15 พ.ค. 2020 เวลา 08:56 • ปรัชญา
คนที่สูญเสียการรับฟังมี 2 ประเภท คือ
1. คนหูหนวก 2. คนใจบอด
คนหูหนวกนั้น แม้จะสูญเสียการรับฟังทางหู แต่หากใจยังเปิดกว้าง ก็ยังอาจเข้าใจในการสื่อสารด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่คนใจบอดนั้น แม้จะพูดกรอกหูทุกวันก็ไม่อาจเข้าใจอะไรได้ จัดเป็นมิจฉาทิฐิ การรับฟังผู้อื่นหรือการศึกษาเรียนรู้นั้นภาษาพระเรียกว่า ปรโตโฆสะ (ปะระโต = ผู้อื่น + โฆสะ = เสียง) เมื่อฟังมากๆ จะทำให้เรามีข้อมูล อันจะนำไปสู่การตัดสินใจอย่างรอบคอบ
คาถา “รวยปัญญา” มีอยู่ 4 อย่าง คือ
1. สุตะ หมายถึง การฟังอย่างรอบด้าน ไม่หูเบาฟังความข้างเดียวหรือรับแค่ข้อมูลชุดเดียว
2. จิตตะ หมายถึง การคิดใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างถ้วนถี่ ระมัดระวังในการคิด (โยนิโสมนสิการ)
3. ปุจฉา หมายถึง การสอบถามในประเด็นที่ตนยังไม่รู้ ให้เกิดความกระจ่าง ยอมโง่ 1 นาที ดีกว่าโง่ตลอดไป
4. ลิขิต หมายถึง การบันทึกข้อมูลไว้เพื่อการตรวจสอบ ทบทวนภายหลัง
จะเห็นได้ว่า การเปิดใจกว้างรับฟังเสียงผู้อื่นเป็นประการแรกและประการสำคัญของการพัฒนาปัญญา
โฆษณา