16 พ.ค. 2020 เวลา 02:49 • บันเทิง
แนะแนวเส้นทางนักเขียนมือใหม่ 🍓
เทคนิคง่ายๆ เพื่อบูสต์บทความของคุณให้
น่าสนใจมากยิ่งขึ้น (ตอนที่ 2)
เมื่อคุณมีหัวข้อบทความ และมีความสามารถในการเขียนบทความสักเรื่องแล้ว คุณจะก้าวสู่อีกขั้นตอนในการเขียน คือ เขียนอย่างไรให้น่าอ่านและมีความโดดเด่น เปรียบเหมือนคุณมีเพชรก้อนโตสักก้อนหนึ่ง คำถามคือ คุณจะทำมันกลายเป็นเพชรที่แวววาวและทรงคุณค่าได้อย่างไร
ทางเลือก และเทคนิคการเขียนมากมาย แต่ทางไหนที่เหมาะสำหรับคุณ?
บทความนี้ ผมจะรวบรวมเทคนิคการเขียนของผมมาแบ่งปัน โดยแบ่งเป็นข้อๆ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจของทุกคน ดังนี้นะครับ 💐
1. หัวข้อเรื่องควรมีความชัดเจน ตรงประเด็น
สั้น กระชับ กรณีเป็นข้อความภาษาอังกฤษควร
ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่
2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่าน เช่น ทักทาย แนะนำตัวกับผู้อ่าน นี่คือบทความของเรา เพราะงั้นอยาก
พูดอะไรก็พูดเลย !
3. การใช้ภาษา กรณีเป็นบทความเชิงวิชาการ ควรใช้ภาษาเขียน ถ้าเป็นบทความเชิงสร้างสรรค์อาจใช้เป็นภาษาพูดได้ ควรเลือกใช้ให้เข้ากับบทความของคุณ
4. อีโมชั่น คือ ตัวการ์ตูนน่ารัก เหมาะสำหรับบทความสร้างความบันเทิง ใส่มันประกอบบทความของคุณ เพื่อไม่ให้บทความมีแต่ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว แบบนี้ไง! 😗😙😚
5. เครื่องหมายวรรคตอน...ถึงเวลาต้องรื้อฟื้น
ความรู้ภาษาไทยแล้วล่ะ ถ้าคุณอยากมีบทความ
ที่สละสลวย เครื่องหมายเหล่านี้ช่วยคุณได้
เช่น ( ) , " " , ? , !
ก้าวแรกย่อมยากเสมอ จงเชื่อมั่นในตัวเอง
6. คำไม่สุภาพ กรณีเป็นบทความเชิงสนทนา หรือบทละคร ที่มีคำหยาบควรใช้คำเลี่ยง หรือเซ็นเซอร์ไว้ก็ได้ครับ เช่น เxี้ย 😨 เป็นต้น
7. การเว้นช่องไฟ การอ่านบทความในมือถือ
ที่มีพื้นที่แสดงตัวอักษรต่อบรรทัดจำกัด การเว้นช่องไฟเป็นระยะ ช่วยให้อ่านบทความได้ง่ายขึ้น กรณีมีข้อความที่ยาว.............
......การขึ้นย่อหน้าใหม่แบบนี้ช่วยได้ครับ 😉
เส้นคั่นด้านบน 🔼 สามารถใช้เพื่อขึ้นหัวข้อใหม่
แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป
8. รูปประกอบ รูปแรกที่ใส่ในบทความจะขึ้นแสดงแนะนำบทความของคุณ อย่าลืมว่ารูปที่น่าสนใจ มักดึงดูดผู้อ่านเสมอ
9. การเรียบเรียงประโยค ควรอ่านเข้าใจง่าย
ไม่วกไปวนมา ผู้เขียนควรอ่านทวนประโยคดูก่อน ถ้าคุณไม่เข้าใจ คนอื่นก็คงไม่เข้าใจเหมือนกัน
10. ตรวจทานและแก้ไข แม้ข้อความของคุณจะถูกโพสต์ไปแล้ว คุณสามารถแก้ไขมันได้ตลอดเวลา เมื่อคุณมีฝีมือการเขียนที่เก่งขึ้น ลองกลับไปปรับปรุงบทความเก่าๆของคุณดูสิ 🖊️
11. สไตล์ที่แตกต่าง ลองจินตนาการว่า นี่คือบทความที่คุณต้องพูดหน้าชั้นเรียนดูสิ คุณคือ ผู้ประกาศข่าวจอมสุขุม หรือคุณเป็นเดี่ยวไมโครโฟนจอมตลก ใส่อารมณ์และตัวตนของ
คุณลงไปในบทความให้ผู้อ่านได้ลองสัมผัสมัน
เป็นตัวของตัวเอง แตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์
12. รับฟังข้อเสนอแนะ ยอมรับความคิดเห็นของ
ผู้อ่าน แม้คุณจะไม่เห็นด้วย ลองนำข้อเสนอมาปรับปรุง เพื่อให้บทความของคุณดียิ่งขึ้นไปอีก
13. บทความที่แปลจากภาษาต่างประเทศ แม้จะมีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยแปลได้ แต่ควรตรวจสอบความถูกต้องของบทความ เพราะอาจมีบางประโยคที่แปลออกมาผิดเพี้ยน
" พิถีพิถัน " คือ หลักสำคัญในการเขียนบทความของผม สังเกตลายละเอียด ปรับแต่งจุดเล็กๆ
และตรวจทานซ้ำ เพื่อให้บทความนี้กลายเป็นเพชรเม็ดงาม " อ้อ !! แล้วอย่าลืมสลักชื่อของคุณ
ลงบนเพชรด้วยล่ะ "
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ
BABY TIGER 🙃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา