15 พ.ค. 2020 เวลา 11:18 • การศึกษา
อารมณ์ไม่ดี ของฟรีไม่เอา เป็นไปได้ไหม?
ถ้าอยู่ๆมีคนมาให้เงิน 100 บาทฟรีๆ
...
คุณจะเอาไหม
ไม่มีเงื่อนไขใดๆ
ไม่ใช่เงินโจร
.
ใครไม่เอาก็แปลกแล้วจริงไหมครับ?
10 บาทก็ยังได้
แต่ปัญหาคือ บางครั้งสมองเรากลับสั่งให้เราตัดสินใจแปลกๆได้อย่างไม่น่าเชื่อ
เพื่อเป็นการทดสอบ
เราลองมาเล่นเกมนี้กันดูดีกว่า
เกมนี้มีชื่อว่า “ultimatum game”
Rawpixel
วิธีเล่นก็ง่ายๆ
.
มีผู้เล่น 2 คน
ตัวคุณเอง กับอีกคน สมมติชื่อนายฉลาด
.
นายฉลาดได้รับเงินเป็นแบงค์ 100 จากผู้สร้างเกม ทั้งหมด 10 ใบ
.
โดยนายฉลาดจะต้องทำการแบ่งเงินให้คุณเท่าไรก็ได้จากเงินจำนวนนี้
.
ส่วนคุณ มีหน้าที่เลือกว่าจะรับเงินจำนวนที่นายฉลาดแบ่งให้หรือไม่ก็ได้
โดยที่
ถ้าคุณตัดสินใจรับเงิน ทั้งคู่ก็จะได้รับเงินไปเท่ากับจำนวนที่นายฉลาดเป็นคนแบ่ง
แต่ถ้าไม่.. ก็จะไม่มีใครได้เงินเลย
คุณเป็นคนตัดสินใจ
คุณจะรับเงินไหมถ้า...
นายฉลาดให้ตัวเอง 900 แบ่งให้คุณ 100
.
นายฉลาดให้ตัวเอง 800 แบ่งให้คุณ 200
.
นายฉลาดให้ตัวเอง 700 แบ่งให้คุณ 300
.
นายฉลาดให้ตัวเอง 600 แบ่งให้คุณ 400
.
นายฉลาดให้ตัวเอง 500 แบ่งให้คุณ 500
(คนดีจริงๆ)
หรือ
นายฉลาดให้ตัวเอง 400 แบ่งให้คุณ 600
(เอ๊ะ แต่ยังไม่เคยเห็นใครแบ่งเท่านี้นะ ไม่งั้นอาจจะกลายเป็นนายไม่ฉลาด..)
ถ้าคุณเป็นคนที่มีเหตุผล(หรือพยายามจะมี) คุณก็ต้องรับเงินทุกจำนวนที่นายฉลาดแบ่งมาใช่ไหม?
1
แต่ที่น่าสนใจคือ เกมนี้ได้มีการทดลองเล่นหลายครั้งในหลายประเทศ พบว่าคนรับมักปฏิเสธข้อเสนอที่ต่ำกว่า 30% ทั้งนี้ก็ขึ้นกับจำนวนเงินตั้งต้นด้วย ถ้าสูงหน่อย โอกาสปฏิเสธก็ลดลงครับ เพียงแต่ว่าตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเงินเท่าไร เราก็ควรเลือกที่จะรับมากกว่ามิใช่หรือ?
แต่สมองเราอาจไม่ได้บอกแบบนั้นเสมอไปครับ
นี่คือตัวอย่างความคิดที่อาจเกิดขึ้น หลังเราได้รับข้อเสนอที่ “ไม่แฟร์”
...
ไอ้เห็นแก่ตัว แกมันบ้าไปแล้ว
ทุเรศจริงๆ แบ่งแบบนี้มันไม่แฟร์เลย
ฉันจะต้องลงโทษแก ไม่ต้องได้มันทั้งคู่เนี่ยแหละ
...
เกิดอะไรขึ้นกับการตัดสินใจของสมอง?
Alan Sanfey นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองจาก university of arizona และทีม ได้ศึกษาการทำงานของสมอง ขณะที่ผู้เล่นเกมนี้กำลังตัดสินใจ โดยการใช้เทคนิค fMRI scans เพื่อดูว่าสมองส่วนไหนบ้างที่ทำงานในการตัดสินใจจะรับเงินหรือไม่
Cr. https://twitter.com/diseaseprimers/status/1155833856018112512
สิ่งที่น่าสนใจคือ
สมองส่วนที่เรียกว่า anterior insula (ซึ่งเป็นส่วนที่พบได้ในสมองสัตว์) ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์โกรธ เกลียด มีการทำงานมากขึ้นสัมพันธ์กับข้อเสนอที่ไม่แฟร์ ยิ่งไม่แฟร์ยิ่งทำงานมาก
.
แต่ในขณะเดียวกันสมองส่วนหน้าที่ชื่อว่า prefrontal cortex (เป็นส่วนที่สำคัญของมนุษย์ในการใช้เหตุผล) ก็ทำงานหนักเช่นกัน
ส่วนไหนชนะ เราก็จะตัดสินใจตามส่วนนั้น
ซึ่งในหลายๆครั้ง อารมณ์ชนะเหตุผล! (ไม่ค่อยน่าแปลกใจเลยเนอะ)
มันแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้เราจะใช้สมองในการคิดอยู่ก็ตาม ถ้าส่วนของอารมณ์เป็นตัวควบคุมหลัก เราก็ยังจะตัดสินใจโดยไม่มีประสิทธิภาพได้เสมอ
แล้วเราจะทำอย่างไรให้สมองส่วนเหตุผลชนะส่วนอารมณ์ได้
พวกเราสามารถทำได้ทุกคนครับ
โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า “สติ”
.
เมื่อเรากำลังใช้สมองส่วนอารมณ์มาก ให้ตั้งสติครับ รับรู้อารมณ์ของตัวเอง ถามตัวเองว่า ตอนนี้เรากำลังรู้สึกยังไง โกรธ? โมโห? เศร้า? และอารมณ์เหล่านั้นมีที่มาจากอะไร
.
การรับรู้ความคิดและอารมณ์เป็นขั้นตอนสำคัญมากขั้นหนึ่งในการตัดสินใจ และนอกจากนั้น ถ้าเราสามารถผ่อนคลายให้ทุกอย่างช้าลงได้ เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยการใช้สมองส่วนเหตุผลเป็นหลัก
จะทำอย่างไรในการตัดสินใจครั้งหน้า?
.
ลองถามตัวเองครับว่า ตอนนี้เรามี “สติ” ดีหรือยัง?
ถ้าตอนนี้ยังมีสติดีอยู่ อย่าลืมกดติดตามด้วยนะครับ :)
โฆษณา