18 พ.ค. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
หม้อเขียวของคุณย่า..... 😅
โอ้คุณย่า ชอบใช้ฉัน หยิบหม้อเขียว
หากี่เที่ยว ไม่เห็นมี เขียวตรงไหน
ตกลงย่า ให้ฉันหยิบ หม้ออะไร
ย่าตอบอย่าง มั่นใจ หยิบหม้อเขียว
ฉันตามหา หม้อสีเขียว กันว้าวุ่น
ชุลมุน หันซ้ายขวา หาหม้อเขียว
พร้อมตะโกน บอกย่าไป รอแปปเดียว
เดี่ยวหม้อเขียว ของย่า กำลังมา
รอกันแล้ว รอกันเล่า ยังไม่เห็น
แกงจะเย็น เสียก่อน นะหลานย่า
แค่ให้มัน หาหม้อเขียว ทำไมช้า
ฉันเลยบอก ย่าว่า หาไม่เจอ
โถ่หลานย่า ทำไม โง่ยิ่งนัก 5555
เด็กเดี่ยวนี้ ไม่รู้จัก หม้อสีเขียว
นี่ไงหลาน ใบนี้ จำไว้เชียว
แต่คุณย่า มันสี เขียวตรงไหน ??
ภาพโดย : http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=191668.0
ไปหยิบหม้อเขียวให้ย่าหน่อยยยย !!!!
ไม่มี !! มีแต่สีน้ำเงิน ใช้แทนกันได้มั้ย 5555
นี่คือบทสนทนาที่ได้ยินประจำระหว่างฉันและย่า ในระหว่างย่ายังมีชีวิตอยู่ 😅❤
ฉันจึงได้รู้ว่า...เจ้าหม้อนี้ มันชื่อ " หม้อเขียว " ถึงแม้มันจะขัดกับความรู้สึกของเด็กอนุบาลอย่างฉันก็ตาม เพราะ คุณครูสอนว่า blue คือสีน้ำเงิน และ green คือสีเขียว ....นี่ไง !! แค่ภาษาอังกฤษก็ต่างกันแล้ว แล้วย่ามาบอกว่าเหมือนได้ยังไงกัน ??
แท้จริงแล้ว ฉันเคยสงสัยเรื่องนี้มานานมากและได้ถามพ่อ คำตอบที่ได้ คือ คนในสมัยก่อนนั้นมีสีที่ตนเองรู้จักไม่มากนัก และ 1 ในนั้นคือสีเขียว แต่ไม่มีสีฟ้าหรือสีน้ำเงินนะ อ้าววว !! จริงหรือนี่ 😱
นั้นเพราะ...สีฟ้า / สีน้ำเงิน เป็นรายชื่อสีที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาใหม่นั้นเอง สมัยก่อนยังคงเรียกวัตถุสีฟ้าว่าสีเขียว, สีหมอกเมฆ หรือสีครามแทน
แต่ย่า เป็นหญิงสาวที่เกิดมาในชนบท เพราะฉะนั้นสีคราม สีหมอกเมฆนั้นตัดทิ้งไปได้เลย ไม่เคยได้ยินแน่นอน 5555 แต่ที่ได้ยินและใช้กันคุ้นหู มีเพียง " สีเขียวเท่านั้น " everything is green color .สุดดดด 😂😂
เพราะเหตุนี้ จึงทำให้เราได้ยินสำนวน " ไกลสุดหล้าฟ้าเขียว " อยู่บ่อยๆเช่นกัน เพราะสีครามที่เป็นสีแห่งท้องฟ้า ก็ถูกขนานนามว่า เป็นสีเขียว
ฉันอยากให้ย่ายังอยู่จังเลย....ย่าจากฉันไปตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ตั้งแต่สมัยยังไม่มีสีพาสเทลด้วยซ้ำ 555555 ป่านนี้เลือกสีลิปสติกอยู่บนสรรค์คงลำบากน่าดู รู้จักแต่เขียว-แดง-ดำ 😅🎨 นี่ !! ตอนนี้สีส้มอิฐกับแดงเชอรี่ก็มาแรงนะย่า 5555
กลับมาในทางแง่ของวิทยาศาสตร์กันบ้างนะคะ....
สมมุติฐาน 1 ) ของคุณ Delwin T.Lindsey และ Angela M.Brown นักวิจัยมหาวิทยาลัยโอไฮโอ เสนอว่า...... ที่คนมองสีผิดเพี้ยนไป อาจเป็นเพราะอิทธิพลจากรังสียูวีบีในแสงแดด โดยเฉพาะแถบร้อนจะได้รับมากกว่าแถบอื่นๆในโลก ทำให้เลนส์ตาเสื่อมเร็ว เพราะได้รับสารสีเหลืองเพิ่มขึ้น จึงทำให้การมองเห็นและรับรู้ถึงสีน้ำเงินน้อยลงไปด้วย แต่ก็ยังมีหลายคนไม่เห็นด้วย
สมมติฐานที่ 2) ที่ดูจะมีน้ำหนักกว่า เสนอว่า...เป็นเรื่องของภาษาศาสตร์ทางสังคม ไม่เกี่ยวกับตาแต่อย่างใด เพราะจริงๆเรามองเห็นเป็นสีเดียวกัน แค่คำเรียกไม่เหมือนกันแค่นั้นเอง เช่น สีชมพูบานเย็น สีชมพูพีช สีชมพูบลาๆ ซึ่งหลายคนก็ยังเรียกชมพูเหล่านี้...ว่า ชมพู (เฉยๆ) นั่นเอง
เพื่อให้คลายสงสัย ลองพาคุณพ่อบ้านไปเลือกลิปสติกให้ดูสิคะ สมมติฐานนี้จะดูมีน้ำหนักขึ้นเลยทีเดียวเชียว 555555
ซึ่งสมมติฐานที่ 2) นี้เอง ก็สอดคล้องกับการให้ความหมายของคำ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กล่าวว่า..........
สี คือ ลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏให้ตาเราเห็นนั้นเอง เช่นเดียวกับสีเขียว ที่เป็นสีของใบไม้สด และในสมัยโบราณยังรวมไปถึงสีของท้องฟ้าอีกด้วย
และการเรียก " สีน้ำเงิน " เป็น " สีเขียว " นี้ ก็ไม่ได้มีแค่ประเทศไทย แต่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกนั้นเอง
ขอขอบคุณแหล่งความรู้จาก :
1) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
และสุดท้ายนี้ ขอขอบคุณคนอ่่านทุกท่านค่ะ ❤ ถ้าชอบฝากกดไลท์เป็นกำลังให้ด้วยนะคะ 😅🙏
โฆษณา