16 พ.ค. 2020 เวลา 15:16 • ประวัติศาสตร์
สิ่งประดิษฐ์สุดล้ำนำหน้ายุคจากโบราณกาล อย่างที่สอง 🧐
"ไฟนรกโรมัน" หรืออีกชื่อหนึ่ง "Greek Fire" ไฟนาปาล์มที่มีมาก่อนระเบิดนาปาล์มนานนับพันปี 😮
ภาพประวัติการรบระหว่างกองเรือของอาณาจักรโรมันตะวันออก(ไบเซนไทน์) และกองทัพอาหรับจากรัฐอิสลามอุมัยยะฮ์
ย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. 670 ขณะที่รัฐอิสลามอุมัยยะฮ์ แผ่ขยายอิทธิพลกลืนกินอาณาจักรเปอร์เชียและดินแดนของอาณาจักรไบเซนไทน์(โรมันตะวันออก)
เป้าหมายถัดไปก็คือกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมืองหลวงของอาณาจักรไบเซนไทน์
แผนที่แสดงพื้นที่ของ 3 อาณาจักรในช่วงก่อนที่รัฐอิสลามอุมัยยะฮ์จะแผ่อิทธิพลกลืนกินจักรวรรดิเปอร์เซีย
กรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นเป็นเมืองติดทะเลที่มีกำแพงเมืองป้องกันรอบด้านอย่างแข็งแกร่ง
แต่กองทัพอาหรับก็หาได้พรั่นพรึงต่อกำแพงหินสุดแกร่งเหล่านั้น เพราะสิ่งที่จะสร้างความพรั่นพรึงนั้นกลับเป็นอาวุธลับของกองเรือไบเซนไทน์ต่างหาก
ภาพวาดของกรุงคอนสแตนติโนเปิล
ในปี ค.ศ. 674 กองเรืออาหรับที่กำลังเข้าตีเมืองคอนสแตนติโนเปิลได้พบกับกองเรือไบเซนไทน์และ "Greek Fire" เป็นครั้งแรก
เรือเหล่านี้ติดตั้งอุปกรณ์พ่นไฟ ซึ่งไม่ใช่ไฟธรรมดาเพราะมันคือพวยไฟนรกที่ไม่เพียงแต่พุ่งเผาตัวเรือเท่านั้น
เครื่องพ่นไฟบนเรือ อาวุธลับของกองเรือไบเซนไทน์
ไฟเหล่านี้มันจะเกาะติดไหม้ตัวเรือชุดเกราะและเสื้อผ้าของเหล่าทหาร แม้แต่หยดลงผืนน้ำก็ยังไหม้ราวกับไม่มีวันดับ กระโดดลงน้ำก็ยังหนีไม่พ้นไฟนรกเหล่านี้
ที่จริงแล้วไฟนี้คือน้ำมันสูตรพิเศษที่ถูกต้มให้ร้อนจนเดือด ก่อนถูกจุดให้ติดไฟพร้อมกับฉีดใส่เรือศัตรู น้ำมันสูตรพิเศษนี้จะไม่สามารถดับได้ด้วยน้ำแม้ลอยอยู่บนผิวน้ำก็ยังไหม้ต่อไปจนกว่าเชื้อเพลิงหมด
ภาพวาดยุทธนาวีทางทะเลนอกกรุงคอนสแตนติโนเปิล
เมื่อเจอกับไฟที่ดับไม่ได้ ผู้คนล้มตาย ควันไฟ คละคลุ้งปนกลิ่นเนื้อที่ถูกย่างสด ความโกลาหลกระจายไปทั่วกองเรือ และเรือที่ทำจากไม้นั้นก็เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี
1
กองเรืออาหรับต้องพบกับความพินาศย่อยยับ ทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิลรอดพ้นการถูกยึดครอง และหลังจากสู้รบยืดเยื้อกว่า 4 ปีกองทัพอาหรับก็เป็นฝ่ายปราชัยและล่าถอยกลับไป
ลองนึกภาพฉาก The Battle of Blackwater ในซีรี่ย์ Game of Thrones นั่นแหละครับน่าจะใกล้เคียง
The Battle of Blackwater
การใช้ไฟในการทำสงครามนั้นมีบันทึกว่ามีการใช้มาตั้งแต่ 900 ปีก่อนคริสตกาลในการรบแถบเมดิเตอเรเนียน
ซึ่งได้มีการคิดค้นสูตรผสมน้ำมันเพื่อทำเครื่องยิงลูกบอลไฟที่เมื่อตกกระทบเป้าหมายก็จะการแตกกระจายสะเก็ดไฟลุกลามเป็นบริเวณกว้าง โดยเชื้อไฟข้างในเป็นส่วนผสมระหว่างซัลเฟอร์ น้ำมันดิบ และบิทูเมน
ภาพการรบในสมัยยุคกลาง
สำหรับทางตะวันออกศึกเซ็กเพ็กใน 3 ก๊กก็เป็นตัวอย่างของการใช้ไฟในการทำลายกองเรือข้าศึกอย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกเซ็กเพ็กที่ทำให้โจโฉต้องหนีตายอย่างทุลักทุเล
แล้วเครื่องพ่นไฟของกองเรือไบเซนไทน์นี้ทำงานยังไง??
การนำไฟมาใช้ในกองทัพไบเซนไทน์นั้นครั้งแรกถูกเสนอโดยนักปรัชญาจากกรุงเอเธนส์นาม Proclus ที่แนะนำให้ใช้ซัลเฟอร์ในการเผากองเรือของนายพล Vitalian ที่เข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 515
แต่สำหรับ Greek Fire นั้นถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 652 โดย Latinized Callinicus สถาปนิกและนักเคมีซึ่งหนีมาจากเมืองเฮลิโอโพลิสในอียิปต์มายังคอนสแตนติโนเปิลหลังจากที่ถูกกองทัพอาหรับเข้าโจมตีและที่นี่เขาได้คิดสูตรทำ Greek fire ขึ้นมา
หลักการทำงานของเครื่องพ่นไฟบนกองเรือไบเซนไทน์
สำหรับเครื่องพ่นไฟนี้ใช้หม้อปิดสนิทซึ่งใส่น้ำมันสูตรพิเศษและทำการสูบลมอัดอากาศเข้าไปเพื่อสร้างแรงดัน
1
และหม้อต้มน้ำมันนี้จะถูกเผาจนน้ำมันร้อนระอุและเมื่อเปิดวาล์ว น้ำมันที่เดือดพล่านนี้ก็จะพุ่งออกไปตามท่อผ่านหัวพ่นน้ำมันที่มีคบไฟจุดอยู่ด้านหน้า
น้ำมันที่พุ่งออกไปด้วยแรงดันเหมือนปืนฉีดน้ำนี้ก็จะกลายเป็นพวยไฟมรณะพุ่งเข้าหาเรือศัตรู
เมื่อมันพุ่งเข้ามาแล้วก็มีแต่หายนะและความตายรออยู่
ทั้งนี้ความลับของ Greek Fire นี้อยู่ที่สูตรผสมน้ำมันที่ใช้ ซึ่งสุดท้ายได้สูญหายไปกับกาลเวลาและอาณาจักรไบเซนไทน์
จักรพรรดิโรมานอสที่ 7 เคยกล่าวไว้ว่า 3 สิ่งที่มิอาจให้ตกไปถึงมือศัตรูได้ คือ
1. เครื่องราชกกุธภัณฑ์ขององค์จักรพรรดิ
2. เจ้าหญิงแห่งไบเซนไทน์
3. Greek Fire
Greek Fire ในรูปแบบของระเบิดมือที่ใช้ปาใส่เป้าหมายซึ่งเมื่อแตกก็จะเกิดไฟลุกท่วมเหมือนระเบิดเพลิง
ดังนั้นสูตรการทำ Greek Fire จึงถือเป็นความลับสุดยอดของอาณาจักรผู้แพร่งพรายความลับมีโทษสถานเดียวคือความตาย แต่ด้วยที่มันลึกลับมากสุดท้ายจึงได้สาบสูญไปในที่สุด
2
ศัตรูของไบเซนไทน์เองก็พยายามจะเลียนแบบการทำน้ำมัน Greek Fire แต่ก็ไม่สำเร็จแม้ว่าจะสามารถยึดตัวอย่างน้ำมันได้ก็ตาม
1
คาดกันว่าส่วนผสมของน้ำมัน Greek Fire น่าจะเป็นส่วนผสมของหลายอย่างทั้งน้ำมันดิบ โพแทสเซียมไนเตรท, Quick Lime โดยอาวุธในปัจจุบันที่ใกล้เคียงกับ Greek Fire มากสุดคงไม่พ้นระเบิดนาปาล์ม
มีบันทึกการใช้ Greek Fire ในการรบครั้งสุดท้ายก็โดยกองทัพนักรบครูเสดในตอนที่เข้าโจมตีเมืองคอนสแตนติโนเปิลในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 ซึ่งชื่อ Greek Fire นี้ก็ถูกเรียกโดยนักรบครูเสดนั่นเอง
1
เป็นเวลานับพันปีก่อนที่เราจะมีระเบิดนาปาล์ม แต่ที่อาณาจักรโรมันโบราณได้สร้างสิ่งที่น่าสะพรึงแบบเดียวกันขึ้นมาก่อนแล้ว 😔
* ระเบิดนาปาล์ม Greek Fire ในยุคปัจจุบัน *
อานุภาพของระเบิดนาปาล์ม
นิยามหนึ่งของระเบิดนาปาล์มคือ "tactical weapon used to remove vegetative cover and instill fear" กวาดป่าให้เรียบและฝังไว้ซึ่งความสะพรึง
เป็นการผสมกันระหว่างดินระเบิดและน้ำมันเชื้อเพลิงในรูปของเจลที่เกาะติดที่เป้าหมายได้ดี เปลือกระเบิดชั้นนอกง่ายต่อการระเบิดและเมื่อระเบิดก็จะทำให้เจลเชื้อเพลิงด้านในกระจายออกทั่วพื้นที่เกิดเป็นทะเลเพลิง
ทำให้ระเบิดนาปาล์มเมื่อระเบิดใส่เป้าหมายแล้วจะกระจายตัวเผาไหม้ต่ออีกเป็นบริเวณกว้างยาวนานสร้างความร้อนสูงสุดได้ถึง 2,760 องศาเซลเซียสทีเดียว 😱
สภาพเมืองเดรสเดนหลังถูกระเบิดนาปาล์มถล่ม
ระเบิดนาปาล์มถูกใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งในการโจมตีทิ้งระเบิดใส่ญี่ปุ่นและเยอรมัน
ระเบิดนาปาล์มแม้ไม่ได้ทำลายบังเกอร์แต่ความร้อนก็จะฆ่าทหารที่อยู่ข้างในได้
ลองนึกดูว่าถ้าคุณต้องอยู่ในบังเกอร์ที่โดนระเบิดนาปาล์มแล้วไม่ตายจากการระเบิดครั้งแรกนั้นต้องทรมารขนาดไหนก่อนตาย 😣
ระเบิดนาปาล์มถูกใช้มากในช่วงสงคราวเวียดนามโดยกองทัพสหรัฐฯ จนเป็นที่มาของภาพ Naplam Girl อันโด่งดั่งนี้
จนมาในสงครามเวียดนาม ระเบิดนาปาล์มถูกใช้ในยุทธการทิ้งระเบิดปูพรมอย่างมากมายเพื่อเผาป่าให้เลี่ยนเตียน เพราะป่าคือศัตรูของทหารอเมริกัน
แต่เพราะระเบิดนาปาล์มถือเป็นอาวุธที่มีผลกระทบข้างเคียงในวงกว้างต่อพลเรือนมากเกิดไป ในที่สุดระเบิดนาปาล์มจึงถูกห้ามใช้กับเป้าหมายที่ไม่ใช่เป้าหมายทางทหาร
สภาพของทหารอียิปที่ได้รับบาดเจ็บจากระเบิดนาปาล์มในสงคราม อาหรับ-อิสราเอล ซึ่งแน่นอนว่าเขาคงต้องทนทุกข์กับบาดแผลไปตลอดชีวิตที่เหลือ
อีกหนึ่งการประดิษฐ์คิดค้นเพื่อการประหัตประหารกันของมนุษย์และยังคงไม่หยุดแค่นี้ ปัจจุบันยังมีระเบิดฟอสฟอรัสขาวและพวกตระกูล Thermobaric bomb ให้เลือกใช้สังหารชีวิตผู้คนอีกมากมายบนโลก 😔

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา