19 พ.ค. 2020 เวลา 23:30 • ประวัติศาสตร์
ตอน...ถ้วยตราไก่ ไฉไลข้ามยุค 🐥
สักวา ชามตราไก่ จากไกลโพ้น
เดินข้ามน้ำ ข้ามลม ข้ามภูผา
ดั้นด้นถึง เมืองสยาม ยามนิทรา
เพื่อจะมา ทำการค้า เลี้ยงชีพกัน
แล่นเรือใบ จากแต้จิ๋ว ถิ่นกำเนิด
เข้ามาเปิด โรงงานใหญ่ ด้วยใจหมาย
อยู่ที่เมือง รถม้า ถิ่นเมืองไทย
จนชามไก่ ขึ้นชื่อ ระบือนาม
ทุกวันนี้ ชามตราไก่ ยังคงอยู่
ลูกหลานหมู่ เพรียกหา มาจัดสรร
เรียกใช้ชาม ตราไก่ กันทุกวัน
เพราะว่าของ เขานั้น ดีจริงเอย
ภาพโดย : อาลัวเองจ้า
วันนี้ 19 พฤษภาคม 2563
ฉันได้ถือโอกาสพักเที่ยง ไปนั่งรับลมที่ร้านอาหารตามสั่งเพิงไม้ริมแม่น้ำ และทุกครั้งที่ฉันไปหาของอร่อย ณ ที่แห่งนี้ ฉันได้สังเกตเห็นถึงภาชนะที่นำมาบรรจุอาหารให้ลูกค้าอย่างฉันได้ลิ้มรส
ซึ่งจะเป็นภาพที่คุ้นตาทุกครั้ง เพราะภาชนะที่พร้อมเสริฟคู่เมนูอร่อยจากทางร้าน จะเป็นภาชนะที่มีโลโก้เหมือนกันทุกโต๊ะ.....และเหมือนกับที่บ้านฉัน บ้านคุณย่า บ้านคุณยาย ตอนวัยเด็กด้วย ❤ จึงทำให้รู้สึกคิดถึงบ้านมากกว่าที่เคย 🏡
และภาพที่อยู่ตรงหน้าฉันนั้น ก็คือ " ชามตราไก่" นั้นเอง
ฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านไก่ แต่จากลักษณะตัวป้อมๆของเจ้าไก่ข้างชามแล้ว คงเดาไม่ยากว่าน่าจะเป็น" ไก่แจ้ " 🤔❤🐥
ฉันเฝ้าสังเกตเจ้าไก่ข้างชามของโต๊ะอื่นๆ เหมือนจะเค้นความจริงจากปากไก่เสียนี่กระไร 😁 ทำไมนะ.....ทำไมเจ้าชามตราไก่ถึงอยู่ยงค์คงกระพันทุกยุคทุกสมัยเช่นนี้ 🕓🕟🕜 และฉันก็ได้นึกถึงคำตอบที่คนสมัยปู่ย่าตายาย อวยเจ้าชามนี้ยิ่งนัก ว่า " ทนทานดีนักแล "
ฉันมีอีก 1 ข้อสังเกต คือ เจ้าไก่ข้างชามไม่ได้มีลักษณะหรืออิริยาบถเดียวกันเลย บางตัวเป็นไก่กำลังเดินเยื้องย่าง บางตัวเป็นเจ้าไก่กำลังวิ่ง ทรวดทรองค์เอวของน้องไก่นั้น ก็จับประเด็นได้ว่า ไม่ใช่ไก่ตัวเดียวกันแน่ๆ 555 บางตัวอ้วนท้วน บางตัวกำยำสง่างาม
นอกจากนี้ ชามประเภทนี้ยังมีลายต้นกล้วย และลายดอกโบตั๋น อีกด้วย แต่ก็เป็นชามจากสำนักจอมยุทธ์เดียวกัน 🤗
ขอเปิดประตูทะลุมิติของโดราเอม่อน ไป 100 ปีให้หลัง ฉันกำลังหลุดเข้ามาในประเทศจีน
ฉันมองเห็นเป็นภาพชาวจีนคนหนึ่ง เข้าบอกฉันว่า เขามาจากกวางตุ้ง จะนำชามซึ่งมีใบขาวโพลนพวกนี้มาให้ช่างที่ ต.ปังเคย แต้จิ๋ว ขึ้นลายให้ และจะนำไปส่งออกจำหน่ายทั่วไป
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ฉันได้พบกับพ่อค้าชาวจีนอีกท่าน แต่คราวนี้ไม่ใช่กวางตุ้งหรือแต้จิ๋วเหมือนครั้งก่อนเก่า แต่เป็นเมืองลำปางบ้านเรานี่เอง
เขาบอกกับฉันว่า เขาและครอบครัวชาวจีน ได้ย้ายมาอยู่ที่นี่ถาวร และเปิดโรงงานเตาเผาชามตราไก่ตามที่ฝันไว้
ฉันจึงสอบถามว่าเพราะเหตุใดท่านจึงเลือกเมืองลำปาง ไม่เลือกนครศรีธรรมราชบ้านฉันบ้างล่ะ ?? จะได้ไปเที่ยวทะเลด้วยกัน 5555 เขาตอบว่า เพราะลำปาง มี " ดินขาว " ที่ใช้ปั้นชามไง
อ๋ออออ !! อย่างนี้นี่เอง และในปีเดียวกันนั้น จ.ลำปางได้มีผู้ผลิตชามไก่ซึ่งเป็นชาวไทปู้ด้วยกัน 4 คน ก่อตั้งเป็น " โรงงานร่วมสามัคคี " ที่บ้านป่าขาม อ.เมือง จ.ลำปาง
ผู้ก่อตั้งได้แก่...... 1) นายซิมหยู แซ่อื้อ
2) นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ
3) นายซิวกิม แซ่กว็อก
4) นายซือเทน แซ่เทน
เขาพาฉันไปชมโรงงาน และอธิบายว่า
นี้น้าา...ลื๊อรู้มั้ย ชามตราไก่โรงงานอั๊วะนี่มีถึง 4 ขนาดเชียวนา
👉 ขนาด 5-6 นิ้ว ใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มผู้ดี
👉 ส่วนขนาด 7-8 นิ้ว สำหรับจับกัง เพราะกินจุ
ชามพวกนี้ หลังจากขึ้นลายเรียบร้อยแล้วจะต้องนำไปเคลือบและเข้าเตาเผา อุณหภูมิ 750-850 องศาเซลเซียส
โห!! ร้อนมากๆ 😲😲 ฉันถึงสภาพเปลวไฟไม่ออกเลย ฉันจะไม่ทำชั่วอีกแล้ว กลัวกระทะทองแดงจะร้อนกว่าเตาเผานี้ ชาติหน้าคงเกิดเป็นไก่ย่างแน่ๆฉัน 5555 🔥🔥🔥
เอ้ะ !!! นั้นอะไรกัน เป็นวงคล้ายพายุ กำลังพัดปลิวมาที่ตัวฉัน ฉันถลาเข้าไปในมวลพายุ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บอันใดเลยแม้แต่น้อย....แต่ฉันกลับมาโผล่ที่บางกอกในปี พ.ศ. 2563 ห๊าาา !! นี่มันพายุที่พาฉันกลับมิติเดิมนี่นา.......
และแล้ว ปี พ.ศ. 2563 นี้ .... ฉันยังคงเห็นชามตราไก่อยู่อีก แต่ทว่าชามที่ฉันเห็นพวกนี้กลับไม่ใช่ของอาแปะคนเมื่อ 100 ปีที่แล้ว แต่เป็นชามไก่ที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทยซะส่วนใหญ่
ชามไก่รุ่นแรกๆ จากประเทศจีน
เพราะภายหลังจากที่จีนมีการส่งออกถ้วยตราไก่ได้สักระยะหนึ่ง ประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงทำให้ไม่สามารถ " ส่งออก" ถ้วยตราไก่ได้ตามเดิม
ชามไก่รุ่นหลังๆ (ไม่ค่อยมีแบยแผนเหมือนเมื่อก่อน)
แต่ปัจจุบันนับว่ายังโชคดี ที่ จ.ลำปางเอง ก็ยังคงขึ้นชื่อลือชาเรื่องชามไก่อยู่ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็น 1 ในของดีเมืองลำปางที่ยังคนถูกพูดถึงบ่อยๆ ถึงแม้ว่า จะเกิด" ถ้วยชามเซรามิค" เกิดขึ้นมากมายนับไม่ถ้วน
แต่ " ถ้วยตราไก่ " ก็ยังคงคุณค่าในตัวเอง จนเป็นที่ยอมรับมาจนถึงทุกวันนี้ ❤❤😊
ไหน ...บ้านไหนยังใช้ถ้วยตราไก่อยู่บ้างคะ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้น้าาา 🙏😍
โฆษณา