19 พ.ค. 2020 เวลา 18:22 • ธุรกิจ
สิ่งที่เรียนมา กับ ชีวิตจริง ต่างกันไหม
1. ประเทศที่ปั๊มเงินออกมามากๆ สามารถทำให้ค่าไม่เงินอ่อนค่าลงได้ #นอกจากจะเต็มใจอ่อนค่าเอง
🔍 ขยายความ
หากเราร่ำเรียนในทางหลักเศรษฐศาสตร์นั้น การผลิตเงินออกมา มากกว่าปกติ จะทำให้ค่าเงินนั้นเสื่อมค่าลง
คนที่ออกกฎนี้เขาทำไปเพื่ออะไร
ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีประเทศไหนๆปั๊มออกมาเรื่อยๆได้ เพราะถ้าใครก็สามารถปั๊มเงินด้วยตนเองได้ คนขายก็ไม่กล้าขายของ เพราะไม่รู้ว่ามันจะคุ้มไม๊ เพราะคนขายก็สามารถปั๊มเงินได้ คนขายก็ไม่อยากได้เงิน อ่าววว แล้วแบบนี้ชั้นจะขายไปทำไม สู้เก็บไว้ใช้เองดีกว่า
ถ้าทุกอย่างเป็นอย่างที่ผมยกตัวอย่างข้างต้น ก็จะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น เพราะเงินมันเสื่อมค่า มันไม่มีราคา และไม่เป็นที่ต้องการของทุกคน
เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว การสร้างกฎการเงินจึงเกิดขึ้นมาเพื่อรักษาค่าของเงิน
📌 กลับเข้าสู่หัวข้อแรก ประเทศที่ปั๊มเงินออกมามากๆ สามารถทำให้ค่าไม่เงินอ่อนค่าลงได้ เขาทำยังไง
✏️ คำตอบคือ มีหลายวิธีมากครับ ผมยกตัวอย่างที่เคยเป็นมาในอดีตของอเมริกาและยุโรป ที่ออกมาตรการ QE ( คือการปั๊มเงินออกมาในจำนวนมหาศาลเพื่อประคองเศรษฐกิจ) โดยการนำเงินมหาศาลไปซื้อตราสารหนี้ของรัฐบาลตนเอง นำเงินไปออกเป็นบอร์นให้คนต่างชาติมาซื้อ การนำเม็ดเงินมหาศาลไปซื้อหุ้นในตลาดหุ้นตัวเองและไปซื้อหุ้นต่างประเทศ นำเงินไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ภายในและภายนอกประเทศตัวเองหรือแม้กระทั้งเอาไปให้ธนาคารที่ขาดสภาพคล่องได้ใช้เงินนั้น พูดง่ายๆคือปล่อยเงินกู้ให้ธนาคารนั่นเอง แล้วธนาคารก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยคืนด้วยนะ
การที่เงินได้ปั๊มออกมานั้น มันไม่ได้ออกมาโดยการพิมพ์เป็นธนบัตรที่ทำด้วยกระดาษ หรือออกมาเป็นเงินเหรียญ แต่การปั๊มมันออกมาในรูปแบบดิจิตอล เงินดังกล่าวจึงเห็นแค่ในตัวเลขบัญชีงบดุล เมื่อเงินที่มองไม่เห็นไปกระจายตามที่ต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยการซื้อสินทรัพย์ การที่เงินจะอ่อนค่ามันเลยไม่เกิดขึ้น เพราะเงินเหล่านั้นไม่ได้กระจายให้กับทุกคน
กลับเข้าสู่ตัวอย่างข้างต้น ถ้าสมมติจะทำของออกมาขายให้คนอื่น ถ้าคนขายยังปั๊มเงินเองไม่ได้ เขาก็ยังต้องการเงิน เพราะฉะนั้นเงินเลยยังเป็นที่ต้องการอยู่ เมื่อเงินยังเป็นที่ต้องการของคนหมู่มาก เมื่อนั้นค่าเงินมันก็ยังเท่าเดิม ไม่อ่อนค่าอย่างที่เรียนมา
🔍 ถ้าให้พูดง่ายกว่านั้นคือ การทำเงินปลอมขึ้นมาให้ใช้จ่ายได้จริงๆนั่นเอง ไม่มีคำว่าอ่อนค่าแข็งค่า มีแต่คำว่าซื้อกับขาย
Back to basic #
2. พูดถึงเรื่องใกล้ตัวเข้ามาอีกหน่อย คือการบินไทย ได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าดำเนินธุรกิจขาดทุนเป็นจำนวนมหาศาลติดต่อกันและยื่นเรื่องต่อศาลล้มละลายเพื่อเข้าสู่แผนฟื้นฟู
หากเราเรียนมา การที่บริษัทนึงดำเนิรธุรกิจขาดทุนและยอมล้ม ใครก็มองว่าไม่น่าลงทุน ใครก็มองว่าเจ๊ง แต่วันนี้มันกลับกัน เพราะมีคนจำนวนมากเชื่อว่ามันคือข่าวดี เชื่อว่ามันจะดีขึ้น เชื่อว่าในอนาคตบริษัทจะทำกำไร เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วหุ้นของบริษัทจึงดีดตัวสูงขึ้น ทั้งที่บริษัทกำบังจะล้มละลาย
เรามองเห็นอะไรจากตรงนี้บ้าง
หากยังมองไม่เห็นจะยกตัวอย่างอีกบริษัทนึงอย่างMint ที่เป็นเจ้าของเฟรนด์ไชด์ในไทยอย่าง The Pizza Company, Swensens, Burgur King, Dairy Queen รวมถึงโรงแรมชั้นนำอีกมากมาย ได้ออกมาประกาศเพิ่มทุน
แน่นอนหากเราเรียนมา การเพิ่มทุน คือการทีีบริษัทซึ่งปกติสมมติ มีทุนบริษัทอยู่100บาทแบ่งหุ้นออกเป็น100หุ้น หุ้นละ1บาท ต่อมาเพิ่มทุน( โดยการออกหุ้นใหม่อีก100หุ้น ... แน่นอนจากทุนบริษัท100บาท ต่อมามีหุ้นบริษัทอยู่200หุ้น ดังนั้นราคาหุ้นจะต้องราคาหุ้นละ50สตางค์
เมื่อใครก็ตามถือหุ้นราคา1บาทอยู่ อยู่ๆบริษัทประกาศจะเพิ่มทุน คนที่ถือหุ้นราคา1บาทก็ตะกลายเป็นราคา50สตางค์ เพราะฉะนั้นก่อนที่บริษัทจะนำหุ้นใหม่เข้ามา ต้องรีบขายออกสิ จะเก็บไว้รอขายตอนขาดทุนทำไม
แต่นี่ไม่ใช่กับชีวิตจริง เมื่อหุ้นMint ประกาศเพิ่มทุนเพื่อต้องการเงินทุนมาเสริมสภาพคล่องในช่วงโควิทนี้ นักลงทุนกลับมองว่าเป็นทางออกที่ดีและแน่นอนมีความเชื่อว่าบริษัทMint จะต้องกลับมาทำกำไรอย่างแน่นอน
หลายบริษัทในตลาดหุ้นก็เคยทำแบบนี้คือการเพิ่มทุน แต่ยังรักษาราคาหุ้นได้ เช่น โฮมโปร และซีพี
📌 วันนี้เรามองเห็นอะไรในเรื่องการเงิน
คำตอบคือ เรามองเห็นความเชื่อครับ
ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนไปด้วยความเชื่อ และใครก็ตามที่ทำให้คนหมู่มากมีความเชื่ออย่างเดียวกันได้ เมื่อนั้นคุณก็จะกลายเป็นคนคุมเกมส์และเป็นผู้ชนะ
ถ้าคุณอยากจะทำอะไรให้ประสบความสําเร็จ ขอแค่คุณมีความเชื่อ และทำความเชื่อให้มันเป็นจริงได้และคนอื่นยอมรับ เมื่อนั้นคุณคือผู้ชนะ
ถ้าคุณทำสำเร็จแต่ไม่มีใครยอมรับ มันก็เหมือนคนที่ตัดต้นไม้ในป่า ต่อให้ต้นไม้ล้ม ถ้าคนอื่นไม่เห็น พวกเขาก็ไม่ยอมรับว่ามันล้มอยู่ดี
โฆษณา