Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่องสัตว์
•
ติดตาม
21 พ.ค. 2020 เวลา 12:30 • การศึกษา
10 สัตว์สูญพันธุ์ ที่นักวิทย์ฯในปัจจุบัน อยากโคลนนิ่งมากที่สุด
ด้วยวิทยาการของโลกในตอนนี้ถือว่าก้าวหน้าไปมาก ถ้าเป็นเมื่อ 50 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคิดว่าเราจะโคลนนิ่งสัตว์ได้สำเร็จ แต่ถ้าเทคนิคนี้ก้าวหน้าต่อไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะโคลนนิ่งสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วให้กลับมาอยู่บนโลกอีกครั้งก็น่าจะเป็นไปได้เช่นกัน
นิตยสารนิวไซเอินทิสต์ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักวิทยาศาสตร์ว่า สัตว์ใดที่พวกเขาเหล่านั้นต้องการโคลนนิ่งให้มามีชีวิตเหมือนอย่างในอดีต แต่การสำรวจนี้ไม่รวมไดโนเสาร์เพราะสัตว์ที่จะโคลนนิ่งได้ต้องมีสัตว์สายพันธุ์ใกล้เคียงมาอุ้มบุญด้วย
ช้างแมมมอธ (Mammuthus armeniacus)
1. ช้างแมมมอธ (Mammuthus armeniacus)
อาศัยอยู่บนโลกมาตั้งแต่ 4.8 ล้านปีก่อน และสูญพันธุ์ไปเมื่อ 13,000-60,000 ปี เคยอาศัยอยู่แถบอเมริกาเหนือและยูเรเซีย น้ำหนักราว 6-8 ตัน แต่ถ้าเป็นตัวผู้ตัวใหญ่ๆ อาจหนักถึง 12 ตัน ปีที่แล้วนักวิทยาศาสตร์ทำการถอดรหัสพันธุกรรมแมมมอธได้ และสัตว์ปัจจุบันที่อาจอุ้มบุญลูกแมมมอธแทนคือช้าง
เซเบอร์ทูธไทเกอร์ (Smilodon fatalis)
2. เซเบอร์ทูธไทเกอร์ (Smilodon fatalis)
หรือเสือเขี้ยวดาบสูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อ 10,000 ปีก่อน สัตว์ที่อุ้มบุญและให้ไข่ได้น่าจะเป็น แอฟริกันไลอ้อน ดีเอ็นเอที่รักษาไว้อยู่ที่ระดับ 3/5 ความเหมาะสมในการอุ้มบุญ 3/5 หรือเหมาะสมพอประมาณ
ชอร์ตเฟซแบร์ (Arctodus simus)
3. ชอร์ตเฟซแบร์ (Arctodus simus)
หรือ หมีหน้าสั้น สูญพันธุ์เมื่อประมาณ 11,000 ปี มันสูงกว่าหมีขั้วโลกเมื่อยืนเทียบกันถึง 1 ใน 3 น้ำหนักราว 1,000 กิโลกรัม ดีเอ็นเอรักษาไว้ได้อยู่ที่ 3/5 ถ้าให้หมีอเมริกันมาอุ้มบุญ ความเหมาะสมอยู่ที่ 2/5 เพราะหมีอเมริกันตัวเล็กกว่ามาก การอุ้มบุญจึงไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่ สัตว์ 2 สายพันธุ์นี้ แยกออกจากกันเมื่อประมาณ 5 ล้านปีที่แล้ว
เสือทัสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus)
4. เสือทัสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus)
สูญพันธุ์ไปเมื่อ ค.ศ. 1936 หรือประมาณ 70 ปีก่อน ตัวสุดท้ายของโลกที่ตายชื่อ เบนจามิน อยู่ที่สวนสัตว์เมืองโฮบาร์ต บนเกาะทัสมาเนีย ประเทศออสเตรเลีย ดีเอ็นเอสามารถรักษาไว้ได้ถึง 4/5 สัตว์ที่อุ้มบุญได้น่าจะเป็นทัสมาเนียเดวิล ความเหมาะสมอยู่แค่ 1/5 เนื่องจากสายพันธุ์ยังห่างกันไกลมาก
กลิปโทดอน (Doedicurus clavicaudatus)
ฟอสซิลของกลิปโทดอน (Doedicurus clavicaudatus)
5. กลิปโทดอน (Doedicurus clavicaudatus)
เป็นตัวอมาดิลโลที่มีขนาดพอๆ กับรถโฟล์กเต่า สูญพันธุ์ไปจากโลกราว 11,000 ปี ครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่แถบอเมริกาใต้ ระดับดีเอ็นเอที่รักษาไว้ได้คือ 2/5 สัตว์ที่อุ้มบุญน่าจะเป็นอมาดิลโล แต่ความเหมาะสมมีเพียง 1/5 เพราะอมา ดิลโลยักษ์ซึ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาอมา ดิลโลชนิดเดียวกัน ยังมีน้ำหนักแค่ 30 กิโล กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับไซซ์รถเต่าแล้ว ถือว่ายังห่างกันไกลมาก
วูลลี่ ไรโนเซอรัส (Coelodonta antiquitatis)
6. วูลลี่ ไรโนเซอรัส (Coelodonta antiquitatis)
หรือแรดขนสูญพันธุ์ไปราว 10,000 ปี ลำตัวยาวประมาณ 3.7 เมตร นอยาว 1 เมตร เคยอยู่แถวยุโรปเหนือและไซบีเรีย ดีเอ็นเอรักษาไว้ได้อยู่ที่ระดับ 4/5 สัตว์ที่อุ้มบุญได้คือแรดปัจจุบัน ความเหมาะสมอยู่ที่ 5/5
โดโด้ (Raphus cucullatus)
7. โดโด้ (Raphus cucullatus)
เป็นญาติของนกพิราบและนกนางนวล สูญพันธุ์ไปเมื่อ ค.ศ. 1690 สูงประมาณ 1 เมตร น้ำหนัก 20 กิโลกรัม เคยอยู่แถบมอริเชียสหรือมหาสมุทรอินเดีย ระดับที่รักษาดีเอ็นเอไว้ได้คือ 1/5 เมื่อ 6 ปีที่แล้ว นักพันธุกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้รับอนุญาตจากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติของอังกฤษ ให้ทำการผ่าตัดและศึกษากระดูกท่อนขาของโดโด้ สำหรับสัตว์อุ้มบุญนั้นน่าจะเป็นนกพิราบ ระดับความเหมาะสมอยู่ที่ 3/5
ไจแอนต์กราวด์สล็อธ (Megatherium americanum)
8. ไจแอนต์กราวด์สล็อธ (Megatherium americanum)
หรือ หมีสล็อธดินยักษ์ สูญพันธุ์ไปราว 8,000 ปี ระดับดีเอ็นเอที่รักษาไว้ได้คือ 2/5 หมีสล็อธดินยักษ์เมื่อยืนแล้วจะสูงประมาณ 6 เมตร น้ำหนัก 4 ตัน ดีเอ็นเอที่พบส่วนมากมาจากขน เคยอาศัยอยู่แถบอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ สัตว์ที่น่าจะอุ้มบุญได้คือ หมีสล็อธต้นไม้ 3 เท้า แต่เนื่องจากขนาดไม่เหมาะสมกันอย่างยิ่ง ระดับความเหมาะสมในการอุ้มบุญจึงต่ำไปด้วย คืออยู่ที่ 1/5
โมอา (Dinornis robustus)
9. โมอา (Dinornis robustus)
นกโมอาเป็นนกที่มีขนาดใหญ่กว่านกปกติทั่วไป บินไม่ได้และมีรูปร่างคล้ายกับนกกระจอกเทศในปัจจุบันแต่ตัวใหญ่กว่า มีส่วนหัวที่ยาวกว่าเอาไว้กินพืชเตี้ยๆ และตามต้นไม้สูงๆ ขนาดและรูปร่างนกโมอานั้นเปลี่ยนไปตามสถานที่ต่างๆ เนื่องจากนกโมอาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพมาโดยตลอดซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
นกโมอา
จากการศึกษาดีเอ็นเอ ของนกโมอา ได้มีการค้นพบว่านกโมอาตัวเมียกับตัวผู้มีความแตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นทางขนาดลำตัวรึขนาดของกระดูก ตัวเมียมีขนาดที่ใหญ่กว่าและสูงกว่าตัวผู้อยู่ประมาณ 150 % และมีน้ำหนักกว่า 280 % เหตุผลนี้ทำให้ตอนแรกมีการเข้าใจผิดคิดว่าโครงกระดูกที่ถูกค้นพบนี้เป็นของนกสองสายพันธุ์ พบดีเอ็นเอมากในนิวซีแลนด์ ถ้ายืนมันจะสูงประมาณ 3.6 เมตร สูญพันธุ์ไปเมื่อราว ค.ศ. 1500 คาดว่าถูกล่าโดยชาวเมารี ความเหมาะสมที่นกกระจอกเทศจะอุ้มบุญคือ 2/5
ไอริชเอลก์ (Megaloceros giganteus)
10. ไอริชเอลก์ (Megaloceros giganteus)
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สูญพันธ์เมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อน ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในแถบทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย (จากการขุดพบซากฟอสซิล) ลำตัวสูง 2 เมตร ความกว้างของเขา 4 เมตร อาศัยอยู่กันเป็นฝูง ระดับดีเอ็นเอที่รักษาไว้ได้อยู่ที่ 3/5 เคยอาศัยอยู่ที่ยุโรป สัตว์ที่น่าอุ้มบุญได้คือกวาง แต่ความเหมาะสมอยู่แค่ 2/5 เพราะขนาดต่างกัน
ฟอสซิลของไอริชเอลก์ (Megaloceros giganteus)
หากชอบบมความของเพจส่องสัตว์ อย่าลืมกดติดตามเพื่อเป็นที่ไม่ผ่านเรื่องราวดีเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้ และเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะครับ
1 บันทึก
7
1
1
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย