"พ่อรวยสอนลูก(RichDad PoorDad)"คือ หนังสือการเงินเล่มแรก และ เป็นเล่มที่ทรงอิทธิพลต่อความคิดของผมตลอดมา
.
.
ก๊อกๆ วันหนึ่งป๊าของผมมาเคาะประตู ผมค่อนข้างแปลกใจทีเดียว เพราะป๊าของผมไม่ใช่คนที่มาคุยกับลูกพร่ำเพื่อ ดังนั้น เรื่องนี้จึงค่อนข้างสำคัญแน่ๆ พอผมเปิดประตูป๊าก็บอกว่า
"ช่วยอ่านหนังสือเล่มนี้ให้หน่อย อ่านแล้วมาสรุปให้ป๊าฟังหน่อย ป๊าให้500บาท"
.
.
งงสิครับ
อะไรกัน อยู่ๆมาจ้างอ่านหนังสือแล้วก็โยนหนังสือเล่มสีม่วงสดหน้าปกชื่อว่า"RichDad PoorDad พ่อรวยสอนลูก"
ในใจก็"เอาวะ"ตั้ง500บาท
แต่ สุดท้าย สิ่งที่คุ้มค่าที่สุดจากหนังสือเล่มนั้นไม่ใช่เงิน500บาท แต่ คือ"ชีวิต"ของผมที่เปลี่ยนไปตลอดกาล..
.
.
และวันนี้ผมจะมาสรุป7ประเด็นสำคัญที่ผมได้จากหนังสือเล่มนั้น ที่ผมยกให้เป็นอาจารย์และต้นแบบทางความคิดของผมตลอดมา โดย ผมจะแบ่งเป็น7partเนื่องจากมันยาวมาก
แต่ ผมอยากให้ทุกคนได้ลองอ่านจริงๆ เพราะผมเชื่อว่ามันมีประโยชน์เหลือเกิน โดยผ่านประสบการณ์ส่วนตัวของผมประกอบด้วย
.
.
ประเด็นที่1 ความรู้ทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ
.
.
ลองนึกดีๆนะครับ ชีวิตพวกเราทุกคนได้ศึกษาอยู่ในสถานศึกษามาเป็นเวลายาวนานมากๆ หากผมวัดจากคนส่วนใหญ่คือการจบปริญญาตรี เวลาคร่าวๆคือ 19 ปีเต็ม พวกเราได้เรียนรู้ในวิชาอะไรบ้างครับ?ถ้าเป็นอนุบาล-มัธยมปลาย ก็อาจจะ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ประมาณนี้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผลสัมฤทธิ์ของมันก็มักจะชี้โดยว่า"คุณสอบเข้ามหาวิทยาลัยและคณะที่ต้องการได้ไหม?"ต่อมา พวกเราเริ่มเดินหน้าเข้าสู่"มหาวิทยาลัย"พวกเราเริ่มได้เรียนรู้ในสายงานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นตามอาชีพในอนาคตที่ต้องการ แพทย์ วิศวะ บริหารธุรกิจ ศึกษาศาสตร์ ฯลฯ
.
.
จุดหมายสุดท้าย(ของคนส่วนใหญ่)คือ อะไรล่ะ?
สั่นๆง่ายๆ"ตลาดแรงงาน"ไงครับ
เราหมั่นฝึกฝนในสถานที่ศึกษาถึง19ปี เพื่อแลกกับความรู้โดยนำไปใช้"หาเงิน"จากอาชีพที่เราเลือก
ดังนั้น มันคงจะเป็นการไม่กล่าวเกินนัก ถ้าจะบอกว่า
พวกเราทำทุกอย่างเพื่อนำมา"หาเงิน"เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว ผ่านอาชีพที่เรารัก
.
.
คำถามคือ "รู้วิธีหาเงินแล้ว"และใหนวิธี"จัดการเงินล่ะ"
การศึกษาของไทยแม้กระทั่งทั่วโลกยังไม่มีประเทศใหนที่ใส่วิชา"จัดการเงิน"เข้ามาในหลักสูตรการศึกษาหลักอย่างจริงจัง ซึ่งทั้งหนังสือและผมก็งงเป็นไก่ตาแตกเช่นกันว่า"ทำไมถึงไม่มีนะ"(จริงๆก็รู้แหละ แต่พูดไม่ได้55)
.
.
ซึ่ง เอาจริงๆ ขอเพียงแค่ใส่เข้ามาและทุกคนได้เรียนรู้
พวกเราจะเข้าใจและสามารถบริหารจัดการเงินที่เราได้มาอย่างยากลำบากนั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก
ไม่ว่าจะเป็นการ
-หารายได้เพิ่ม
-การทำงบการใช้จ่าย
-การทำบัญชีรายรับรายจ่าย
-การประเมินความจำเป็นของสินค้า
-การวางแผนภาษี
-การวางแผนเกษียณ
-การจัดงบไปลงทุนในสินทรัพย์ชั้นดีเพื่อเพิ่มมูลค่า
-ฯลฯ
.
.
ยกตัวอย่างนะครับ หากผมมีคน3คน คือ นายA นายB และ นายC มีพฤติกรรมการเงินที่แตกต่าง โดยผมจะให้หัวข้ออธิบายเกี่ยวกับเงินเกษียณนะครับ
.
.
นายA ทำงานได้เงินเดือนละ20000บาท เขาดำเนินชีวิตแบบนักบริโภคนิยมตัวยง ใช้เงินซื้อของที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เงินเดือนเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ใช้เยอะเท่านั้น นอกจากนี้ยังทะลึ่งใช้เครดิตของตัวเอง กู้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หากนายAใช้ชีวิตแบบนี้ไปจนเกษียณคำถามคือ นายA จะมีเงินเก็บเท่าไหร่(ไม่นับกองทุนเกษียนที่บริษัทจัดทำให้) แน่นอนครับ ไม่0 ก็ ติดลบ ชีวิตหลังเกษียน ไม่ง่ายแน่ๆ
.
.
นายBทำงานได้เงินเดือนละ15000บาท เขามีความรู้ทางการเงินติดตัวนิดหน่อยจากพ่อแม่"ทำงานเต้องมีเงินเก็บ แล้วเอาไปฝากธนาคารนะลูก"สรุปคือนายBมีเงินเก็บเดือนละ1500บาท และ นำไปฝากประจำกับธนาคาร โดยเงินฝากธนาคารให้ดอกเบี้ยที่สูงใจแทบขาดประมาณ2%ต่อปี ถ้าสมมุติทำงานจนเกษียณเวลาทั้งหมดสัก43ปี(22ปี-65ปี)
นายBเงินเก็บไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณอยู่ที่ 1,225,323บาท
ดูดีทีเดียวนะครับ ว่าใหม..
แต่ ข่าวร้ายคือ เงินเฟ้อเฉลี่ยปีละ3%นะจ๊ะ
โอเคไม่เป็นเป็นไร ไปดูคนสุดท้ายกันก่อนดีกว่า
.
.
นายCทำงานได้เงินเดือนละ12000 เขามีความรู้ทางการเงินในระดับที่ดีมากๆแม้จะรายได้น้อย และ ค่าครองชีพสูง สุดท้ายเค้าพยายามเก็บออมอย่างเต็มที่เลยครับได้เงินเก็บอยู๋ที่1200บาทครับ แต่ ที่ๆนายCนำเงินไปฝากไว้ ไม่ใช่บัญชีเงินฝากครับ หากแต่ เป็นกองทุน "ดัชนีSET50"นายCทำแบบนี้ทุกเดือนครับ จนถึงอายุ65 โดยปกติกองทุนดัชนีจะมีผลตอบแทนอยู่ที่เฉลี่ยปีละ8-12%ครับ ดังนั้น เราตีต่ำสุดไปที่8
ผลออกมาจะกลายเป็นนายCมีเงินเกษียณอยู่ที่ 3,356,207บาทครับ
.
.
ทีนี้รู้หรือยังครับว่าใครสบายสุด55
.
.
จะเห็นได้ว่า
"รายได้"ก็สำคัญระดับนึง แต่ "ความรู้ทางการเงิน"ต่างหากที่สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง
.
.
ซึ่งผมขอยืนยันเลยว่า หากเราเข้าใจ(ซึ่งไม่ได้ยากเกินความสามารถแต่อย่างใด) เราจะกลายเป็นผู้มั่งคั่งได้ไม่ยากเลยครับ
.
.
ดังนั้น "ความรู้ทางการเงิน"คือ สิ่งสำคัญ ที่ทุกคนต้องเรียนรู้
ตอนนี้ พวกเราค่อนข้างโชคดีเลยนะครับ เพราะมีแหล่งความรู้ทางเลือกมากมายเลย ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ E-Book Podcast คลิปวิดีโอ บทความ ฯลฯ(ไม่ต้องอ่านตำราการเงินหนาเตอะ เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว) ซึ่งรับรองว่าสนุกและใช้ประโยชน์ได้มากมายทีเดียว
.
.
กลับมาที่หนังสือ"Richdad PoorDad" ตลอดช่วงต้นของหนังสือเล่มนี้ ย้ำเตือนหลายครั้งมาก เกี่ยวกับความสำคัญของ"ความรู้ทางการเงิน" ซึ่งผมเชื่อว่าใครได้อ่านก็จะสนใจและอยากหาความรู้ทางด้านนี้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นเหมือนผมแน่นอน ผมยังสนับสนุนเสมอนะครับ ที่จะให้ทุกคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเงิน และ ผมเชื่อเหลือเกินว่าความมั่งคั่งจะไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอนถ้าเราเข้าใจมัน
.
.
ขอบคุณ Robert T.Kiyosaki และ Sharon L.Lechter ที่ได้ร่วมกันเขียนหนังสือที่ทรงคุณค่าเล่มนี้ขึ้นมา
และขอบคุณ "โค้ชหนุ่ม" จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ผู้แปล ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ผมเคารพรัก และ เป็นผู้ที่จุดประกายทำให้ผมได้เผยแพร่สิ่งที่ผมรู้ให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่นครับ
.
.
ส่วนประเด็นที่2จะเป็นอย่างไรนั้น คราวหน้าผมจะมากล่าวถึงต่อไปครับ