญี่ปุ่นใช้จริง ๆ
(ง่ายที่สุด google หรือ app แปลภาษา แต่ต้องระวังเรื่องความถูกต้อง**)
ย้ำเสมอว่าเมื่อเราได้เห็นตัวอย่างเยอะ ได้ฝึกใช้จริง จะดีมากครับ++
ลองฝึกแต่งประโยคกันดูนะครับ จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
ตอนที่เราสอนนักเรียน นอกจากจะให้นักเรียนตอบความหมายของคันจิแล้ว
เราจะมี part ประโยคภาษาญี่ปุ่นด้วย แล้วมีช่องว่างให้เติมคันจิลงไป
นักเรียนจะได้เห็นตัวอย่างการใช้ประโยคไปในตัว
Forth : Bushu
4. บุชุ (Bushu)
หมายถึง ส่วนของคันจิที่เป็นตัวชี้ความหมายคร่าว ๆ ของอักษรนั้น
อาจอยู่ตำแหน่ง บน ล่าง ซ้าย ขวา ของคันจิได้ทั้งสิ้น ดังภาพ
หากเราเข้าใจ จะทำให้เมื่อเราเห็นคันจิที่ไม่เคยเจอจะคาดเดาความหมายได้
บุชุ สำหรับเราถือเป็นเรื่อง Advance คือ อยากแนะนำให้เรียนไประดับหนึ่ง
ก่อนแล้วจึงค่อยศึกษา (จะเปลือง mem เกินไป) แต่ก็เป็น Basic ที่สำคัญ
โดยเฉพาะต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นในระยะยาวครับ ^^
ส่งท้าย.. ก็จบแล้วสำหรับคำแนะนำ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
Cr. Beamsensei เป็นทั้งไอดอลและเป็นแรงบันดาลใจในการเรียนภาษาของเรามาก วิธีเขียนที่แนะนำก็ปรับมาจากที่ครูบีมแนะนำครับ ^^
แถม.. เราขอฝากสิ่งสำคัญในการเรียนภาษาของเราให้ด้วยไว้เป็นไอเดีย..
1. เป้าหมายการเรียนต้องชัด แต่ละคนเป้าหมายต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ศึกษาต่อ ทำงาน เน้นสื่อสาร ท่องเที่ยว หรืองานอดิเรก เช่น อ่านนิยาย ดูอนิเมะ ดูหนังฟังเพลง ฯลฯ ขอให้ keep เป้าหมายไว้ให้มั่น เราจะไม่เลิกกลางคัน**
2. การเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็น marathon not sprint** ค่อย ๆ เก็บไปทีละนิด แต่สม่ำเสมอ ดีกว่าหักโหมเรียนอย่างหนักแล้วเหนื่อย ท้อ เลิกเรียนครับ
(แต่ช่วงใกล้สอบ จำเป็นต้องโหมก็ต้องโหมนะ 555+)
อาจารย์ของเราให้ไว้ 1 คำ สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
"อย่าหยุดเรียนภาษานะ" เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
แล้วพบกันใหม่ใน content เพจคันจิรายวัน ครับ
พัฒนาภาษาไปด้วยกัน ^^
ติดตามเราไว้เหมือนได้ทบทวนคันจิวันละตัวนะ++
ยังไงฝากกดติดตามกันด้วยนะครับ เนื่องจาก content ของเราเป็นคลิป
อยากให้เห็นการคัดลำดับเส้น ต้องมีผู้ติดตามอย่างน้อย 100 คนขึ้นไป お願いします。
ขอบคุณมากครับ どうもありがとうございました。
บันทึก
10
3
16
10
3
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย