18 พ.ค. 2020 เวลา 09:53
สาระ ควรทราบ เพื่อคิด ปรับใช้
การบูรณาการข้ามศาสตร์ Transdisciplinary
เครดิตภาพ https://www.winnews.tv/news/14506 https://busy.org/@niisek/-b08e16f777ae6 https://www.thansettakij.com/content/410241 http://www.gypzyworld.com/article/view/1199 https://sites.google.com/site/611610161e/home/xarythrrm-krik/bukhkhl-sakhay https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
การบูรณาการข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary)   หมายถึง การหลอมรวมระดับศาสตร์ (Discipline/sciences) เป็นการรวมระหว่าง ศาสตร์ตั้งแต่สองศาสตร์ขึ้นไป หรือรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในแต่ละศาสตร์ไว้ด้วยกัน ผสมผสานของความรู้ ทำให้เกิดองค์ความรู้อีกชุดหนึ่ง ที่มีนวัตกรรมเกิดขึ้นอย่างมาก
**หลักสูตรบูรณาการ(Integrated Curriculum)**
ปัจจุบัน หลักสูตรนี้ เป็นที่สนใจกันมากในหมู่นักศึกษา ผู้ใฝ่เรียนรู้ รวมถึงผู้ทำอาชีพทางด้านการศึกษา จน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก มากกว่า 60% ของมหาวิทยาลัยทั้งโลก ต้องจัดหลักสูตรนี้ขึ้น
แม้แต่ในประเทศไทยเอง ก็มากกว่า 60 % ของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ ก็จัดหลักสูตรนี้ขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยชั้นนำและ มหาวิทยาลัยชื่อดัง ของไทย ก็มีหลักสูตรนี้ เพราะ ถ้าพูดในด้านความต้องการ มีสูงมาก รวมถึง นักศึกษาเก่า และ ผู้สนใจใฝ่ศึกษา
**การเรียนการสอนแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ คือ**
เทคนิคหรือลักษณะการสอน และ/หรือ กระบวนการ หรือ การปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนรู้ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางจิตพิสัย และพุทธิพิสัย หรือ กระบวนการหรือการปฏิบัติในอันที่จะรวบรวมความคิด มโนภาพ ความรู้ เจตคติ ทักษะ และประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหานี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้พื้นฐาน 
เป็นการสอนที่นำเอาวิชาต่างๆ เข้ามาผสมผสานเนื้อหาวิชากันในแง่มุมต่าง ๆ โดยใช้วิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกนหลักและนำเอาวิชาต่าง ๆ มาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันตามความเหมาะสม
**จุดประสงค์**
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ยังผลให้เกิด การพัฒนาในด้านบุคลิกภาพในทุก ๆ ด้าน โดยเน้น ความสนใจความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถปรับตัว และตอบสนองต่อทุกสถานการณ์
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพฤติกรรมของผู้เรียน ทั้งทางด้าน สติปัญญา(Cognitive)  ทักษะ (Skill)  และ จิตใจ (Affective)
สามารถก่อความคิดรวบยอด ไปสร้างเป็นหลักการ เพื่อใช้ใน การแก้ปัญหาต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวันเพื่อให้ชีวิตมีความสมดุล
ภาพการเรียนข้ามศาสตร์ เครดิตภาพ https://www.prachachat.net/education/news-424500
**ลักษณะของการบูรณาการข้ามศาสตร์**
จะเป็น การบูรณาการ เชิงเนื้อหาสาระ, วิธีการ, ความรู้, ความคิด, คุณธรรม, กระบวนการเรียนรู้,  การปฏิบัติ, ความรู้ในโรงเรียน, ชีวิตจริง
**โดยการผสมผสานองค์ความรู้และความสามารถของผู้เรียน และดึงออกมาใช้ในการเรียนรู้**
การเข้าใจผู้อื่น, เข้าใจธรรมชาติ, เข้าใจตัวเอง, ภาษา, การใช้เหตุผล, คณิตศาสตร์, มิติสัมพันธ์, ดนตรี
ซึ่ง ศาสตร์นี้ เป็นศาสตร์ที่ใหม่ ทั้งผู้เรียน ผู้สอน ผู้จัดระบบหลักสูตร จึงหาความที่เป็นเลิศยังไม่สมบูรณ์ นอกจากแนวความคิดและเริ่มลงมือทำหลักสูตรการเรียนการสอน โดยที่ยังไม่มี องค์การใด ๆ มาสร้างมาตรฐานทำการรับรอง ให้กับหลักสูตรนี้
ถึงจะมีผู้ตั้งตนเป็นผู้รับรอง ก็ยังยากที่จะหางานทำได้ เพราะเจ้าของกิจการเห็นคุณค่าแต่ยังไม่เห็น มาตรฐาน และ ความสามารถของหลักสูตร
องค์กรต่างๆ ที่มีมาตรฐานและระเบียบการทำงานชัดเจน ต้องการ แค่คนเข้าไปในกลไกการทำงานของเขา ในความรู้แต่ละด้าน ที่เรียนมา
