Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ใจหยุด 24 น.
•
ติดตาม
19 พ.ค. 2020 เวลา 05:47 • การศึกษา
🌷พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละประเภท สร้างบารมีมาต่างกันอย่างไร❓
หลายๆท่านอาจสงสัยว่า พระพุทธเจ้ายังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทอีกหรอเนี่ย หรือบางท่านที่ทราบแล้ว ก็อาจจะสงสัยว่าแต่ละประเภทนั้นแตกต่างกันอย่างไร❓
แต่จะมาอธิบายในครั้งนี้เพียงสั้นๆ คือเรื่องการสร้างบารมีในสมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ว่าทรงสร้างบารมีมาต่างกันอย่างไร❓
ซึ่งถ้าไปหาข้อมูลตามอินเตอร์เน็ต ก็จะอธิบายไว้อีกอย่าง ที่ทำให้ผมเองรู้สึกขัดใจอยู่บ้าง เช่น พระพุทธเจ้าประเภทพระวิริยาธิกพุทธเจ้า ทรงมีพระปัญญาน้อยกว่า จึงทำให้ต้องใช้เวลาสร้างบารมียาวนานกว่าพระพุทธเจ้าประเภทอื่นๆ ฯลฯ
ข้อมูลที่อธิบายไว้ว่า พระวิริยาธิกพุทธเจ้าทรงมีปัญญาน้อยกว่าพระพุทธเจ้าประเภทอื่น
จึงทำให้เป็นแรงบันดาลใจที่จะอธิบายเรื่องการสร้างบารมีของพระพุทธองค์ให้ทุกท่านได้เข้าใจในอีกข้อมูลหนึ่ง
🌷มีอุปมา...เหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ
1) บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
2) บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ(บัวปริ่มน้ำ)
3) บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี 3 ประเภท คือ
-พระปัญญาธิกพุทธเจ้า
-พระสัทธาธิกพุทธเจ้า
-พระวิริยาธิกพุทธเจ้า
🌷พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทที่ 1
ในสมัยที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์...ทรงปรารถนาที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเร็วๆ...
พระองค์สั่งสมบารมี 30 ทัศ พร้อมกับโปรดบุคคลที่เปรียบเสมือน "บัวพ้นน้ำ" (ท่านเคี่ยวเข็ญและขนเอาเฉพาะคนมีปัญญามากไปก่อน)
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้ชื่อว่า...พระปัญญาธิกพุทธเจ้า
ใช้เวลาในการสร้างบารมีและเคี่ยวเข็ญสรรพสัตว์ "20 อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์" จึงขนสรรพสัตว์เข้านิพพานและไปสู่สุคติได้มากในระดับหนึ่ง
แต่ยังมีลัทธิและความเชื่ออื่นอยู่มากในขณะที่พระองค์ทรงตรัสรู้และเผยแผ่พระศาสนา
🌷พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทที่ 2
ในสมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์...พระองค์สั่งสมบารมี 30 ทัศ พร้อมกับโปรดบุคคล 2 ประเภทคือ
1.คนที่มีปัญญามาก เปรียบเสมือน "บัวพ้นน้ำ"
2.เคี่ยวเข็ญคนที่เปรียบเสมือน "บัวปริ่มน้ำ" คนเหล่านี้มีพื้นฐานของความศรัทธาอยู่แล้วพอประมาณ(ศรัทธาคือความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา)
พระโพธิสัตว์จึงส่งเสริมศรัทธาแก่คนเหล่านี้ให้มากขึ้นๆ...จนกระทั่งสั่งสมบ่มบารมีได้แก่รอบ
1
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้ชื่อว่า...พระสัทธาธิกพุทธเจ้า
ใช้เวลาในการสร้างบารมีและเคี่ยวเข็ญสรรพสัตว์ "40 อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์" จึงมีผู้ตรัสรู้ตามและมีผู้ไปสู่สุคติได้มากกว่าพระปัญญาธิกพุทธเจ้า...
แต่ยังมีลัทธิและความเชื่ออื่นบ้างพอสมควรในขณะที่พระองค์ตรัสรู้และเผยแผ่พระศาสนา
🌷พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเภทที่ 3
ในสมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์...พระองค์สั่งสมบารมี 30 ทัศ พร้อมกับโปรดบุคคลทั้ง 3 ประเภท คือ
1.คนที่มี "ปัญญามาก"
2.คนที่มี "ศรัทธาพอประมาณ" (ศรัทธาคือความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา)
3.เคี่ยวเข็ญคนที่มี...ปัญญาและศรัทธาน้อยนิด... "เปรียบเสมือนบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ"
พระโพธิสัตว์ต้องใช้ความเพียรพยายาม ใช้ความวิริยะอุตสาหะ อย่างมากมายมหาศาล ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้แก่บุคคลเหล่านี้..
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้ชื่อว่า...พระวิริยาธิกพุทธเจ้า
ใช้เวลาในการสร้างบารมีและเคี่ยวเข็ญสรรพสัตว์ "80 อสงไขยกับอีกแสนมหากัปป์" จึงมีสาวกตรัสรู้ตามได้มาก และไปสู่สุคติเป็นจำนวนมาก...
เนื่องจากพระองค์โปรดคนได้ทุกประเภท จึงไม่มีลัทธิหรือความเชื่ออื่นเลย ในขณะที่พระองค์ตรัสรู้และเผยแผ่พระศาสนา
เช่น พระศรีอริยเมตไตรย์ และ พระมังคลพุทธเจ้า ฯลฯ
🌷จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เรายอมรับได้มากขึ้นและเห็นถึงความแตกต่างว่าทำไมพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ถึงได้มีความแตกต่างกัน ยิ่งยังความเลื่อมใสให้บังเกิดมากขึ้นในใจของพุทธศาสนิกชนตราบนานเท่านาน
🌟รับธรรมะดี ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อให้เข้าถึงความสุขภายในได้ที่นี่
⚡️Line
http://line.me/ti/p/%40jai.yut.24nor
⚡️Facebook
https://www.facebook.com/jai.yut.24nor.fanpage
⚡️YouTube
http://www.youtube.com/c/ใจหยุด24น
⚡️Instagram
https://www.instagram.com/jaiyut24nor
⚡️Twitter
https://twitter.com/jaiyut24nor
⚡️Pinterest
https://www.pinterest.com/jaiyut24nor/
⚡️Spotify
https://spoti.fi/2QN4JH4
⚡️Apple Podcasts
https://apple.co/36POqif
⚡️JOOX
https://joox.page.link/KFuyBi
⚡️TikTok
https://vt.tiktok.com/RUc5gt/
⚡️Blockdit
https://www.blockdit.com/jaiyut24nor
4 บันทึก
38
10
24
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความธรรมะ
4
38
10
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย