18 พ.ค. 2020 เวลา 13:09
ต้นทุนสายการบิน คือ Cost to ASK (Available Seat Kilometer) แปลเป็น
ไทย คือต้นทุนที่นั่งต่อหนึ่งกิโลเมตร ซึ่งเป็นตันทุนที่รวบรวมมาจากต้นทุนทุกประเภทมารวมแล้วเฉลี่ยกัน เช่น
- ต้นทุนการจัดซื้อเครื่องบิน อุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ
- ต้นทุนเงินลงทุนต่างๆ สำนักงาน อู่ ศูนย์และเครื่องฝึก ฯลฯ
- ต้นทุนการซื้อ/ใช้น้ำมัน
- การบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
- ต้นทุนการตลาด
- ค่าใช้จ่ายพนักงาน
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เมื่อได้ตัวเลขมา เอาจำนวนที่นั่งคูณด้วยระยะทางของแต่ละเที่ยงบิน แล้วนำไปหารตัวต้นทุนที่เก็บข้อมูลมาก็จะได้ Cost to ASK
อาจจะงงๆกัน ยกตัวอย่างเลขชุดนนึง มาให้ดูกันจะได้เข้าใจกันมากขึ้น ตามนี้ครับ
สำหรับการบินระยะสั้นในประเทศ Cost to ASK
- การบินไทย มี Cost 3.70 บาท
- Bangkok Airway 2.90 บาท
- Nok Air 2.40 บาท
- Thai Air Asia 1.65 บาท
งงละสิครับ แล้วยังไงละ ก็ไม่ได้ต่างกันมากนี่นา ไม่กี่บาทเอง ยกตัวอย่างนะครับ กรุงเทพ-ภูเก็ต ระยะทาง 700 กิโลเมตร การบินไทจะมีต้นทุนต่อเก้าอี้ 2,590 บาท (700*3.70) ขณะที่ Thai Air Asia ต้นทุน 1,115 บาท (700*1.65) ถ้าคิด Load Factor 80%(อัตราคนขึ้นเครื่อง) การบินไทยต้องขายที่ 3,240 บาท(2,590/80%) แต่ทาง Air Asia ขายแค่ 1,395 บาท(1,115/80%) ก็คุ้มทุนแล้ว จะเห็นได้ว่าถึงการบินไทยจะขายตั๋วเครื่องบินแพงกว่า แต่ไม่ใช่ว่าทางการบินไทยจะได้กำไรมากกว่า
สถานการณ์ปัจจุบันช่วงที่โรคระบาด Covid-19 ระบาทไปทั่วโลก ส่งผลให้
การบินไทยขาดรายได้ลงไปอีก ซึ่งทำให้การบินไทยแบกต้นทุนค่าใช้จ่าย
เพิ่มเติมบวกกับภาระขาดทุนที่สะสมต่อเนื่องกันมาหลายปี จึงทำให้มีประเด็นที่การบินไทยจะล้มละลายเกิดขึ้น ซึ่งต้องรอติดตามสถานการณ์ต่อไปว่าการบินไทยที่เป็นหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ ทางรัฐบาลจะปล่อยให้ล้มละลายไหมหรือจะอุ้มชูหน่วยงานนี้
ซึ่งการบินไทยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทำให้รัฐบาลต้องคอยช่วยเหลือแต่
ด้วยภาวะขาดทุนต่อเนื่องหลายปีที่สะสมกันมาทางรัฐบาลก็ไม่มั่นใจว่าจะ
สามารถอุ้มการบินไทยต่อไปได้หรือไม่ ต้องรอติดตามต่อไป
#ทำไมการบินไทยขาดทุน
#การบินไทยล้มละลาย
#แอดมินเค
#เล่าง่ายๆสไตล์ชาวบ้าน...
โฆษณา