Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ป
ปลุกยักษ์เพื่อตั้งเป้ากับเหล่าวัยทีน
•
ติดตาม
16 พ.ค. 2020 เวลา 07:37 • ครอบครัว & เด็ก
GRIT(ความเพียร )และ Basis for success(อิทธิบาท4)
เมื่อโพสต์ที่แล้วเราพูดถึง GRIT หรือความเพียร ของAngela Duckworth ว่า เด็กที่ประสบความสำเร็จไม่ได้มาจากIQ หรือพรสวรรค์ แต่มาจากความเพียร และความพยายาม ซึ่งสามารถปลูกฝังได้ด้วย Mindset
ความจริงแล้ว เราซึมซับกับเรื่องของความเพียร มานานมากกว่าการรับรู้เรื่อง Mindset มาก่อนเสียอีก 🌺🌺
นั่นคือหลักธรรมปฏิบัติ หมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่เรียนกันมาตั้งแต่ชั้นประถม ในเรื่องของ
“อิทธิบาท 4 “ คำนี้เป็นศัพท์ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ
หลายท่านต้องร้อง อ๋อ จำได้แล้ว
แต่หลักธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้าอาจไม่ทันสมัยเท่าเหล่านักจิตวิทยาที่ใช้คำว่า Passion/แรงบันดาลใจ Grit/ความเพียร เอาเป็นว่ามาลองดูกันว่า หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็นำมาใช้สอนเด็กให้มีเป้าหมายและเดินตามเป้าหมายนั้น
ได้เช่นกัน
อิทธิบาท 4 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)ท่านได้ให้ศัพท์ภาษาอังกฤษไว้ว่า path of accomplishment; basis for success
“อิทธิ” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Power แปลว่า พลัง “บาท” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Base
หมายถึง พื้นฐานหรือฐาน นั่นเอง
อิทธิบาท 4 เมื่อรวมคำว่า อิทธิและบาท ความหมายที่แท้จริงของมันก็คือ
ธรรมะที่ทำให้เกิดพลัง 4 ประการ หรือ 4Base of Power
ไม่ใช่พลังงานทางร่างกาย
แต่เป็นพลังภายในของใจ
ในการต่อสู้กับศัตรูทางใจ นั่นเอง พอจะมีเค้ากับ หลักจิตวิทยาเรื่อง Growth Mindset และ Fixed Mindset บ้างแล้ว
เราลองมากระจาย 4 ข้อธรรมในอิทธิบาท 4 ก็จะได้ดังนี้
🔴ฉันทะหรือ Passion การมีใจรักศรัทธาในสิ่งที่ทำซึ่งมีองค์ประกอบคือ
องค์ประกอบของฉันทะ
1. ความยินดีในสิ่งที่ทำ นั้นๆ
2. ความพอใจในสิ่งที่ทำ นั้นๆ
3. ความเต็มใจในขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ
4. ความมีใจรักในขณะที่ทำสิ่งนั้นๆ
5. ความอยากหรือฝักใฝ่ที่จะทำสิ่งนั้นๆให้บรรลุถึงจุดหมาย
🔴วิริยะ Grit หรือความเพียร ความพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ความมานะบากบั่น ที่จะทำงานหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีที่สุด ไม่ท้อถอยเมื่อเกิดอุปสรรค ด้วยการมองปัญหาหรืออุปสรรคที่ขัดขวางต่อการทำสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องเอาชนะให้สำเร็จ
เพราะว่างานทุกชนิดมักจะง่ายตอนคิด แต่มักจะติดตอนทำจึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามไปเรื่อยๆจนกว่าจะสำเร็จ
ซึ่งวิริยะตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้ายังมีองค์ประกอบไปด้วย
องค์ประกอบของวิริยะ
1. ความเพียรในการทำสิ่งนั้นๆในทางที่ถูกตามเหตุ และผล ภายใต้พื้นฐานตามหลักคุณงามความดี
2. การมีความกล้า และความแน่วแน่ที่จะทำในสิ่งนั้นๆ
3. การไม่ละทิ้งซึ่งการงานหรือสิ่งที่กำลังทำอยู่
4. การความอุตสาหะ และอดทนต่อความยากลำบากอย่างเป็นนิจ
🔴จิตตะ Focus จิตตะ เป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆคือ การเอาใจใส่ และให้ใจจดจ่อ อยู่กับสิ่งที่ทำ มีสมาธิมั่นคงอยู่กับงาน ไม่ปล่อยปละละเลยในงานที่ทำ และทำงานด้วยความตั้งใจที่จะให้งานนั้นสำเร็จ
องค์ประกอบของจิตตะ
1. มีความสนใจในสิ่งที่จะทำนั้นอย่างจริงจัง
2. การเอาใจใส่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ
3. การมีใจที่เป็นสมาธิในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ
4. การที่มีจิตใจมุ่งมั่น และแน่วแน่ในขณะที่กระทำสิ่งนั้นๆ
1
จิตตะ จดจ่ออยู่กับงานที่มำ
🔴วิมังสา monitoring หรือบางตำราบอกว่า(Retrospect)
คือ การสอบสวน ไตร่ตรอง และพิจารณาตรวจสอบในสิ่งที่กำลังทำนั้นๆ รวมถึงการรู้จักค้นคว้า ทดลอง คิดค้น และรู้จักคิดแก้ไขปรับปรุงงาน ให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ
ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำสิ่งใดๆ ย่อมเกิดจากปัจจัยจากข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้วิมังสา คือ การคิด วิเคราะห์ อย่างมีเหตุ และผลย่อมทำให้เข้าใจต่อกระบวนการ วิธีการ และแนวทางในการดำเนินงานที่ถูกต้อง เหมาะสม รวมถึงย่อมรู้จักแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ดี
องค์ประกอบของวิมังสา
1. การใช้ปัญญาคิด วิเคราะห์ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติหรือระหว่างปฏิบัติในสิ่งนั้นๆ
3. การใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ในสิ่งนั้นๆ ตามคันรองคลองธรรม
2. การแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่อง และพัฒนาในสิ่งนั้นๆด้วยปัญญา
พอเราเอาข้อธรรมจากอิทธิบาท 4 มาแปลงเป็นศัพท์ในภาษาอังกฤษ มันดูน่าสนใจมากขึ้นทันที นี่คือหลักธรรมะที่เรียนมากันตั้งแต่ระดับประถม
พระพุทธศาสนาไม่มีวันเชยจริงๆ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ท่านได้แปลความธรรมข้อนี้เป็นภาษาอังกฤษดังนี้
213] อิทธิบาท 4 (คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย - path of accomplishment; basis for success)
1. ฉันทะ (ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป - will; aspiration)
2. วิริยะ (ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย - energy; effort; exertion)
3. จิตตะ (ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป - thoughtfulness; active thought)
4. วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น - investigation; examination; reasoning; testing)
3
ท่านพุทธทาส ท่านได้เคยให้ข้อคิดข้อธรรมไว้ว่า”เพราะมีอทธิบาทไม่ครบทั้ง 4 ข้อการงานจึงขาดๆวิ่นๆ”
และได้แต่งกลอนคำสอนในเรื่องนี้ไว้ว่า
การงานเป็นสิ่งที่น่ารัก
อันที่จริง การงาน นั้นน่ารัก
เมื่อยังไม่ รู้จัก ก็อางขนาง (คือไม่ชอบ)
ไม่รู้จัก ก็ปล่อยปละ แล้วละวาง
บ้างร้องคราง เมื่อรอหน้า ว่าเบื่อจริง
แต่ที่แท้ การงาน นั้นน่ารัก
สอนให้คน รู้จัก ไปทุกสิ่ง
ถ้ายิ่งทำ ยิ่งฉลาด ไม่พลาดยิง
ได้ตรงดิ่ง สิ่งอุกฤษฏ์ คือจิตเจริญ
การงานนี้ ดูให้ดี มันน่ารัก
เป็นการชัก ธรรมะมา น่าสรรเสริญ
คือมีสติ ฉันทะ ทมะเกิน
ครั้นหยุดเพลิน จิตก็วาง ทางนิพพาน.
4
วันนี้พามาใกล้ตัวมากๆเลยค่ะ เรื่องของความเพียรหรือ GRIT อยู่ในพระพุทธศาสนาของเรานี่เอง
ลองถามลูกๆดูนะคะ
ไม่แน่ใจสมัยนี้เขาใช้สอนเด็กชั้นปีไหน มาปรับใช้สอนเขาคู่กับหลักการสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
13 บันทึก
6
53
13
6
53
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย