17 พ.ค. 2020 เวลา 06:47
“มาซาบูมิ โฮโซโน” ผู้รอดตายจากเรือไททานิค
กลายเป็นการสร้างความอับอายให้กับครอบครัว
เกียรติยศ หน้าที่ และความอับอาย สามสิ่งนี้ฝังรากลึกในแนวคิดของชาวญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษ การยอมตายอย่างกล้าหาญยังดีกว่าที่จะรอดชีวิตกลับมาอย่างเสียเกียรติ และการที่ชายญี่ปุ่นผู้หนึ่งนามว่า "ฮาซาบูมิ โฮโซโน" รอดชีวิตมาได้จากเหตุการณ์เรือไททานิคล่ม ก็ทำให้เขาและวงศ์ตระกูลต้องโดนรุมประณามจากเพื่อนร่วมชาติ
แตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตกที่มีปัญหาสังคมมากมายที่เกิดจากความผิดพลาดด้านต่างๆ และสามารถกำจัดมันไปได้ด้วยการดำเนินการทางกฎหมาย การบำบัดทางจิต หรือการสารภาพบาปต่อนักบวช ซึ่งแนวคิดเรื่องการละอายต่อความอัปยศของตัวเองเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนกว่าคนๆ นั้นจะทำในสิ่งที่สังต้องการ และบางครั้งความต้องการของสังคมนั้นมักรวมถึงการลงโทษทางสังคมที่กดดันให้เกิดการลงโทษตัวเองที่รุนแรงในการใช้ชีวิต
และมันมีหนึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับหนึ่งในผู้โดยสารของเรือเดินสมุทรแห่งประวัติศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ไม่มีใครไม่รู้จักอย่างเรือ “อาร์เอ็มเอส ไททานิค” ที่การรอดชีวิตจากโศกนาฏกรรมเรือล่มของเขากลายเป็นการทำให้สังคมรุมประณามครอบครัวของเขาแทน
1
มาซาบูมิ โฮโซโน พนักงานของกระทรวงคมนาคมแห่งญี่ปุ่น ที่หลังจากสำเร็จภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายในประเทศรัสเซียเรียบร้อยแล้วเขาก็เดินทางไปที่เมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษเพื่อที่จะร่วมโดยสารเรือไททานิคไปนิวยอร์ก ก่อนที่จะกลับประเทศญี่ปุ่น
ในคืนที่เรือจมลง โฮโซโนกำลังหลับอยู่ในห้องพักของผู้โดยสารชั้น 2 ตอนที่เรือชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็ง เสียงดังสนั่นและแรงสั่นสะเทือนปลุกเขาขึ้นมา แล้วเขาก็เร่งรุดไปข้างนอกทันที เมื่อลูกเรือเห็นโฮโซโนซึ่งเป็นชาวต่างชาติก็บอกให้เขาลงไปที่ชั้นล่าง ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ห่างจากเรือชูชีพ
เขาเขียนเล่าเรื่องราวถึงประสบการณ์ที่แสนจะน่ากลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์เรือไทยทานิคล่มไว้ในจดหมายที่เขาเตรียมส่งให้กับภรรยาของเขา และข้อความนี้ได้มีการถูกตีพิมพ์เผยแพร่บนสารานุกรม Titanica.org ในเวลาต่อมา โดยตอนหนึ่งในเนื้อความจดหมายเขายอมรับว่า เขาไม่สามารถ “ปัดเป่าความรู้สึกหวาดกลัวและความอ้างว้างได้”
ในจดหมายที่เขาเขียนไว้เพื่อจะทิ้งให้ภรรยาหากว่าเขาได้เสียชีวิตไป เนื้อหาบางส่วนบรรยายไว้ว่าเขาเตรียมร้อมที่จะพบกับความตายและหวังว่า 'จะไม่เหลือสิ่งใดที่น่าอับอายในฐานะชาวญี่ปุ่นผู้หนึ่ง'
แม้เขาคิดว่าเขาอาจจะต้องจบชีวิตลงไปพร้อมกับเรือในคืนนั้น แต่เขาก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่ยังรักตัวกลัวตาย ท่ามกลางความตื่นตระหนกของผู้คนบนเรือ โฮโซโนกำลังมองหาทางออกของชีวิตในการช่วยตัวเองจากน้ำเย็นยะเยือกระดับจุดเยือกแข็งนี้
ตอนนั้นเองที่เขาได้ยินเสียงลูกเรือตะโกนบอก ว่ายังมีที่ว่างอีก 2 ที่ในเรือชูชีพ มีชายคนหนึ่งกระโดดลเรือไปก่อนหน้าเขา โฮโซโนไม่รอช้าพุ่งตัวไปข้างหน้าแล้วกระโดดลงเรือชูชีพไป หลังจากนั้นเขาพร้อมผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ รวม 710 คน จากทั้้งหมด 2,224 คน ก็ไปถึงที่นิวยอร์ก หลังจากได้รับการช่วยชีวิต และด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนๆ โฮโซโนก็ได้กลับบ้านเกิดที่ญี่ปุ่น หนังสือพิมพ์กล่าวถึงเขาในพาดหัวข่าวว่า 'หนุ่มญี่ปุ่นผู้โชคดี'
เขาได้รับชื่อเสียงจากการออกสื่อต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากนั้นเรื่องกลับเลวร้ายลง ชื่อของโฮโซโนถูกกล่าวถึงอย่างเสีย ๆ หาย ๆ ในอเมริกา อาร์ชิบาลด์ เกรซีซึ่งเป็นผู้โดยชั้นชั้นหนึ่งบนเรือไททานิคพร้อมทั้งผู้รอดชีวิตคนอื่น ๆ ปรักปรำเขาว่าเป็น 'พวกแอบหนีลงเรือ' หนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นก็ตามเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งวิจารณ์แบะกล่าวโทษเขาที่หนีเอาตัวรอดในขณะที่อีกหลายชีวิตต้องตายไปในทะเล
เรื่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อโฮโซโนถูกปลดจากตำแหน่งในกระทรวง ทั้งยังมีตำราเรียนที่บอกว่าเขาเป็นตัวอย่างของความอัปยศ นักวิชากการต่างออกมาประณามว่าการกระทำของเขานั้นไร้ศีลธรรม ในหนังสือเรียนของนักเรียนมีการเขียนถึงเรื่องราวของเขาที่อ้างถึงกรณีของโฮโซโนเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมที่น่าอับอาย อาจารย์ผู้สอนหนังสือถึงขนาดประกาศว่าการกระทำของเขานั้นผิดจรรยาบรรณ
1
อย่างไรก็ตามเขาก็ได้กลับเข้าไปทำงานในกระทรวงอีกครั้ง พร้อมทั้งมีคำอธิบายว่าเขาเป็นคนทำงานที่ฝีมือดี โฮโซโนทำงานต่อไปจนกระทั่งเสียชีวิตในปี 1939 แต่ตราบาปก็ยังฝังแน่นอยู่ในวงศ์ตระกูลของเขา
ตัวของโฮโซโนเองไม่เคยพูดถึงเหตุการณ์ในคืนเรือล่มซึ่งนำมาซึ่งความอับอายต่อครอบครัวเขา อย่างไรก็ตามหลังเขาเสียชีวิตไป ก็มีการนำจดหมายที่เขาเขียนถึงภรรยาออกมาเผยแพร่โดยสมาชิกในครอบครัวหลายต่อหลายครั้ง
การเผยแพร่จดหมายครั้งสุดท้ายมาจากหลานชายของมาซาบุมิที่ชื่อว่า “ฮารูโอมิ โฮโซโน” ซึ่งเป็นนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ ภาพยนต์เรื่องไททานิคของ James Cameron ที่นำแสดงโดย ลีโอนาโด ดิคาปริโอ และเคท วินสเลท กำลังจะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2540
เมื่อจดหมายของหลานชายมาซาบุมิเผยแพร่ออกไป พร้อมกับการฉายของภาพยนตร์เรื่องดังกลัว ที่ทำให้คนทั่วโลกรวมทั้งคนญี่ปุ่นเห็นภาพของโศกนาฏกรรมทางทะเลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ทุกคนก็คนเริ่มเข้าใจในเหตุการณ์ของผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมในครั้งนั้น ว่าต้องพบเจอกับความโหดร้ายน่ากลัวเพียงใด และทำไมทุกคนต่างต้องเอาชีวิตรอด กระแสความรังเกียจตระกูลโฮโซโนในญี่ปุ่นก็เริ่มลดลง และเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตของชายคนนี้มากขึ้น
ดังที่ ฮารุโอมิ โฮโซโน อธิบายการกระทำของตัวเองเผยแพร่ในจดหมาย ทำให้ครอบครัวได้รับการบรรเทาทุกข์ในระดับที่เหมาะสม พร้อมกับการฟื้นฟูเกียรติยศของตระกูล “โฮโซโน” การตัดสินใจด้วยความหวังว่าคำพูดของ มาซาบุมิ โฮโซโน จะทำให้โลกได้เข้าใจต่อคุณค่าของชีวิตมากขึ้น และสามารถยกความอัปยศนี้ให้พ้นออกจากตระกูลโฮโซโนในที่สุด
โฆษณา