18 พ.ค. 2020 เวลา 07:09 • การศึกษา
Algorithm EP.03
- Algorithm vs Flowchart
ในครั้งที่แล้วได้อธิบายความหมายแบบง่ายๆของ Algorithm ไปแล้วนะครับ
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า แล้วแตกต่างจาก Flowchart แบบปกติที่เราใช้กันอย่างไร?
ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพนิดนึงนะครับ ถ้าถามว่า
"ภาพยนต์" กับ "พล็อตเรื่องของภาพยนต์" ต่างกันอย่างไร...
และอันไหนเกิดก่อนกันครับ?
คำตอบคือ "พล็อตเรื่องของภาพยนต์" เกิดก่อนใช่ไหมครับ
แล้วหลังจากนั้นจึงเลือกตัวผู้กำกับการถ่ายทำ เลือกพระเอกนางเอก เลือกสถานที่เพื่อทำการถ่ายทำ จนเกิดเป็น "ภาพยนต์" ในที่สุด ถูกต้องไหมครับ
ทักษะของ "คนที่คิดพล็อต" กับทักษะของคนที่ "กำกับการถ่ายทำ" ก็เป็นคนละทักษะกัน ถูกต้องไหมครับ
คนที่คิดพล็อตได้ดี อาจจะกำกับการถ่ายทำไม่เก่ง หรือ
คนที่กำกำับการถ่ายทำได้เก่ง อาจจะคิดพล็อตเรื่องไม่เป็นก็ได้...
ดังนั้น ถ้าให้ตอบแบบสั้นๆก็คือ
- Algorithm ก็เปรียบเสมือนคนคิดพล็อตเรื่องของหนัง
- Flowchart ก็เปรียนเสมือนการนำพล็อตเรื่องนั้น มาแสดงในรูปแบบต่างๆ เช่น การถ่ายทำหนัง การพูดเล่าเรื่อง เป็นต้น
ผมได้รวบรวมความแตกต่างมาเขียนไว้ในรูปดังนี้ครับ..
ความแตกต่างของ Algorithm vs Flowchart
จะเห็นว่าจริงๆแล้ว Algorithm เน้นการติดต่อทั้งคนและคอมพิวเตอร์ (ถ้าจะให้กล่าวให้ถูก ต้องบอกว่าเน้นการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มากกว่า)
และการเรียน Algorithm ให้ได้ผลดีนั้น จำเป็นต้องเรียนรู้เพิ่มเติมทั้งในด้านคณิตศาสตร์การคำนวณและภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย...
ต้องยอมรับครับว่า สำหรับคนวัย GEN X การจะกลับไปรื้อฟื้นหรือเริ่มเรียนอะไรใหม่ๆ เป็นอะไรที่ยากสำหรับพวกเราบางคนมาก (โดยเฉพาะหลายๆคนที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์)
เทคนิคที่ผมใช้อยู่ในตอนนี้ก็คือ เริ่มเรียนไปทีละนิด ถ้าศึกษาแล้วไม่เข้าใจก็หยุดพักก่อน สักพักค่อยกลับไปอ่านใหม่ หรือไม่ก็หาแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม หาตัวอย่างอื่นๆหรือคำอธิบายแบบอื่นๆที่เราอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น
การเขียนอธิบายเรื่องยากๆโดยไม่ใช้ศัพท์เฉพาะหรือศัพท์ทางวิชาการเลย ถือว่าทำได้ยากมากๆเลยครับ ตัวผมเองก็ไม่แน่ใจว่าใน Episode ถัดๆไปจะสามารถอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆให้พวกเราได้หรือไม่
แต่ยังงัยก็จะพยายามอย่างเต็มที่นะครับ!!
โฆษณา