18 พ.ค. 2020 เวลา 03:30 • ประวัติศาสตร์
'การก่อการกำเริบ 8888' การลุกฮือของชาวเมียนมาเพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารที่กดขี่ประชาชน
1
หลังจากการรัฐประหารเมียนมาเมื่อปี 1962 ก็ได้มีการลุกฮือของประชาชนจำนวนเรือนแสนที่ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักเรียนนักศึกษา ที่ทนต่อการถูกกดขี่ข่มเหงโดยรัฐบาลเผด็จการเมียนมาไม่ได้อีกต่อไป ทว่าการลุกฮือในครั้งนี้ของประชาชนได้ถูกทางการปราบปรามอย่างรุนแรง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 3,000 – 10,000 คน โดยการลุกฮือของประชาชนในครั้งนี้ถูกเรียกว่า 'การก่อการกำเริบ 8888' (8888 Uprising) เมื่อปี 1988 โดยตัวเลขแปดมาจากวันที่เริ่มการประท้วงครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1988
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ก่อนเกิดการลุกฮือครั้งใหญ่ในเมียนมา นายพลเนวินผู้ก่อรัฐประหารและปกครองประเทศโดยใช้นโยบายโดดเดี่ยวตัวเอง จนทำให้เศรษฐกิจภายประเทศเมียนมาย่ำแย่ และได้มีการประกาศยกเลิกใช้ธนบัตรบางส่วน บังคับให้เกษตรกรขายผลผลิตในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อให้รัฐบาลทหารมีกำไรมากขึ้น จนนำมาสู่ความไม่พอใจของนักศึกษาในกรุงย่างกุ้ง และประชาชนทั่วไป ที่ออกมาประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาล จนทางสถาบันการศึกษาปิดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนนักศึกษากลับบ้าน ต่อมาก็มีพระสงฆ์ในเมืองมัณฑะเลย์และกรรมกรออกมาร่วมประท้วง มีการเผาทำลายอาคารของรัฐบาลเพื่อเป็นการตอบโต้รัฐบาล
ในตอนนั้น นางอองซาน ซูจี ได้เข้าร่วมกับผู้ประท้วงที่พระเจดีย์มหาชเวดากอง และเรียกร้องให้ประชาชนออกมาชุมนุมอย่างสงบ โดยฝ่ายผู้ชุมนุม ต้องการให้นำระบบพรรคการเมืองหลายพรรคกลับมาใช้ มีการเลือกตั้งที่ยุติธรรมโปร่งใส และที่สำคัญคือรัฐบาลที่มาจากพลเรือนไม่ใช่จากการสืบอำนาจของทหาร ในตอนนั้นพรรคฝ่ายทหารได้ให้คำสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งตามที่ฝ่ายค้านและประชาชนต้องการ นายพลเนวินลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้สองฝ่ายได้เจรจาหาทางออกร่วมกัน แต่ฝ่ายค้านต้องการให้รัฐบาลทหารลาออกยกชุด เพื่อเปิดทางให้มีรัฐบาลขั่วคราวเข้ามาปกครองประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่ถูกรัฐบาลทหารปฏิเสธ
6
WIKIPEDIA CC KWANTONGE
ภายหลังรัฐบาลทหารได้จัดตั้งสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council) หรือ SLORC และสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council) และได้ประกาศกฎอัยการศึกเพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอย่างรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตหลายพันคน ภายหลังรัฐบาลทหารสามารถสลายการชุมนุมและกลับมาปกครองประเทศในวันที่ 21 กันยายน 1988 ส่วนขบวนการต่อต้านรัฐบาลทหารได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม มีการประเมินตัวเลขผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายชุมนุมในครั้งนั้นนับหมื่นคน
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของรัฐบาลทหารเมียนมาในครั้งนั้น ได้นำมาสู่การตอบโต้ของประเทศเพื่อนบ้านและชาติมหาอำนาจที่ตัดความช่วยเหลือประเทศเมียนมา รวมไปถึงมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ จวบจนทุกวันนี้ นักศึกษาเมียนมาที่เคยเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงในตอนนั้นทั่วโลกได้ออกมาจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นประจำทุกปี
2
โฆษณา