17 พ.ค. 2020 เวลา 11:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 3)
จาก Part ที่ 1 และ Part ที่ 2 ที่ผ่านมาผมได้อธิบายถึงองค์ประกอบที่ 1 “Loss Definition” และองค์ประกอบที่ 2 “16 Major loss” ส่วนที่ 1 ,2 และ 3 ไปแล้ว ใน Chapter นี้ผมจะมาอธิบายถึง ส่วนที่ 4 Loss ที่มีผลกับประสิทธิภาพต้นทุน และหัวใจหลักของ Content ทั้งหมดคือ Loss Cost Matrix สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความ Part ที่ 1 และ 2 สามารถอ่านย้อนหลังได้ตาม Link ท้ายบทความครับ
ส่วนที่ 4 Loss ที่มีผลกับประสิทธิภาพต้นทุนประกอบด้วยอะไรบ้างมาดูกัน
1. Energy loss คือ Loss ที่มุ่งเน้นไปที่พลังงานที่ใช้ในการผลิต เช่นไฟฟ้า แก๊ส ไอน้ำ อากาศ น้ำมันเชื้อเพลิง โดยเป้าหมายจะต้องใช้พลังให้เกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อเทียบปริมาณ ต่อหน่วยการผลิต สำหรับ Loss หมวดนี้ จำเป็นต้องมี Definition การคำนวณ Consumption ต่อหน่วยที่ถูกต้องที่สุดเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บข้อมูล
ตัวอย่าง Loss ต่างๆ ในโรงงานที่เกี่ยวกับ Energy loss
2. Jig and Die loss คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากที่หน่วยงาน Project คำนวณไว้ตลอดอายุการใช้งานของ Jig หรือ Die ตัวนั้นๆ เมื่อเทียบยอดการผลิตต่อหน่วยตลอดอายุการใช้งาน (LCC : Life Cycle Cost)
โดยการคำนวณจะคำนวณจากต้นทุนดังนี้
(1) Capital Cost : ต้นทุนการผลิต
(2) Financial Cost : ค่าใช้จ่ายทางการเงิน
(3) Operation Cost : ค่าใช้จ่ายทางการปฏิบัติ
(4) Maintenance Cost : ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
(5) Disposal Cost : ค่าใช้จ่ายในการกำจัดเมื่อหมดอายุ
ตัวอย่าง Line stamping 600 Ton
3. Yield loss คือ Loss ที่เกิดจาก Incoming yield ลบด้วย Outgoing yield หรือน้ำหนักรับเข้า ลบด้วยน้ำหนักขายออก Case นี้จะใช้ได้ในกรณีที่กระบวนการไม่มีการเพิ่มน้ำหนักไปกับ Material เช่น Stamping เป็นต้น
ในกรณีที่มีการเพิ่มน้ำหนัก เช่น Coating line จะต้องมีการคำนวณบวกน้ำหนักความหนาของ Layer coating เข้าไปด้วย แล้วค่อยเอามาลบกับน้ำหนัก ตัวอย่างการคำนวณเช่น Net weight = Total weight - Pass weight
ในส่วน Major loss ทั้งหมดผมก็ได้ขยายความแต่ละ Major พอสังเขปหวังว่าจะพอช่วยให้หลายๆท่านเข้าใจความหมายของ Loss มากขึ้น หรือมีข้อสงสัยอะไร สามารถ Comment ไว้ใต้บทความได้เลยครับ ถ้าตอบได้จะตอบให้ครับ
องค์ประกอบที่ 3 การทำ Loss Cost Matrix โดยผมจะขออธิบายออกมาเป็นข้อๆ เพื่อลดความสับสนและให้เข้าใจง่าย เริ่มจาก
คำว่า Loss Cost Matrix คืออะไร ขออธิบายแบบให้เข้าใจกันง่ายๆ เลยละกัน คือตารางความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของต้นทุนบริษัททั้งหมด เทียบกับความสูญเสียหลัก ที่เกิดขึ้นในบริษัท โดยแสดงออกมาในรูปแบบตารางความสัมพันธ์ดังตัวอย่างด้านล่าง
ตัวอย่าง Loss Cost Matrix
1 Loss Structure คือ โครงสร้างของ Loss ที่ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย 16 Major loss หลัก แต่เราสามารถที่จะนิยาม Loss อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทของเราเพิ่มเข้ามาและตัดในส่วน Loss ที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปได้
2 Cost structure คือ โครงสร้างของต้นทุนบริษัทซึ่งแต่ละบริษัทต้นทุนก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแนวทางธุรกิจ แต่ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย..
แต่ก่อนที่จะมาอธิบายรายละเอียดต้นทุน มีอีก 1 สิ่งที่เราต้องแยกชัดเจนในส่วนของ Loss Cost Matrix คือ เราต้องแยกต้นทุนออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1.ส่วนของ Manufacturing Cost (MFG Cost) รับผิดชอบโดยเสา FI และ 2.ส่วนของ Administration Cost (Admin Cost) รับผิดชอบโดยเสา OI หรือเสา SCM บางหัวข้อ เมื่อทำการแยกสองส่วนใหญ่ๆ ออกมาแล้ว ค่อยมาแยก Major Cost หลักๆ ดังนี้
ตัวอย่างการกำหนด Cost Structure ในส่วน Manufacturing cost กับ Administration cost
(MFG. Cost) (Admin Cost)
1 Fixed Cost 1 Fixed Cost
- Direct labour - Direct labour
- Indirect labour - Indirect labour
- Maintenance
2 Variable Cost 2 Logistic Cost
- Consumption cost 3 Consumable Cost
Electrical 4 etc.
Air
Raw Water
Water treatment
Chemical
Etc.
- Raw material
- Quality defect
- Scrap
สุดท้ายต่อให้เรากำหนดโครงสร้าง Cost และ Loss ดีขนาดไหนถ้าขาดระบบในการจัดเก็บ ในการค้นหา Loss เราก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเรามี Loss ที่สูญเสียในบริษัทต่อปีเท่าไหร่
ระบบการค้นหาก็มีหลายระบบเช่น
Cost fiding system
Loss Cost Matrix
MFCA
อื่นๆ คือระบบที่เป็นระบบเฉพาะแต่ละบริษัท
** การทำ Loss Cost Matrix ที่ดีจะต้องมี Definition การคำนวณ Cost ให้เห็นด้วยเพื่อเป็นฐานไว้สำหรับการคำนวณเทียบ BM ในปีต่อๆไป
** รวมถึงใน Loss Cost Matrix จะต้องมีกราฟทั้งในส่วนแกน Cost และ Loss ทั้งคู่
สุดท้ายนี้... สุดท้ายแล้วจริงๆ เมื่อได้ Loss Cost Matrix จะต้องระบุให้ได้ว่าเกี่ยวข้องกับหน่วยงานใด และแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแก้ไข สำหรับ Chapter ที่ 11 ในส่วน Loss Cost Matrix ก็ขอจบไว้เท่านี้ ไว้กระบวนการขั้นตอนการแจกจ่ายจะมาน้ำเสนอใน Chapter ต่อๆ ไป
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. [ Chapter 9 ]IE Method เพื่อการ Kaizen อย่างมีประสิทธิภาพ https://www.blockdit.com/articles/5ebac94e619e280c97b6bb22
2. [ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 1) : https://www.blockdit.com/articles/5ebe4120164846088f9a9c7a
3. [ Chapter 11 ] เปิดความลับ : การค้นหาความสูญเสียด้วย Loss-Cost Matrix (Part 2) : https://www.blockdit.com/articles/5ebfe2701fb4790cc80ee0e2
4. [ Chapter 4 ] Basic concept สำหรับเสา Focused Improvement (FI Pillar) https://www.blockdit.com/articles/5eb0ce51344f963b0d2a7af2
โฆษณา