Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
จักรวาลวิทยา
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2020 เวลา 01:20 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
พบดาวเคราะห์แก้สยักษ์ที่ระยะเวลา 1 ปีบนดาวดวงนี้สั้นกว่า 1 วันบนโลกเรา
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบชนิด Hot Jupiter ที่มีระยะเวลา 1 ปีนานเพียงแค่ 18.4 ชั่วโมง ถือว่าสั้นที่สุดเท่าที่เคยพบมาสำหรับดาวเคราะห์ชนิดนี้
1 ปี คือระยะเวลาที่ดาวเคราะห์บริวารโคจรรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางระบบครบ 1 รอบ อย่างเช่นในระบบสุริยะของเรา ดาวเนปจูนซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ต้องใช้เวลานานถึง 165 ปี ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ โลกเราใช้เวลา 365 วัน ขณะที่ดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ใช้เวลาเพียง 88 วัน
1 ปีของดาวเคราะห์แต่ละดวงจึงยาวไม่เท่ากัน
ล่าสุดทีมนักดาราศาสตร์ระหว่างประเทศนำโดย James McCormac แห่งมหาวิทยาลัย Warwick ค้นพบดาวเคราะห์ NGTS-10b โคจรรอบดาวฤกษ์ศูนย์กลางระบบครบ 1 รอบ ในเวลาเพียง 0.7668944±0.0000003 วัน หรือเท่ากับ 18.4 ชั่วโมงเท่านั้น (หน่วยเป็นวันและชั่วโมงของโลกเรา)
ดาวเคราะห์ดวงนี้ มีมวล 2.162+0.092−0.107 เท่าของดาวพฤหัส และมีรัศมี 1.205+0.117−0.083 เท่าของดาวพฤหัส พูดง่ายๆคือใหญ่และหนักกว่าดาวพฤหัสนิดหน่อย
สาเหตุที่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีระยะเวลา 1 ปีสั้นมากนั่นคือมันโคจรใกล้ดาวฤกษ์ของมันมาก เรียกว่าห่างจากความตายเพียงแค่เผาขน
ดาวเคราะห์ NGTS-10b โคจรห่างดาวฤกษ์ศูนย์กลางระบบของมันเพียง 1.46±0.18 เท่าของระยะห่างที่เป็นขีดจำกัดของรอช ( Roche Limit) ซึ่งเป็นรัศมีที่ดาวเคราะห์ที่ล่วงล้ำเข้าไปมากกว่านี้ จะถูกแรงไทดัลของดาวฤกษ์ฉีกของเป็นชิ้นๆ
และ NGTS-10b ยังคงเคลื่อนตัวเข้าใกล้ดาวฤกษ์ของมันทีละนิด ทีมงานของ James McCormac ประมาณว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้จะล้ำเข้าสู่ ขีดจำกัดของรอช ใน 38 ล้านปีข้างหน้า ซึ่งก็จะเป็นกาลอวสานของมัน
การค้นพบครั้งนี้ ตีพิมพ์เผยแพร่ลงใน
https://arxiv.org/abs/1909.12424
เครดิตภาพ
https://www.universetoday.com
เรียบเรียงโดย @MrVop
1 บันทึก
7
1
1
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย