14 พ.ค. 2020 เวลา 00:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ขุดแบบ Thailand only ...
บังเอิญได้กลับไปอ่านบทความเก่าๆเรื่อง ขุดแบบเสี่ยซาอุฯ vs. ขุดแบบอ่าวไทย ที่เขียนไว้สักพักหนึ่งแล้ว ตอนจบติดค้างเอานิดหนึ่ง ตรงที่ว่าเงื่อนไขทางธรณีวิทยาของแหล่งกักเก็บก๊าซของเรานั้นต่างจากของเสี่ยซาอุฯ เราจึงต้องมีเทคนิคพิเศษต่างๆที่เราต้องพัฒนาขึ้นมาเองจนเป็นเอกลักษณ์แบบ Thailand only
แล้วผมก็ค้างไว้ตรงนั้นไม่ได้เล่าต่อว่าเทคนิค Thailand only นั้น มันคืออะไรบ้าง ใครยังไม่ได้อ่าน หรือ อ่านแล้วลืม น่าจะกลับไปอ่านอีกรอบนะครับ จะได้ต่อเรื่องราวติด
เทคนิการขุด โจทย์หลักเลย ข้อแรก …
เพราะ “กระเปาะเราเล็กๆน้อยๆ กระจัดกระจาย” โจทย์คือเราต้อง “ขุดให้ได้หลุมเยอะๆ” “ขุดให้เร็วๆ” และ “ขุดให้ราคาถูกๆ”
เรื่องนี้ไปเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกว่า well architecture หรือ สถาปัตยกรรมของหลุม แล้วมันคืออะไรเจ้า well architecture เนี้ย พูดภาษาบ้านๆคือ โครงสร้างของหลุมนั่นแหละ
ขุดให้เยอะ ขุดให้เร็ว ขุดให้ถูก … พวกเราคิดว่าหน้าตาหลุมมันจะออกมาเป็นอย่างไรล่ะครับ หลุมมันก็ต้องเล็กๆอะดิ จริงไหม
ขนาดหลุมมาตราฐานโลกที่เขาใช้กันคือ มีท่อกรุ 3 ช่วง โดยใช้มาตราฐานทั่วๆไปประมาณนี้
ช่วงแรก เรียกว่า Surface casing คือ ท่อกรุที่ทำหน้าที่กันหน้าดินส่วนบน เป็นฐานให้ติดตั้ง BOP (Blow Out Preventor – ชุดวาว์ลปากหลุมเพื่อป้องกันการพลุ่งของความดันจากก้นหลุม) ท่อกรุชุดนี้โดยมากก็จะขนาด 13 3/8″ ตัวหลุมก็จะ 16″
ช่วงกลาง เรียกว่า Intermediate casing คือ ท่อกรุที่ทำหน้าที่กันชั้นหินอื่นๆส่วนกลางก่อนที่จะเข้าชั้นหินแหล่งกักเก็บ (reservoir rock) ท่อกรุชุดนี้โดยมากก็จะขนาด 9 5/8″ ตัวหลุมก็จะ 12 1/4″
ช่วงเข้าชั้นหินกักเก็บ เรียกว่า Production casing คือ ท่อกรุที่อยู่ในชั้นหินแหล่งกักเก็บ (reservoir rock) ท่อกรุชุดนี้โดยมากก็จะขนาด 7″ ตัวหลุมก็จะ 8 1/2″
แล้วก็จะมี ท่อผลิต (Production tubing) เสียบลงไปจากปากหลุมลงไปใน Production casing เพื่อผลิต ก๊าซ หรือ น้ำมัน อีกที ท่อผลิตที่ว่านี่ก็ขนาดต่างๆกันไป แล้วแต่ความดัน ความลึก ของแหล่งกักเก็บ และ อัตราการไหล ที่ต้องการ ฯลฯ ขนาดมาตราฐานก็ 5″ – 4 1/2″ – 4″ – 3 1/2″ – 2 7/8″
ดูรูปดีกว่า หน้าตาหลุมแบบการ์ตูนๆจะราวๆนี้ ...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา