20 พ.ค. 2020 เวลา 03:05 • สุขภาพ
ตอนที่ 5 : Gout กับยา "pegloticase"
ต้องบอกก่อนนะคะว่า ... ยาตัวนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อ
ใช้ยาอื่นๆที่พูดมาก่อนหน้านี้แล้วไม่ได้ผล ไม่ไหวแล้วจริงๆ ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ..... แล้วค่อยมาใช้ยานี้นะคะ 55555+
ที่ต้องแบบนี้ก็เพราะว่า ขณะให้ยาตัวนี้ อาจทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรง (anaphylaxis) คือทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หน้าแดงตัวแดง (flushing) หายใจหอบเหนื่อยขณะฉีดได้ จนเอกสารกำกับยาถึงขนาดแนะนำว่า .... ให้ยาต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือยาแก้แพ้ และคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ไปก่อนเลย เพราะอาจเกิดการแพ้ได้ตลอดเวลาระหว่างที่ให้ยานี้
ยา Pegloticase ชื่อนี้มีที่มานะคะ ..... มันเกิดจากการตัดต่อเอนไซม์ยูริเคส (uricase) เชื่อมต่อกับ PEG ( Peg+ Uricase) โดยปกติเอนไซม์ยูริเคส (uricase) จะไม่พบในมุนย์แต่จะพบในสัตว์แทน ดังนั้น จึงทำให้มนุษย์แบบเราๆ มีปัญหาเกี่ยวกับสะสมของกรดยูริกมากกว่าในสัตว์
ดังนั้นการพัฒนายากลุ่ม uricase จึงใช้ประโยชน์ในการช่วยสลายกรดยูริกที่สะสมในข้อได้ดี
ซึ่งพูดง่ายๆก็คือ ยา Pegloticase จะทำหน้าที่เป็นเหมือนเอนไซม์ยูริเคส (uricase) คือ เปลี่ยนกรดยูริกให้เป็น allatoin ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี คือพร้อมไปกับฉี่แน่นอน จึงเป็นเหตุผลที่ยาตัวนี้สามารถลดระดับของยูเรตในเลือดลงได้
แต่ย้ำนะคะว่า ... ยาตัวนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อไม่มีอะไรจะเสียแล้วจริงๆ 555555+
https://link.springer.com/article/10.2165/11202830-000000000-00000
ส่วนตัวอย่างยาอื่นๆ ที่กำลังอยู่ในกระบวนการวิจัย ก็มีเช่นกัน
1. Arhalofenate (MBX-102) : เป็นยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มการขับกรดยูริก (uricosurics) โดยการยับยั้งปั๊ม URAT มีฤทธิ์ลดการอักเสบได้โดยตรงด้วย
2. Tranilast : ออกฤทธิ์ยับยั้งปั๊ม URAT และส่งเสริมการขับยูริกออกทางไต และคาดว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบเช่นกัน
3. Topiroxostat : ออกฤทธิ์เหมือนยา allopurinol และ febuxostat
เป็นต้น
สำหรับยาที่ใช้ในโรคเก๊าท์ ก็จะประมาณนี้นะคะ อาจจะไม่ได้พูดถึงทุกตัว แต่จะเน้นในตัวที่เจอบ่อยๆ ท่านใดมีข้อแลกเปลี่ยนหรือบอกกล่าว คอมเม้นบอกได้เลยนะคะ
.... ตอนต่อไปจะเป็นยาในโรคอะไรดี .....
มีใครอยากรู้เรื่องยาตัวไหนเป็นพิเศษมั๊ญคะ
เม้นเถอะ อยากเขียน ^____^

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา