14 พ.ค. 2020 เวลา 06:00 • ไลฟ์สไตล์
รวม 'มาตรการเยียวยา' ลูกหนี้ 'พักชำระ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แจกเงิน' จากทุกธนาคาร
อัพเดท! สถาบันการเงินแจกความอยู่รอด ผ่านมาตรการ "เยียวยาลูกหนี้" ทั้งการออกมาตรการพักชำระหนี้ แจกเงิน และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ของธนาคารต่างๆ ช่วง "โควิด-19"
1
รวม 'มาตรการเยียวยา' ลูกหนี้ 'พักชำระ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แจกเงิน' จากทุกธนาคาร
สถานการณ์ "โควิด-19" ส่งผลกระทบกับเงินในกระเป๋าของประชาชน และสภาพคล่องของธุรกิจต่างๆ สถาบันการเงินทั้งธนาคารของรัฐ ธนาคารพาณิชย์ ต่างออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้หลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยลดภาระ เพิ่มสภาพคล่อง และเสริมความแข็งแกร่งทั้งการเงินส่วนบุคคลและธุรกิจให้ผ่านพ้นไปได้ในสภาวะวิกฤติครั้งนี้
"กรุงเทพธุรกิจ" จำแนกมาตรการการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน ทุกแห่ง โดยแบ่งตามลักษณะการช่วยเหลือได้ ดังนี้ (อัพเดท ณ วันที่ 13 พ.ค. 63)
1. มาตรการแจกเงิน
ธนาคารกสิกรไทยออกมาตรการ "เบี้ยรบพิเศษสำหรับนักรบเสื้อกาวน์" แจกเงินสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ หมอ พยาบาล รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย หรือต้องเสี่ยงภัยในมิติต่างๆ จาก "โควิด-19" โดยนำร่องแจกบุคลากรการแพทย์ 5 จังหวัดภาคใต้ คนละ 4,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีขวัญในกำลังใจในการทำงาน และเพิ่มสภาพคล่อง
2. มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และดอกเบี้ย 0%
1
ธนาคารกสิกรไทย
ออกมาตรการ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงาน SME” ช่วยธุรกิจขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน ให้มีเงินทุนในการจ้างพนักงานให้มีรายได้และอยู่รอด ด้วยการสนับสนุนเงินกู้ ดอกเบี้ย 0% ไม่ต้องผ่อน 1 ปี ภายใต้วงเงิน 1,000 ล้านบาท
สินเชื่อกรุงไทย ต้านภัยโควิด-19 ให้สินเชื่อเพิ่ม ดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 2 คงที่ 2 ปี วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียม โอน รับ จ่าย 1 ปี ทั้งนี้ ลูกค้าบุคคลและผู้ประกอบการรายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร รถเช่า ร้านขายของฝากของที่ระลึก, ต้องถูกพักงานหรือเลิกจ้าง ถึงจะได้รับความช่วยเหลือทันที, กรณีอื่น ๆ แล้วแต่ทางธนาคารพิจารณา
ธนาคารออมสิน
- มาตรการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินสูงสุด 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระคืนสูงสุด 3 ปี โดยเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาผ่อนชำระคืนแล้วต้องไม่เกิน 65 ปี ใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์เป็นหลักประกัน
- มาตรการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) วงเงินสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระคืนสูงสุด 2 ปี ปลอดชำระเงินงวด 6 งวดแรก โดยเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาผ่อนชำระคืนแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี ไม่ต้องใช้หลักประกัน
- โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 วงเงินกู้สูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี (คงที่ 2 ปี) ระยะเวลาผ่อนชำระคืนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี สามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มาร่วมค้ำประกันได้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2563
วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งสามารถกู้เพื่อลงทุนได้รายละไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก 0% ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR-2% (ปัจจุบัน MRR= 6.875%) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี สนับสนุนสินเชื่อตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 ธันวาคม 2563
- มาตรการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มี อาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19)
ให้สินเชื่อฉุกเฉินวงเงินสูงสุด 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.10% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระคืนสูงสุด 2 ปี ปลอดชำระเงินงวด 6 งวดแรก โดยเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาผ่อนชำระคืนแล้วต้องไม่เกิน 70 ปี ไม่ต้องใช้หลักประกัน
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK มอบสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ
- สินเชื่อระยะยาว 7 ปี สำหรับลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วไป วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปี ในปีที่ 1-2 ใช้หมุนเวียนในกิจการ
- สินเชื่อระยะสั้น 2 ปี สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท วงเงินสูงสุด 20% ของยอดหนี้คงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2562 ฟรี ดอกเบี้ย 6 เดือน ใช้หมุนเวียนในกิจการ
- สินเชื่อระยะยาว 7 ปี สำหรับลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วไป วงเงินสูงสุด 100 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% ต่อปีในปีที่ 1-2 ใช้ซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ หรือต่อเติมปรับปรุงโรงงาน
- สินเชื่อส่งเสริมการจ้างงาน วงเงินสูงสุด 15 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 3% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
ให้สินเชื่อใหม่เพื่อเสริมสภาพคล่องคิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ นิติบุคคล 3% ต่อปี ใน 3 ปีแรก วงเงิน 1.0 ลบ. ต่อราย และบุคคลธรรมดา 5 % ต่อปีใน 3ปีแรก วงเงิน 0.5 ลบ. ต่อราย ระยะเวลาผ่อนนานสูงสุด 7 ปี
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการลูกค้ารายเดิม หรือลูกค้ารายใหม่ ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากโควิด 19 ให้สินเชื่ออัตรากำไรเริ่มต้น 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก เพื่อเสริมสภาพคล่องและลงทุน ทั้งนี้ การช่วยเหลือทางการเงินขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและดุลยพินิจตามที่ธนาคารกำหนด
โฆษณา