18 พ.ค. 2020 เวลา 12:56 • ธุรกิจ
4 Basics ง่ายๆกับการเปลี่ยนตัวเองจากการทำงานในองค์กรไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ
.
.
เคยถามตัวเองไหมว่าทำไมเราและคนส่วนมากถึงเลือกไปทำงานกับงานที่ไม่ได้รัก ทำงานจนเหน็ดเหนื่อย เพื่อวิสัยทัศน์และความต้องการของผู้อื่น ถ้าโชคดีหน่อยก็เรียกว่า “คนดวงดี” เราอาจจะเจอนายจ้างในองค์กรที่แสนจะดี เป็นเจ้านายในฝัน เฟรนลี่กับทุกๆคน เพื่อนร่วมงานก็น่ารักเข้าขากันได้ดี ช่วยเหลือซึ่งกันแหละกัน โอ้มันจะดีอะไรอย่างนี้ แต่…มันจะสักกี่เปอร์เซนต์กัน ? แล้วเปอร์เซ็นต์ส่วนมากที่เหลือล่ะ พวกเขาต้องเจอกับอะไร พวกเขาต้องมีชีวิตที่วนลูปซ้ำไปซ้ำมา ทำงานงกๆตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะต้องแก้งานให้กับเจ้านายสุดตึงไม่หยุดไม่หย่อน ไหนจะถูกเพื่อนร่วมงานต่อหน้าดีลับหลังร้ายบ้างอีกล่ะ น่าเบื่อหน่ายชะมัด ใช่เพราะโชคไม่เข้าข้างพวกเรา หรือเรียกง่ายๆว่า “คนดวงไม่ดี” ฟังๆดูอย่างแรกดีกว่าแน่นอน ชีวิตเรามีค่ามากและสั้นเกินไปที่จะใช้เวลาหมดไปกับงานที่ไม่ได้รักแม้แต่วินาทีเดียว!!!
ดังนั้น เราควรหยุดได้แล้วหรือยัง หยุดงานที่คุณไม่ได้รัก ที่คุณไม่ชอบและหาทางหนีงานงานเหล่านั้น…ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าคนส่วนใหญ่มักจะกลัว กลัวความล้มเหลว กลัวการเริ่มตัน คิดไม่ออกว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี กลัวมากที่สุดก็คงจะเป็น ไม่มีอะไรจะกิน ไม่มีอะไรประทังชีวิต เรียกง่ายๆคือ กลัวไม่มีเงิน ยิ่งมีความกลัวมากเท่าไรยิ่งทำให้ชีวิตถูกจำกัดขอบ เขตมากเท่านั้น
James Adamy กล่าวว่า “ผมใช้เวลาทั้งหมด 12 ปี ในการทำงานในองค์กร ใช้ชีวิตเพื่อย้ายงานไปมา 6 ครั้ง ความสัมพันธ์ได้ถูกทำลาย และลดทอนคุณค่าและความเชื่อของผม ผมถูกจับตามองจากบริษัทที่ผมทำงานอยู่ แม้จะรู้สึกเครียดและวิตกกังวล ในที่สุดผมก็คิดได้ว่า สามารถที่จะมีสมดุลในชีวิตที่ดีได้มากกว่านี้แน่นอน 6 ปีที่ผ่านมาผมเริ่มต้นสร้างบริษัทเป็นของตัวเอง เพราะผมมีโค้ช มีพี่เลี้ยง มีเคล็ดลับที่แนะนำผมตลอดการสร้างธุรกิจใหม่ของผม จากการเป็นผู้ประกอบการดังต่อไปนี้… ”
1.ลดความกลัว (Mitigate fear)
อย่างที่เคยบอกข้างต้นความกลัวทำให้เราจำกัดขอบเขตของตัวเองดังนั้นเพื่อลดความกลัว เราต้องวางแผนกลยุทธ์ในสถานที่ ที่มีผลเป็นรูปธรรม และควรวางแผนมากกว่า1-3เดือนด้วยซ้ำ มันจะช่วยให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นไปได้อย่างอย่างราบรื่น บางครั้งวิธีที่ดีที่สุดในการลดความกลัวก็คือการเดินผ่านแต่ละสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดและคิดไว้เสมอว่าความล้มเหลวนั้นไม่ได้แย่อย่างที่คิด มันอาจจะเป็นผลดีต่อตัวคุณในอนาคตก็ได้ ใครจะไปรู้ เมื่อใดที่คุณวางแผนสำหรับกรณีที่อาจจะทำให้เกิดผลแย่ตามมา คุณสามารถใช้มาตรการที่ดีกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้นได้ และบางครั้งเราก็กลัวความสำเร็จ การเริ่มธุรกิจใหม่มักจะนำเราไปสู่การทำงานที่มากขึ้น มีเงินมากขึ้น มีโอกาสมากขึ้น ซึ่งมันอาจจะนำทางคุณไปสู่การสูญเสียเวลาจากที่มีมากขึ้น ก็อาจจะลดลง สูญเสียเพื่อนไปบ้างในระหว่างทาง และชีวิตทางสังคมที่ลดน้อยลง เพราะคุณมัวแต่คิดเกี่ยวกับการสร้างสมดุลของชีวิตการทำงานเพื่อกอบโกยความสำเร็จ แทนที่จะกลัวมันเหมือนช่วงแรกๆที่คุณเพิ่งเริ่มตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการเอง…
2. พัฒนาเครือข่าย (Develop a network)
ข้อนี้สำคัญกว่าข้อหนึ่งก็ว่าได้ คุณต้องเป็นคนรู้จักดื่มด่ำกับความหลงใหลในทุกโอกาสไม่ว่าจะในเวลาทำงาน หรือนอกเวลาทำงานก็ตาม อย่างเช่น การเข้าร่วมการพบปะผู้คนใน Ecosystem ที่คุณสนใจ ในสถานที่ที่คุณได้รับเชิญ การสัมมนาและการประชุมหรือจะเป็นการเข้าถึงผู้คนในเครือข่ายมืออาชีพและโซเชียลต่างๆ คุณต้องทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อพบปะผู้คนมากหน้าหลายตาที่อาจเป็นลูกค้า หรือ เพื่อนร่วมงานในอนาคตของคุณ คุณจะต้องเริ่มคิดอย่างมีกลยุทธ์เกี่ยวกับผู้ชำนาญการด้านใดด้านหนึ่งหลายๆคน และผู้ที่เหมาะสมเพื่อให้มีความคล่องตัวทางธุรกิจเท่าที่จะเป็นไปได้ให้มากที่สุด
3. เรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ (Learn and develop new skill sets)
คุณมีโอกาสที่ดีอย่างนึงคือ คุณเคยทำงานในองค์กร คุณจึงมีทักษะมากมายที่จะสามารถเริ่มต้น สิ่งใหม่ๆรอบๆตัวคุณได้ใหม่ทั้งหมด คุณสามารถนำมาประยุกต์ ปรับเปลี่ยน แก้ไข ให้ดีกว่าเดิม จะกล่าวได้อีกนัยว่า การทำตามความฝันนั้นหมายถึงการได้ลองทำในสิ่งที่คุณคุ้นเคยอยู่เป็นประจำ แต่ในแง่ของการเป็นผู้ประกอบการ การมีธุรกิจเป็นของตัวเองนั้นมันท้าทายคุณมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทีมในองค์กร การระดมทุนภายใต้เจ้าของธุรกิจหรือ Investor การฝึกฝนด้านการเงิน การเจรจา การปฏิบัติงาน และอีกหลายหน้าที่ ที่ CEO อย่างคุณต้องเรียนรู้ จะเรียกเป็นหมวกใบนึงก็ได้ที่คุณได้รับตำแหน่งให้สวมใส่หมวกที่เรียกว่า “หมวก CEO” จะนำไปสู่ความประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เพียงแค่คุณต้องรู้จักปรับตัวจากการเป็นพนักงานในองค์กร มาเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเท่านั้น
4. ใช้เงินของคุณในการเริ่มต้น (Run your personal finances like a startup)
สิ่งที่ไม่แน่นอนที่สุดในการเป็นเจ้าของธุรกิจคือ ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นธุรกิจมีจำนวนเท่าไร แล้วคาดว่าจะสร้างรายได้เมื่อใด เท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายจะหมดไปอีกกี่บาท ไหนจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ฉันสามารถขอสินเชื่อได้หรือไม่ เงินที่มีอีกสองสามเดือนจะพอรันเวย์รึเปล่า ” แน่นอนมันมี 2 สิ่งที่คุณต้องคิดเกี่ยวกับเงินทุนในช่วงเริ่มต้น มีค่าใช้จ่ายที่คุณต้องพิจารณาตามสถานการณ์ทางการเงินของตัวเองและเงินลงทุนในการเริ่มต้น คุณต้องเริ่มลดสิ่งที่ไม่จำเป็นทั้งหมดในชีวิตก่อนเพื่อลดอัตราเผาผลาญการใช้เงินของคุณให้ได้มากที่สุด แล้วหลังจากนั้นคำนวณเงินทุนว่ารันเวย์นี้อยู่ได้ด้วยระยะเวลาเท่าไหร่ ส่วนชีวิตส่วนตัวของคุณเองนั้นต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เป็นเหมือนการเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ การทำงานที่มีระบบคอยสนับสนุนเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จเป็นอย่างมาก
โฆษณา