16 พ.ค. 2020 เวลา 04:56 • ธุรกิจ
ถ้ามีของ 1 อย่างมาให้ขาย คุณจะขายของสิ่งนั้นแข่งกับแบรนด์อื่นอย่างไร ถ้าของนั้นคือ "น้ำดื่ม"
ทั้งๆที่ก็เป็นแค่ "น้ำดื่ม" เหมือนกัน แต่ทำไมบางยี่ห้อขายดี บางยี่ห้อขายไม่ดี ถ้าจะบอกเป็นเพราะเรื่องคุณภาพ รสชาติ กลิ่น ก็คงจะไม่ใช่ประเด็นหลักมากนัก แล้วเหตุผลอะไร ที่ทำให้น้ำดื่ม สิงห์ คริสตัล เนสท์เล่ มีส่วนแบ่งในตลาดน้ำดื่มมากน้อยต่างกัน และยังมีสปริงเคิล ที่เป็นแบรนด์เล็ก แต่สามารถมาทำกำไรในตลาดนี้ได้ ผมจะมาเล่ากรณีศึกษาเรื่องนี้ให้ฟังกันครับ
- เริ่มต้นที่แบรนด์แรก "สิงห์" ที่มาพร้อมการตอกย้ำความเป็นน้ำดื่มสะอาด ด้วยสโลแกนที่ทุกคนเคยได้ยิน "น้ำดื่มสะอาด น้ำดื่มสิงห์" เรียกได้ว่าเป็นจุดขายมาตั้งแต่เริ่มต้น ควบคู่กับความแข็งแกร่งของระบบจัดจำหน่ายไปทางร้านอาหารมากมาย
แต่หลังจากส่วนแบ่งการตลาดเริ่มตกลง โดนแบรนด์อื่นขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ทำให้มีการเปลี่ยนกลยุทธ์โดยใช้คนรุ่นใหม่ที่เป็นผู้นำความคิดและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มาดึงดูดผู้บริโภคเช่น วี วิโอเล็ต, เจ้านาย จนสามารถกลับมาเป็นผู้นำได้อีกครั้ง
ขณะเดียวกันก็มีการร่วมพันธมิตรกับ Line ทำ แคมเปญ "SINGHA REWARDS ยิ่งดื่มยิ่งได้ แค่แอดไลน์ แล้วเติมพอยท์" เป็นการดึงผู้บริโภคยุคใหม่มามีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เกิดการเลือกซื้อแบรนด์สิงห์
*ล่าสุดก็ยังคงมีการร่วมโฆษณากับณเดชน์ที่กลับมาสะท้อนเรื่องการเป็นน้ำดื่มสะอาดอีกครั้ง อย่างที่เคยทำมาตั้งแต่เริ่มต้น
Singha Water
- แบรนด์ถัดมา "คริสตัล" ที่มาพร้อมจุดขายว่าเป็นน้ำดื่มรายแรกของไทยที่ได้มาตรฐาน "NSF จากสหรัฐอเมริกา" การนำเอาสถาบันวิจัยระดับโลกมาให้การรับรองมาตรฐานของสินค้านั้น จะเป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เพราะในยุคปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มมีความรู้ความเข้าใจและสามารถหาข้อมูลของสินค้านั้นๆได้ ซึ่งเป็นการตลาดที่ถูกใช้มานานแต่ก็ยังคงได้ผล
ถ้าถามว่า "คริสตัล" สะอาดกว่าแบรนด์อื่นๆที่ไม่ได้มาตรฐาน NSF ไหม ก็คงตอบไม่ได้เพราะทุกแบรนด์ก็ผ่านมาตรฐานจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งมาแล้ว แต่เนื่องจาก "สิงห์" ที่ได้ตอกย้ำความเป็นน้ำดื่มสะอาดมาโดยตลอดจนสามารถจับจุดนี้ไว้ได้ ดังนั้น "คริสตัล" จึงใช้มาตรฐาน NSF มาเป็นจุดขายที่แสดงถึงความสะอาด และน่าเชื่อถือแทน
และยังมีการสื่อสาร ที่ทำให้ผู้บริโภคจำจดแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น "คิดจะดื่มน้ำ ดื่มคริสตัล" หรือล่าสุด "สั่งน้ำดื่ม เจาะจงคริสตัล"
*มาตรฐาน NSF ก็มีแบรนด์อื่นๆที่ได้มาตรฐานนี้ด้วยนะ เช่น
- สิงห์
- ช้าง
- Purra
(แต่เนื่องจากเป็นจุดขายของ คริสตัล ไปแล้วทำให้พอได้ยินชื่อ NSF ก็คงนึกถึงแต่น้ำดื่ม คริสตัล เหมือนกับ น้ำดื่มสะอาด ก็จะนึกถึงแต่สิงห์)
Crytal
- ต่อมาเป็น "เนสท์เล่" เป็นแบรนด์ที่ใช้จุดแข็งความเป็น "Global Brand" มาสร้างความน่าเชื่อถือในคุณภาพสินค้า พร้อมทั้งมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นกลุ่ม "คุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่" เนื่องจากผู้บริโภคที่มีหน้าที่ตัดสินใจในการซื้อของกินของใช้ภายในบ้านเป็นกลุ่มคุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่ที่จะคอยเลือกสิ่งดีๆที่ให้ลูก
และแน่นอนกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มพ่อแม่ จึงได้เปิ้ลนาคร ศิลาชัยและครอบครัว มาเป็นตัวแทนคุณพ่อคุณแม่ถ่ายทอดแรงบันดาลใจให้ลูกๆ ผ่านช่องทางต่างๆเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค
เป็นน้ำดื่มรายแรกที่ทำตลาดน้ำดื่มขวดเล็ก เพื่อเจาะกลุ่มเด็กๆ และยังใช้ในการเสิร์ฟในงานอีเว้นท์ ต่างๆ รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องการน้ำดื่มขวดเล็กเพื่อดื่มทีเดียวหมด หรือ เก็บพกพาใส่กระเป๋าได้ง่าย
Nestle
- สุดท้ายเป็นแบรนด์เล็กๆที่สามารถมาทำให้ตลาดนี้ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของ 3 แบรนด์ที่กล่าวมาหันมาสนใจได้ คือ "สปริงเคิล" ที่ก่อนหน้านั้นเป็นผู้นำตลาดน้ำถัง แต่เกิดสถานการ์ณที่คู่แข่งรายใหญ่ 3 แบรนด์เข้ามาทำตลาดน้ำถังพร้อมๆกัน
ทำให้เกิดปัญหาที่ว่าบริษัทเล็กๆจะสามารถอยู่รอดได้ไง ทุ่มงบโฆษณาก็ไม่สามารถสู้กับรายใหญ่ที่มีทุนมากกว่าได้ จึงตัดสินใจลงทุนทำงานด้านดีไซน์ให้สปริงเคิลมีความเป็นน้ำถังระดับพรีเมียมรายเดียวในสายตาผู้บริโภค และการผลิตขวดน้ำดื่มด้วยความคิดสร้างสรรค์เพื่อเป็นการโฆษณาความเป็นพรีเมียมแบรนด์ในสายตาผู้บริโภค
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ สปริงเคิลอยู่รอดมาได้และทำไรได้อย่างมากมาย อีกทั้งน้ำขวดใสลายผลึกน้ำแข็งยังถูกส่งไปประกวดจนชนะรางวัลมากมาย และส่งผลให้ยอดขายน้ำขวดจากกลุ่มลูกค้าเฮ้าส์แบรนด์สั่งผลิตเพิ่มขึ้นเช่น กลุ่มร้านอาหาร โรงแรม สปา แสนสิริ เป็นต้น
Sprinkle
โฆษณา