20 พ.ค. 2020 เวลา 02:21 • บันเทิง
บทสัมภาษณ์ อภิชาตพงษ์ วีระเศรษฐกุล (ปี 2005) ใน The Guardian ตอนที่ 1
ยัติภังค์ แปล
ภาพจากเว็บ Kick The Machine
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 โจนาธาน มาร์โลว นักทำหนัง และนักเขียนของ Green Cine แห่งอังกฤษ ได้สัมภาษณ์คุณเจ้ย หรือ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล นักทำหนังอีกคนที่สร้างชื่อให้ประเทศไทย(แต่งานของเขาไม่ค่อย จะได้รับการตอบรับในประเทศเรานัก) ลงหนังสือพิมพ์ The Guardian ของประเทศอังกฤษ ในโอกาสที่เมืองผู้ดีแห่งนี้จะจัดงานฉายหนังของเขากัน เรามีบทสัมภาษณ์มาให้ได้อ่านกันครับ
แนวทางแบบ อภิชาตพงษ์
ผลงานส่วนใหญ่ของคุณผสมผสานระหว่างสารคดีกับเรื่องแต่งเข้าด้วยกัน คุณสนใจในการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้ยังไง?
ผมไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ เลย มันเกิดขึ้นของมันเองเพราะชอบที่จะเฝ้ามองในสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น ชอบที่มองผู้คนเดินผ่านไปมา กินข้าว เหมือนเหตุผลที่ผมชอบงานของ แอนดี้ วอร์ฮอล(ศิลปินป๊อปอาร์ทที่โด่งดังทศวรรษ 70’s) มันเหมือนการเฝ้ามอง สำรวจว่าจะเกิดอะไรขึ้น และผู้ชมก็สร้างจินตนาการด้วยตัวเองได้ คล้ายๆ แบบนั้นมากกว่าที่จะวางแผนสร้างทฤษฎีหรืออะไรก็ตาม แค่ผมเกิดความสนใจในการสำรวจชีวิต
คุณมีโอกาสชมหนังของวอร์ฮอลเมื่อไหร่ ?
จริงๆแล้วผมไม่เคยชม หรอกครับ แค่อ่านจากหนังสือและตอนที่อยู่อเมริกา ผมมีข้อมูลหนังและประวัติของเขามากพอ คิดว่าดีกว่านะที่ผมสามารถมองหนังของเขาจากแง่มุมและความคิดของตนเอง
ถ้าข้อมูลไม่ผิดคุณจบด้านฟิล์มจาก Art Institute of Chicago โดยเรียนในปี 94-97 คุณตัดสินใจเรียนต่อที่ชิคาโกนี้ได้ยังไง?
ช่วง ที่อยู่เมืองไทย ไม่มีโรงเรียนด้านหนังที่ผมสนใจ และตัวเองก็ยังไม่รู้นักหรอกว่าต้องการแบบไหน แล้วชิคาโกเป็นที่สุดท้ายที่ถึงช่วงปลายของกำหนดการับสมัครพอดี คิดว่าผมโชคดีที่เรียนที่นี่ อย่างที่บอกไปว่าไม่รู้ว่าต้องการแบบไหนหรอก โรงเรียนหนังที่ไหนในสหรัฐฯก็คงจะดี แล้วที่ชิคาโกผมก็ได้พบหนังทดลองต่างๆ และทำให้คิดว่าได้ว่า “นี่แหละที่ผมปรารถนา แต่ไม่สามารถอธิบายมันออกมาได้”
คุณเรียนจบด้านสถาปัตย์มาก่อนเหรอ?
ใช่ครับ เพราะผมเคยมีพื้นเพและอาศัยที่ขอนแก่น และสาขานี้เพิ่งเริ่มเปิด ผมรู้ว่าผมต้องการสร้างหนัง แต่ไม่มีโรงเรียนด้านนี้ และรู้สึกว่าสถาปัตย์ตอนนั้นก็น่าสนใจสำหรับผมมาก และมันยังใช้ประโยชน์จนถึงทุกวันนี้
วิชาด้านสถาปัตย์ช่วยในการสร้างหนังของคุณได้เหรอ?
แน่นอนครับ จนถึงทุกวันนี้ ผมพบสิ่งที่คล้ายกันมากในศาสตร์แขนงนี้และโครงสร้างในหนังทดลองของอเมริกา แม้แต่เดี๋ยวนี้เมื่อผมคิดจะทำหนังมันก็ช่วยได้ในส่วนโครงสร้าง มองที่ภาพรวมเหมือนงานก่อสร้างอาคาร และในส่วนกายภาพ ในเรื่องพื้นที่โดยเฉพาะกับหนังแล้ว…จะว่าอย่างไรดีมันเหมือนตอนที่คนดู เดินผ่านอาคาร คุณจะให้อะไรกับพวกเขาล่ะ มุมตรงน้น ขนาดความใหญ่ของพื้นที่ มันเอามาประยุกต์ได้โดยตรงเลยเมื่อต้องสร้างหนัง
Windows หนังสั้นของอภิชาตพงศ์
ตอนที่กลับเมืองไทย คุณได้มีส่วนในงาน Bankok International Art Film Festival ครั้งแรกซึ่งต่อมาภายหลังคืองาน Bangkok Experimental Film Festival ผลที่สุดคุณได้สนับสนุนคนทำหนังรุ่นใหม่ที่สนใจหนังแนวทดลองด้วยกันใช่มั้ย
ผลตอบรับที่ได้ค่อนข้างดีแม้จะไม่มีคนมากนัก เราได้คนที่เก่ง ผู้ชมที่ดี หนึ่งในคนเหล่านี้จะกลายเป็นคนทำหนัง และพวกเขาจะยังอยู่ในกิจกรรมด้านนี้ ก่อนที่จะทำเทศกาลหนังนั้นยังไม่เคยมีการจัดงานแบบนี้ในไทย หลังจากนั้นจึงมีงานเทศกาลอื่นตามมา บางทีผมคิดว่าคนที่จัดก็กำลังคิดเหมือนกันแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ หรือเมื่อเราทำมันเราทำให้พวกเขามั่นใจที่จะทำเหมือนกัน
แต่ก่อนที่คุณทำงานด้าน Video Installation(งานศิลปะวิดีโอแนวติดตั้งจัดวาง) คุณบอกว่าต่างจากที่คุณทำหนังหรือ ?