ซึ่งหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันนี้ ก็แยกย่อยให้อยู่แล้ว ความเหมาะสมของผู้จบหลักสูตรนี้ คือ ตำแหน่ง ผู้บริหารระดับสูง แต่ถ้าทุกคนเป็นผู้บริหารกันหมด ใครจะเป็นผู้ปฏิบัติการ
**ปัญหาที่ทำให้ คนอยากเรียน หลักสูตรนี้กันมาก จึงทำให้มีผู้อยากตอบสนองกันมาก แต่ก็หาบุคคลากร ยาก**
1 การสอนหลักสูตรเดิมไม่พัฒนา
2 อยากเรียนโดยการเลือกเรียน ตามอารมณ์
3 ความอยากในการก้าวหน้าในชีวิต จากระบบสังคมที่สร้างสมกันมา มอง
ที่ความสำเร็จและวัตถุ ก่อให้เกิดการคิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก
**ปัญหาในการเรียนการสอนการสร้างหลักสูตร**
1 ผู้สอนต้องมีความเข้าใจ ว่า แต่ละวัยมี การรู้ การคิด การรับรู้ ทัศนคติ
เป็นอย่างไร ผู้สอนถึงจะดีไซน์การสอนออกมาได้
2 การสร้างหลักสูตร คนสร้างหลักสูตรต้องเข้าใจในปัญหาของผู้เรียนใน
ข้อที่ 1 ก่อน แล้วจึงจะกำหนด หลักสูตร และ กำหนดคุณสมบัติของผู้
สอนได้
3 ผู้เรียน ต้องการที่จะควบคุมกิจการเรียนรู้ของตนเอง โดยยังขาดความรู้
ความเข้าใจ ในการใช้ชีวิต และ ความต้องการของสังคม จึงทำให้เรียก
ได้ว่า อยากเลือกเรียนตามอารมณ์มากกว่า
4 การกำหนดคุณสมบัติของผู้สอน นอกจาก ทดสอบองค์ความรู้ความสา
มารถในหลายๆด้านแล้ว แล้วยังมี ทัศนคติ ในการดำรงชีวิต ต่อสังคม
ต่อวิชาชีพ ในการพัฒนาตนเองและผู้อืน
5 การหาค่าประสบการณ์ ที่ผู้เรียนคุ้นเคย หรือ ประสบการณ์ที่ใกล้ตัว
หรือประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อการสร้างหลักสูตร ซึ่งจะมีความแตก
ต่างกันมากในตัวผู้เรียน
ภาพการเรียน วิชาการนำไปใช้ เครดิตภาพ https://thairesearchcenter.com/บริการของเรา/วิจัยด้านการตลาด/
ในความเป็นจริง วิชาบูรณาการข้ามศาสตร์ นี้ มีมาเป็น พัน ๆ ปี แล้ว เราจะเห็น นักคิดคนดังในสมัยโบราณ, กษัตริย์, ขุนนาง ในสมัยก่อน ครอบครัวจะจัดหาอาจารย์ผู้สอนหลายคน หรือ คนเดียวที่เก่งหลายศาสตร์มาสอนลูกหลานของตน
ยกตัวอย่างผู้ที่เรียนข้ามศาสตร์มาทั้งเรียนด้วยตัวเองและครอบครัวจัดหาให้ เช่น โซคราเตส, พลาโต, อริสโตเติล, พีทาโกรัส,อเล็กซานเดอร์มหาราช, เจ้าชายสิทธัตถะ, อโศกมหาราช, จิ๋นซี, โจโฉ, พระนเรศ วรมหาราช, เหมาเจ๋อตุงฯลฯ
เฉพาะคนสุดท้ายเหมาเจ๋อตุงที่บ้านไม่รวยไม่ได้เป็นขุนนาง หรือเชื้อพระวงศ์ เรียนบูรณาการเอาเอง จากการไปทำงานเป็น บรรณารักษ์ ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย
 
หลักสูตรบูรณาการ นี้ สามารถใช้ได้ตั้งแต่ เด็กเล็ก เพื่อก่อให้เกิด ความอยากรู้อยากเรียน อยากสัมผัส โดยการเรียนการสอนต้องดีไซน์ให้เข้ากับหลักสูตรที่เด็กจำเป็นต้องเรียนในแต่ละระดับไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
หรือสร้างเป็นหลักสูตร ให้เด็กเลือกเรียน ชอบอันไหนอยากเรียนรู้อันไหน ก็ให้เลือกเรียนไปก่อน แล้วตามไปเรียนวิชาอื่น ที่ต้องเรียนให้ครบ ในหลักสูตรของแต่ละระดับ
วิธีนี้ ก็อาจจะเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียน ทำให้เกิดการอยากศึกษาต่อของขั้นต่อๆไปในแต่ละศาสตร์ โดยเขาจะเข้าใจหลักของการเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ถึงขั้นมหาวิทยาลัย และ ในชีวิตการทำงานของเขา
เครดิตภาพ https://sites.google.com/site/611610161e/home/xarythrrm-krik/bukhkhl-sakhay
เครดิตภาพ https://www.thansettakij.com/content/410241 https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_893797 http://www.gypzyworld.com/article/view/1199
เครดิตภาพ https://www.winnews.tv/news/14506 https://busy.org/@niisek/-b08e16f777ae6 https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แต่ ข้อสำคัญ ที่ผู้เขียนขอออกความเห็น ก็คือ วิชา ***วิธีการนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน*** ควรจะมีเพิ่มไว้ในหลักสูตร สัปดาห์ละ 2 วัน (แค่หลักสูตรนี้ ก็ยากที่จะคิดวิธีการสอนยากอยู่แล้ว ไม่ต้องถึงการบูรณาการข้ามศาสตร์ หรอก)
และที่สำคัญอีกอย่างก็ คือ ในหลักสูตรที่ออกมา ผู้สอนมีความพร้อมแค่ไหน ในการสอน
ซึ่งต้องมี **Pre-test, Post-test** เป็นหัวใจในการสอนอยู่แล้ว
เอาแค่ Pre-test, Post-test ก่อน ผู้สอนมากกว่า 60%ทั้งโลก ยังไม่มีความพร้อมเลย
โฆษณา