16 พ.ค. 2020 เวลา 11:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 1)
สำหรับ PART นี้เราจะย้อนกลับมาที่เสา 1 ในจำนวน 8 เสาหลักของ TPM กันอีกครั้ง ก็คือเสา Focused Improvement หรือ FI Pillar
สำหรับ Basic เบื้องต้นของเสา FI ผู้อ่านสามารถติดตามบทความย้อนหลังได้ตาม Link ด้านล่าง
** Chapter 4 : Basic concept สำหรับเสา Focused Improvement (FI Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5eb0ce51344f963b0d2a7af2
เอาละ เริ่มเข้าเนื้อหาสำหรับ Chapter นี้กันเลยละกันเริ่มจากความลับของการค้นหาความสูญเสีย หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “ Loss “ มันคืออะไรกัน และ Loss กับ Loss-Cost Matrix มีความสัมพันธ์ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร วันนี้เราจะมารื้อทุกซอกทุกมุม ทุกความลับที่ไม่มีที่ไหนจะมาอธิบายฟรีๆแบบนี้แน่นอน
ค่าใช้จ่ายต่อ 1 หลักสูตรเกี่ยวกับ Basic พื้นฐานเสา FI น่าจะมีค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 7-8,000 บาทต่อท่าน ส่วนค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษามาอธิบายต่อวัน 6-8 ชม จะอยู่ที่ 17,000-30,000 บาทต่อวัน แต่สำหรับ เพจนักอุตสาหกรรมจะมาสรุปแบบกะชับทุกรายละเอียดให้จบภายใน 3 Part หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่นึกได้เริ่มจาก
1 บทบาทของเสา FI มีปัจจัยสำคัญหลักๆ อยู่ 3 หัวข้อคือ ค้นหา แจกจ่าย และปรับปรุง สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องของการค้นหา ถ้าเราผิดพลาดตั้งแต่กระบวนการค้นหาแล้ว ต่อให้เราแก้ไขปัญหาเก่งเท่าใด ก็คงไม่เกิดผลสำเร็จกับปัญหานั้นๆ
องค์ประกอบของการค้นหา Loss หลักๆ มีอะไรบ้าง
1) Loss definition หรือคำกำจัดความของความสูญเสียที่เกิดขึ้นในบริษัท โดยการกำหนดคำกำจัดความของ Loss นั้นจะต้องกำหนดให้เข้าใจ สามารถอ่านและจับใจความไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าใครจะอ่านก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น คำว่า Minor stoppage loss เมื่อเกิด loss ขึ้นมาพนักงานสามารถเข้าใจและลงข้อมูลได้ถูกต้องว่าการที่เครื่องจักรหยุดการทำงาน การหยุดแบบนี้จะเรียกว่าอะไรระหว่าง Breakdown หรือ Minor stopage ตัวที่จะชี้ชัดให้ลงข้อมูลหรือเข้าใจที่ถูกต้องคือ การกำหนดเงื่อนไข
ตัวอย่างเช่น
ถ้าหยุดไลน์การผลิต < หรือ = 15 นาทีให้เรียก Minor stoppage loss
แต่ถ้าหยุดไลน์มากกว่า > 15 นาทีขึ้นไปเรียกว่า Breakdown loss เป็นต้น
หรือตัวอย่างที่ 2
ถ้าหยุดไลน์การผลิต และซ่างมาซ่อมโดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เครื่องมือให้เรียกว่า Minor stopage loss แต่ถ้าหยุดไลน์และมีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ ให้เรียกว่า Breakdown loss
โดย Loss ที่จะนำมากำหนด Definition สามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบ
1 กำหนดจาก 16 Major loss
2 กำหนดจาก Loss อ้างอิงที่เกิดขึ้นในบริษัทจริงๆ บางหัวข้ออาจจะมีนอกเหนือจาก 16 Major loss ก็ได้ หรือ 16 Major loss ไม่จำเป็นต้องมีครบทุก Loss ก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของบริษัทนั้นๆ
2) Major loss ในที่นี้จะขอกล่าวในส่วนของ 16 Major loss ว่าแต่ละหัวข้อ loss มีความหมายอย่างไร
16 Major loss structure
โดย 16 Major loss ที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของการผลิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1 Loss ที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการทำงาน ประกอบด้วย 1 Major loss
2 Loss ที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของเครื่องจักรประกอบด้วย 7 Major losses
3 Loss ที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของคน ประกอบด้วย 5 Major losses
4 Loss ที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของต้นทุนประกอบด้วย 3 Major losses
เราจะมาเริ่มจากกลุ่ม Loss ที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน คือ
1. Shutdown (SD) Loss เป็น Loss ของการหยุดงาน หยุดกระบวนการผลิตตามแผน เพื่อการบำรุงรักษาซ่อมแซ่มเครื่องจักร ฉะนั้นการทำงานที่ดีจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี ว่าแผนในการหยุดควรจะหยุดเมื่อใดใช้เวลามากน้อยเท่าไหร่ เพื่อให้เกิด Loss หรือเวลาที่ทิ้งไปน้อยที่สุด และการหยุดไลน์การผลิตแต่ละครั้งจะต้องคุ่มค่าเสมอ สิ่งที่ควรมีคือ ทำแผน Shutdown plan ว่าในแต่ช่วงเวลาควรทำอะไรบ้างและมีการควบคุมเวลาให้ได้ตามแผนที่วางไว้
กลุ่มที่ 2 Loss เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร
1. Failure loss หรือ Breakdown loss เป็นสาเหตุใหญ่ของการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ในส่วนของ Failure ยังสามารถแบ่งได้อีก 2 แบบ(**) คือ Failure แบบกลไกหยุด และ Failure กลไกต่ำลง เอาเป็นว่าผมจะขยายความให้เลยละกัน ตอนนี้เริ่มมีความขี้เกียจในการเขียน Content แยก 🤣 ช่วงนี้หมดโปร 😆WFH เริ่มไม่ว่างซะแล้ว
** Failure แบบกลไกหยุดทำงาน ก็แปลตรงตัวเลยคือกลไกของเครื่องจักรเกิดการขัดข้องและหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง การหยุดอาจจะมาจากแค่กลไลเพียงจุดเดียวที่พังและส่งผลกระทบไปทุกจุดก็ได้
** Failure แบบกลไกต่ำลง ขยายความแบบง่ายๆ คือ เป็นความเสียหายเกิดขึ้นแบบปัญหาเรื้อรัง เครื่องจักรมีประสิทธิภาพไม่ถึง 100% กลไกหรือ Function ของเครื่องจักรมีปัญหาแต่ไม่ถึงกับหยุด และส่งผลต่อ Yield ต่อความเร็วเป็นต้น
Breakdown loss
2. Setup and adjust loss คือ loss จากการ Set ค่า parameter condition ช่วงก่อนการผลิต และการหยุดเครื่องจักรในระหว่างการผลิตเพื่อปรับเปลี่ยน Condition ให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น หรือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพต่างๆ เป็นต้น ยังไม่จบครับในส่วนของการ Setup ยังมีแยกออกมาเป็น Setup ภายใน และ Setup ภายนอกอีกมาดูกัน
** Setup ภายในได้แก่ Case นี้จะต้องหยุดเครื่องจักรและอุปกรณ์เท่านั้น เช่นแก้ไขแม่พิมพ์เครื่อง Press เป็นต้น
** Setup ภายนอก เป็นการแก้ไข Condition ในระหว่างการผลิต หรือระหว่างเครื่องจักรกำลังทำงานนั้นเอง โดยผ่านกิจกรรม Kaizen หรือใช้การแก้ไขโดยวิธี SMED ก็ได้วิธีนี้งานที่เหมาะที่สุดคืองานปั้มและ Die หรือ Auto machine ทั้งหลาย (SMED ย่อมาจาก Single minute exchange of die) คือวิธีการแยกงานภายในมาเป็นงานภายนอกเพื่อลดเวลาการ Setup เป้าหมายคือการเปลี่ยน Die แม่พิมพ์ต่างๆ ให้เหลือเลขแค่หลักเดียว (เวลา) ยาวเลย วันหลังจะมาอธิบายเพิ่มให้ฟัง
3. Cutting loss หรือ loss จากการเปลี่ยนใบมีด คือการหยุดเครื่องจักรเพื่อทำการเปลี่ยนใบมีด เนื่องจากมีดเจียร์ cutter ,bite หมดอายุการทำงาน
4. Startup loss คือ loss เกิดขึ้นเมื่อเริ่มการผลิต ในระหว่างที่เริ่มเดินเครื่องหรือช่วง Commissioning หรือ Vertical start เครื่องจักรใหม่ เกี่ยวข้องกับเสา EM ไว้จะมาอธิบาย ว่าจะทำอย่างไรให้ Vertical startup จาก 0-100% ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามแผน
Startup loss
5. Minor stoppage loss การที่เครื่องจักรหยุดกระทันหันเล็กๆ น้อยๆ หรือหยุดแบบชะงัก สาเหตุมาจากมีการติดขัดของชิ้นงาน มีการหลวมคอนของอุปกรณ์ เป็นต้นตามเงื่อนไขที่ได้อธิบายไว้ด้านบนมาก่อนหน้านี้
Minor stoppage loss
6. Speed loss คือ loss ที่เกิดจากความแตกต่างของ Actual speed กับ Speed ตาม Standard หรือ Cycle time เช่นการเดินเครื่องจักรโดยการลด Speed เพื่อรักษาคุณภาพสินค้า ปัญหาคือ การออกแบบเครื่องจักรช่วงแรก ทำการค้นหา Failure ไม่ดี ทำ FMEA ไม่ดี ส่งผลให้เครื่องจักรที่ออกแบบมาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มันน่าเศร้าโดยสิ้นดี และจะเจอเยอะมากในอุตสาหกรรมไทย แบบว่าออกแบบ แบบขอไปที และ Production กับ Maintenance เมิงไปแก้ไขเอาเอง ตอนนี้ตูขอลด cost การออกแบบก่อน หึหึ พูดและเจ็บใจ ขึ้นนะเนีย ...😡
ตัวอย่างปัญหา Speed loss จากการออกแบบไลน์การผลิตที่มี Bottleneck
7. Defect and rework loss คือ Loss จากของเสีย ซึ่ง Loss ตัวนี้มีผลกะทบสองอย่าง คือ ผลกระทบจากของที่ผลิตเสียไปเป็น loss ตัวที่ 1 ผลกระทบที่ 2 คือ Cost loss จากการ Rework หรือ ผลิตงานทดแทนใหม่ เงิบเลย ..ขายเท่าเดิมต้นทุน+1 หรือ+2,3 ดี กำไรมั้ยละ
ตัวอย่างการหยุดการผลิตเมื่อเจอปัญหา Defect
จากบทความใน Chapter นี้ ตอนแรกตั้งใจจะเขียนให้จบทั้ง 16 Major loss แต่บอกเลยว่าง่วงมาก หันดูเวลา 04.15 😱นั้นขอจบไว้ที่ 8 Major loss แรกก่อน ดูแล้วการออกแบบใช้งาน Loss Cost Matrix คงจะไม่จบแค่ 3 Part แล้วละครับว่ากันยาวๆ 4-5-6 ไปเลยละกัน ยังไงวันนี้ขอตัวไปก่อน (ทุก Post จะเขียนไว้ก่อนและเป็นการตั้งเวลา Post ไว้ บางคนมาอ่านตอน 10.00 หรือ 18.30 เดี๋ยวจะงงกันนะ)
ยังไงกำลังใจที่จะเขียนต่อก็มาจากกำลังใจทุกท่านนะครับ ช่วยติดตามและแชร์บทความให้ด้วยครับถ้าเห็นว่ามีประโยชน์
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. Chapter 4 : Basic concept สำหรับเสา Focused Improvement (FI Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5eb0ce51344f963b0d2a7af2
#นักอุตสาหกรรม. #TheSyndicate
โฆษณา