18 พ.ค. 2020 เวลา 07:14 • ประวัติศาสตร์
อย่าให้คนที่ตายไปแล้ว
ต้องตายรอบสองด้วยการลืมพวกเขา
เนื่องด้วยวันที่ 18 พฤษภาคม เป็นวันครบรอบ 40 ปี “กองทัพสังหารหมู่ประชาชน ณ กวางจู” บาดแผลทางประวัติศาสตร์ที่ยากจะลบเลือนของเกาหลีใต้
ประธานาธิบดีมูนแจอิน แห่งเกาหลีใต้ 🇰🇷 ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าจะต้องสืบสวนหาความจริงถึงเบื้องหลังของการที่ทหารใช้อาวุธปราบปรามประชาชน
ตั้งแต่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ มูนแจอินก็ยังคงมีจุดยืนชัดเจนในการรื้อเหตุการณ์สังหารหมู่ รวมถึงหาตัวผู้รับผิดในการสั่งยิงผู้ประท้วง
“เราจำเป็นต้องระบุตัวเหยื่อ, สืบหาต้นตอกระสุนที่ยิงจากเฮลิคอปเตอร์, และสืบสวนหาความจริงที่ถูกปิดบังและบิดเบือน”
“วัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อลงโทษ แต่เพื่อให้ความจริงปรากฏเพื่อสร้างความสมานฉันท์และเดินหน้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน”
💥 โศกนาฎกรรม ณ กวางจู
วันที่ 18 พฤษภาคม 1980 💥
นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์หน้าใหม่ทางการเมืองของประเทศเกาหลีใต้ 🇰🇷
ชนวนเหตุการณ์ลุกฮือของประชาชน คือการเริ่มเห็นว่ากองทัพภายใต้การนำของนายพลชุนดูฮวาน กำลังนำพาประเทศไปสู่ยุคเผด็จการเบ็ดเสร็จเช่นเดียวกับในอดีต ที่พลทหารปาร์คชุงฮียึดอำนาจและปกครองยาวนาน 18 ปี
ประชาชนเบื่อที่จะต้องดูหนังม้วนเดิมที่กลับมาฉายใหม่ : ทหารยึดอำนาจ, เขียนกฎกติกาเอง, ละเมิดกฎที่ตัวเองเขียน, แต่งตั้งพวกพ้องขึ้นมารับตำแหน่งสำคัญ, ทหารเข้ามาอยู่แทบในทุกตำแหน่งทางการเมือง, มีการกำจัดพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม, จัดการเลือกตั้งสกปรกเพื่อชุบตัว *วนลูปปปปปปปปป*
ประชาชนออกมาชุมนุมครั้งใหญ่
เมื่อทหารเห็นว่าประชาชนมีความกระด้างกระเดื่อง ก็ประการใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1980
มีการสั่งปิดมหาวิทยาลัย, สั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง, รวมถึงจับกุมผู้ต่อต้าน 🤐🤐
ยิ่งทำแบบนี้ ก็ยิ่งทำให้เกิดการต่อต้านลุกลามไปทั่วประเทศ
วันที่ 18 พฤษภาคม ประชาชนกวางจูออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และให้ "นายพลชุนดูฮวาน" ลาออกไป
นายพลชุนดูฮวานเห็นท่าไม่ดี จึงตัดสินใจส่งกองทัพทหารพร้อมอาวุธครบมือ 💣 เคลื่อนทัพแบบเต็มอัตราศึก มีทั้งรถถัง รถหุ้มเกราะ และเฮลิคอปเตอร์ เพื่อกำราบนักศึกษาและประชาชนให้หยุดต่อต้านรัฐบาล
มีการใส่ร้ายผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยว่าเป็น ‘สปายให้เกาหลีเหนือ’ บ้างล่ะ
‘สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์’ บ้างล่ะ
โดยทหารเรียกกลุ่มผู้ชุมนุมว่าเป็น “ศัตรูของชาติ”
ทหารปราบปรามผู้ประท้วง
ชาวเมืองกวางจูผนึกกำลังกันต่อสู้ปกป้องตัวเองจากแสนยานุภาพของกองทัพ
