13 พ.ค. 2020 เวลา 06:58 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ปัญหาขยะอวกาศ
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากขยะอวกาศ
ขยะไม่ได้มีอยู่แค่บนโลก แต่ในอวกาศก็มีขยะที่เรียกว่า ขยะอวกาศ (space junk)
พวกมันคือ อุปกรณ์ที่โคจรรอบโลกแต่ใช้การไม่ได้แล้ว เช่น ดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งาน หรือ ชิ้นส่วนของจรวดที่หลุดออกจากจรวดส่วนหลัก รวมทั้งพวกเศษหินเศษทรายเล็กๆที่โคจรรอบโลกก็นับเป็นขยะอวกาศด้วย แต่ที่ภายในวงโคจรใกล้โลก วัตถุที่มาจากมนุษย์มีจำนวนมากกว่าเศษหินเศษทรายจากนอกโลกมาก
ในปัจจุบันขยะอวกาศนั้นมีจำนวนมากพอสมควร
ในปี 2009 มีขยะอวกาศที่ขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรอยู่ 300,000 ชิ้นภาย
ในระยะ 2000 กิโลเมตรเหนือผิวโลก(สถานีอวกาศนานาชาติโคจรอยู่ที่ความสูง 300-400 กิโลเมตรเหนือผิวโลก)
ภาพจำลองขยะอวกาศ (space junk)
ภาพจำลองขยะอวกาศ (space junk)
ภาพจำลองขยะอวกาศ (space junk)
ภาพจำลองขยะอวกาศ (space junk)
หาก ขยะอวกาศ (space junk) มีการซ้อนกับวงโคจรของยานอวกาศหรือดาวเทียมก็มีโอกาสที่จะเกิดการพุ่งเข้าชนกันด้วยความเร็วสูง ซึ่งการพุ่งชนนี้ส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ไม่น้อยทีเดียว
โฆษณา