17 พ.ค. 2020 เวลา 07:12 • ธุรกิจ
การบินไทยเคลียร์ 3 ประเด็นรวด คอมมิชชั่น -ยื่นศาลล้มละลาย-ตั๋วฟรี First Class และพนักงาน
มรสุม และปัญหา ล้วนมาหลายรูปแบบต่อแต่ละคน หรือองค์กร ประเทศ บางครั้งถ่าโถมมาครั้งเดียวม้วนเดียวจบ บางครั้งมาถี่ ๆ และหนักหน่วง บางครั้งก็ผสมผสานกันไป
แต่ทุกเรื่องมีทางแก้หรือทางออกเสมอ มีจุดจบหรือจะยืดเยื้อหรือปรับใหม่ การบินไทยก็เช่นกัน พอเป็นเป้าทางสังคมย่อมถูกทะลุเจาะพรุนในทุกเรื่อง และเป็นเรื่องที่สังคมไทยยกเป็นประเด็นต้น ๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์หน้าก่อนประชุมครม.วันอังคารจะมีความเคลื่อนไหวใหญ่ที่ชี้ชะตาการบินไทยว่าจะออกมารูปแบบไหน ก็มี 2 ประเด็นชัดเจนที่ออกมาวิเคราะห์กันคือฟื้นฟูนอกศาลล้มละลาย คือทางที่เหมาะสม มากกว่าทางที่สองคือปล่อยให้ล้มละลาย
การบินไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถูกเจาะพรุนในประเด็นการรั่วไหล และและต้นเหตุของการขาดทุน ที่นำไปสู่เป้าการล้มละลาย กลายเป็นกระแสที่แรงและมรสุมใหญ่ก่อนการ Decision Making ของรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรีในอีกไมถึง 48 ชั่วโมงข้างหน้า ตามที่ The Analyzt ได้นำเสนอมาแล้วก่อนหน้านี้ https://www.blockdit.com/articles/5e99f1127944c11b6f074b7f/#
มีการชี้แจงในเพจการบินไทย 3 เรื่องรัว ๆ ซึ่งจริงแล้วก็เป็นจุดย่อยที่จริงแล้วผู้ที่จะมาฟื้นฟูแผนหลังจากนี้ต้องมองเป้าใหญ่ที่น่าเจาะลึกมากกว่านี้คือ 1.) แยกแยะมวลหนี้ทั้งหมด 2 แสนล้านบาทว่าเป็นอะไรบ้างพร้อมวางแผนกำกับ 2.) การวางแผนลดต้นทุน และสร้างรายได้เป็น Master Plan 3.) จัดวางโครงสร้างการบริหารจัดการใหม่ทั้งหมด 4.) ให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสาร ภาพลักษณ์ เพื่อคง ฺBrand ไม่ให้ช้ำ หรือ Mindset ที่วิกฤติศรัทธา 5.) การวิเราะห์ตลาดเชิงประจักษ์อีก 10 ปี เพื่อปรับแผนธุรกิจใหม่ตามความเป็นจริง 6.) การดึงคนเก่ง คนดี มีฝีมือมากู้วิกฤติครั้งนี้ ทึ่คิดว่าคนไทยที่เข้าข่ายมีมากเช่นกัน เป็นต้น ซึ่งตอนนี้คิดว่าเริ่มมีการทาบทามและวางตัวกันแล้ว
เอาเป็นว่าขอรีวิว 3 เรื่องหลักที่การบินไทยออกมาชี้แจงกันก่อนดีกว่า
เรื่องแรก คอมมิชชั่น อันมาจากอนุสนธิบทความเรื่อง ‘5 เสือ’ เอเยนต์ตั๋วบินไทย กับค่าคอม ปีละ 1.8 หมื่นล้าน ในคอลัมน์ ห้ามเขียน จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2563
CR: ฐานเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2563 https://www.thansettakij.com/content/columnist/434014?as=
เนื้อหาโดยย่อคือ การบินไทยถูกดีไซน์การขายตั๋วโดยตรง ของการบินไทยเองแค่ 30% ที่เหลือมอบหมายให้เอเยนต์ร่วม 200 ราย กิน “ค่าคอมมิชชั่น เป็นส่วนแบ่ง 10-15-20% ปีละประมาณ 1.45-1.88 แสนล้านบาท ซึ่งการบินไทยจะต้องจ่ายค่าคอมให้ตกปีละร่วม 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท
การบินไทยแจงว่าไม่มีการจ่ายคอมมิชชั่น (Zero Commission) ให้กับผู้แทนจำหน่ายในประเทศ ปีละ 1.5-1.8 หมื่นล้านจากรายได้การขายบัตรโดยสารของการบินไทยในประเทศไทยนั้น ไม่เป็นความจริง
ที่มา : การบินไทย
สำทับด้วยประเด็นเดียวกันสมาคมผู้จำหน่ายตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ INTERNATIONAL AIR TICKET AGENCY ASSOCIATION (ITA) ได้ออกหนังสือแถลงการณ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมมีเนื้อหาโดยย่อคือเรื่องค่าคอมมิชชั่นของผู้แทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินหรือเอเย่นต์ในกรณีการขายตั๋วของการบินไทยนั้นเป็นเรื่องไม่เป็นความจริง และกระทบต่อชื่อเสียงของสมาชิกสมาคมผู้แทนจำหน่ายตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศโดยรวม
สมาคมผู้จำหน่ายตั๋วเครื่องบินระหว่างประเทศ INTERNATIONAL AIR TICKET AGENCY ASSOCIATION (ITA)
กล่าวคือ 1. ในประเทศไทยมี ATA เอเย่นต์อยู่ 239 บริษัท และสายการบินที่เปิดบริการในประเทศไทยอยู่ประมาณ 150 สาย
2. ในระบบการสำรองที่นั่งและออกตั๋วเครื่องบินของเอเยนต์ใช้ระบบออนไลนห์ หรือ GDS ของ Amadeus มากที่สุด นอกนั้นคือ Sabre และ Galileo และการบินไทยเองก็มีเสริมการขายด้วยระบบ TG Direct ของตนเอง
3. สถิติการขายตั๋วของสมาคมแตกได้ตั้งนี้ ารขายตั๋วเครื่องบินดังนี้ ขายผ่านเอเย่นต์ (Offline) 27% ผ่านเอเย่นต์ออนไลน์ (OTA) 29% ขายบน Web ของสายการบิน 34% และขายเองอื่นๆ เช่น ขายที่สำนักงาน Travel Mart เป็นต้น 10%
4. ปัจจุบันเอเย่นต์ขายตั๋วเครื่องบินไม่ได้รับค่าตอบแทนจากสายการบินเลย ราคาตั๋วในปัจจุบันของการบินไทยคือ 0% commission ค่าตอบแทนของเอเย่นต์คือบวกเพิ่มจากค่าโดยเก็บจากลูกค้าโดยเฉลี่ย 100-1000 บาท แล้วแต่จำนวนเงินมากน้อยของค่าตั๋วเครื่องบินหรือจะตกอยู่ประมาณ 1-2% เท่านั้น
เรื่องที่สองที่การบินไทยออกมาเคลียร์ คือกรณีการเสนอข่าวการประชุมคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 มีมติ “ยื่นศาลล้มละลาย” นั้น บริษัทฯ ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง
บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูแล้วเสร็จ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้พิจารณาแผนฟื้นฟูดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 โดยขณะนี้แผนฟื้นฟูของบริษัทฯ อยู่ระหว่างนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการฟื้นฟูต่อไป
เรื่องที่สาม กรณีการนำเสนอข่าวพนักงานการบินไทยโดยเฉพาะกลุ่มนักบินได้ตั๋วบินฟรีในเส้นทางต่างประเทศคนละ 7 ใบต่อปี และในเส้นทางภายในประเทศคนละ 7 ใบต่อปี และคณะกรรมการบริษัทฯ ได้สิทธิ์ตั๋วฟรีชั้นหนึ่งนั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
CR: การบินไทย
การบินไทยชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง พนักงานไม่ได้รับบัตรโดยสารฟรีเป็นจำนวนปีละ 7 ใบ ตามที่เป็นข่าว และบัตรโดยสารแต่ละใบ พนักงานเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการออกบัตรโดยสาร ค่าภาษีสนามบิน และภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางด้วยตนเอง ทั้งนี้ บริษัท การบินไทยฯ ให้สิทธิบัตรโดยสารฟรี และบัตรโดยสารลดราคาตามมาตรฐานเดียวกับสายการบินสมาชิก STAR ALLIANCE แก่พนักงาน คู่สมรส และบุตรที่ยังมิได้สมรส อายุต่ำกว่า 25 ปี และผู้บริหารระดับผู้อำนวยการใหญ่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิ์ให้แก่บุตรที่ยังมิได้สมรส อายุต่ำกว่า 35 ปี
ทั้งนี้พนักงานจะสามารถเดินทางได้ เฉพาะกรณีเที่ยวบินมีที่นั่งว่างเหลือจากการจำหน่ายให้ผู้โดยสารแล้วเท่านั้น หากที่นั่งบนเที่ยวบินเต็มพนักงานจะถูกปฏิเสธการเดินทางในเที่ยวบินนั้นๆ
ในส่วนของคณะกรรมการบริษัทฯ และครอบครัว บริษัทฯ ขอยืนยันว่าไม่ได้รับสิทธิบัตรโดยสารฟรี และสิทธิประโยชน์ใดๆ ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ และผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในปี 2557 ให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการของรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
เพียงแค่ 3 ประเด็นที่เริ่มมีการจุดประเด็นถ่าโถมเข้าสู่การบินไทย ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการบินไทยที่จะได้ชี้แจงข้อเท็จจริงออกมาทีละข้อเพื่อให้สาธารณชนทราบว่าเป็นอย่างไร มิเช่นนั้นจะเป็นภาพในความคิดของคนส่วนใหญ่ที่ตัดสินองค์กรนี้ไปแล้ว โปรดติดตามความเคลื่อนไหวในสัปดาห์หน้าที่จะมีอีกหลายประเด็นโผล่ขึ้นเป็นดอกเห็ดการบินไทยและน่าจะถึงจุด Climax ของสายการบินเจ้าจำปีแห่งนี้ โปรดติดตาม
อ้างอิง:การบินไทย https://www.facebook.com/ThaiAirways.TH/
โฆษณา