แต่น่าเศร้าที่พวกเขาไม่สามารถเอาชนะเหล่าทหารและตำรวจได้
เมืองกวางจูจึงกลายเป็นสุสานของผู้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ
หลังจากนั้น นายพลชุนดูฮวานก็ตั้งคณะกรรมการใหม่มาปกครองประเทศชั่วคราว โดยที่ตัวเขานั่งแท่นประธาน อีกทั้งยังมีการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ระบุให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้ 7 ปีต่อหนึ่งวาระ
ระบบการปกครองแบบเผด็จการที่เอื้อประโยชน์ให้นายทุน ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างคนรวย - คนจน
เหยื่อผู้เสียชีวิตจากการสังหารของกองทัพ
อย่างไรก็ตาม.. เหตุการณ์สังหารหมู่ ณ กวางจู ก็นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นให้คนรุ่นหลังเห็นคุณค่าของประชาธิปไตยและการเปลี่ยนแปลงระบอบเพื่อปวงชน
หลังจากผ่านเหตุการณ์นองเลือดไป 10 กว่าปี เมื่อประเทศได้รัฐบาลพลเรือนมาจากการเลือกตั้ง ก็มีการไต่สวนนายพลชุนดูฮวาน
สุดท้าย เขาก็ถูกดำเนินคดีในคดีฐานเป็นกบฏต่อชาติ (จากการรัฐประหาร) รวมถึงการออกคำสั่งสังหารหมู่ประชาชน
ตอนแรกเขาได้รับโทษประหารชีวิต แต่ก็ได้รับการลดโทษเหลือแค่จำคุกตลอดชีวิต
ส่วนนายพลคนอื่น ๆ ก็ถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน
ทหารยิงผู้ประท้วงตายเป็นเบือ, บาดเจ็บหลายพัน
ไม่มีใครทราบตัวเลขผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บที่ชัดเจน
คาดว่ามีผู้เสียชีวิตราว 200 ราย และมีมากกว่า 70 รายที่สูญหาย
หลังจากเกาหลีใต้ปลอดรัฐประหารโดยสิ้นเชิง ประเทศก็พัฒนามาเรื่อย ๆ จวบจนทุกวันนี้
ระบอบการปกครองของเกาหลีใต้ ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในระบอบที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชีย 👍
อันที่จริง.. ต้องบอกว่า “การรัฐประหาร” หมดความชอบธรรมและล้าหลังไปตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็นด้วยซ้ำ
1
นโยบายของมหาอำนาจโลกผลักดันระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ และสนับสนุนให้ทุกคนมีสิทธิเสมอกันในแง่ของความเป็นมนุษย์ 💕
รัฐธรรมนูญใหม่ของเกาหลีใต้ ระบุไว้ชัดเลยว่า "ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจในระบอบประชาธิปไตย" , "หน้าที่ของของทัพคือหน้าที่ด้านความมั่นคงเท่านั้น" , "กองทัพจะต้องเป็นกลางทางการเมือง"
ที่เกาหลีใต้ มีการนำนายพลชอนดูฮวานที่สั่งฆ่าประชาชนมารับโทษ จนสุดท้ายเขาก็ได้ขึ้นศาลแม้จะแก่หง่อมใกล้ลงโลงแล้วก็ตาม เขาถูกยึดทรัพย์ไปราว 283 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 9 พันล้านบาท)
// ถึงจะมีการนิรโทษกรรมตัวเองไปเรียบร้อย แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเป็นเหตุผลที่อ้างไม่ขึ้นสำหรับกรณีที่เป็นก่อกบฏล้มล้างการปกครอง
จึงไม่ต้องแปลกใจเลยที่ประชาธิปไตยของเกาหลีใต้เข้มแข็งอย่างทุกวันนี้
โฆษณา