ก็ต่างบ้างเหมือนบ้างครับ สิ่งที่คล้ายคือเนื้อหาและแนวคิดหลักนั้นเหมือนกัน แต่ในงานวิดีโอนั้นให้อิสระกับผมากกว่า แสดงความรู้สึกได้มากและยังกลายเป็นว่าช่วยร่างแบบให้กับหนังของผม เป็นนามธรรมและทดลองได้กับสิ่งต่างๆ, วิดีโอ และไม่ต้องใช้คนมากมายอะไรแค่ผมกับกล้อง เป็นงานส่วนตัวมาก และถือเป็นวิธีที่ดีทีเดียวสำหรับการสำรวจและเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกแท้ๆ สำหรับหนังสักเรื่อง
ผลงานหนังสั้นเรื่องแรกของอภิชาตพงษ์ความยาว 30 นาที Like the Relentless Fury of The Pounding ซึ่งมีส่วนคล้ายกับหนังขนาดยาวเรื่องแรกอย่าง “ดอกฟ้าในมือมาร” หนังเล่าเรื่องโดยให้เสียงจากวิทยุเป็นตัวสร้างให้โลกแห่งความจริง หลอมรวมกับโลกที่เป็นเรื่องแต่งในวิทยุ
คุณบอกว่าหนังสั้นเรื่องแรกเป็นจุดเริ่มการกำกับหนังครั้งแรกของคุณ ใช่ไหม แต่มันก็ดูต่างจากหนังเรื่องแรก เมื่อเทียบ Like the Rentless Fury of the Pounding Waves คุณสำรวจในเรื่องเวลาและที่ว่างซึ่งคล้ายกับเรื่อง Mysterious Object at Noon(ดอกฟ้าในมือมาร) แต่มันก็แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนเหมือนกัน
ครับ แต่กับผมทั้งสองเรื่องนั้นมีสิ่งที่เหมือนกัน คือผมลองที่จะสร้างความรู้สึกด้วยกล้องและวิธีจะสำรวจเหตุการณ์ในชีวิตได้ อย่างไร หนังสั้น(Rentless) เหมือนกับที่คิดเอาไว้น้อยมาก แต่ได้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทันที ซึ่งเหมือนกับวิธีการทำงานใน Mysterious ซึ่งก็ยังคงใช้วิธีการทำงานแบบนี้จนถึงปัจจุบัน
คล้ายว่าการสร้างงานของคุณเน้นการท้าทาย เหมือนกับในอเมริกาจากวิธีที่มันจะเป็นสารคดีก็ไม่เชิง คล้ายกับการท้าทายในงานศิลปะของ Marcel Duchamp และ Joseph Cornaell ขณะเดียวกันคุณก็ได้สร้างกระแสใหม่ๆ ให้กับภาพยนตร์ไทยคล้ายกับที่เกิดขึ้นทั่วโลกในยุค 60s คุณพบเห็นอิทธิพลหรือแรงบันดาลใจที่เกิดจากงานของคุณในหนังของคนไทยคนอื่น หรือยัง ?
ก็พบเห็นครับ หมายถึงอิทธิพลของผมด้วยใช่มั้ย
เพราะว่าไม่มีหนังอินดี้ในประเทศไทยก่อนหน้าหนังของคุณ แต่ตอนนี้คุณเห้นว่าผู้คนเริ่มรู้พบความเป็นไปได้ที่หนังของพวกเขาสามารถฉาย และลงมือทำมันได้ตัวเองได้เหมือนกันหรือเปล่า ?
ครับ เดี๋ยวนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาที่ใครจะทำหนังได้ เพราะมีกล้องวิดีโอสำหรับพวกเขา ก่อนนั้นมันมีข้อจำกัดมากด้านอุปกรณ์ แต่เดี๋ยวนี้เด็กวัยรุ่นหลายคนกำลังทำหนัง เมื่อ 5-6 ปีก่อนคนส่วนใหญ่ยังทำหนังที่เน้นสไตล์ส่วนตัวที่ละเลยด้านสังคม แต่ตอนนี้มีคนมากมายคุยกันเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งดีกว่าเพราะสะท้อนถึงสังคมที่เราอยู่ โดยส่วนตัวถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่มีงานแบบนี้มากขึ้น และค่ายหนังในไทยเองก็เริ่มติดต่อจ้างผู้กำกับใหม่ๆ ให้มาทำหนังวิดีโอ และไปสร้างหนัง หรือหนังทุนต่ำ ผมว่าวิธีการสร้างหนังแบบผมทำให้เกิดจุดแข็งแบบนั้นได้
มันคงไม่เจ็บปวดนักถ้าหนังของคุณได้รับการตอบรับที่ดี ตัวหนังได้รับการยอมรับและความชื่นชมอย่างดีทั่วโลก ความสัมพันธ์ของคุณกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์มันแย่ตั้งแต่เริ่มทำเรื่อง “ดอกฟ้าในมือมาร”แล้วใช่มั้ย ?
ใช่ครับ
ผลงานขนาดยาวเรื่องแรกความยาว 83 นาที “ดอกฟ้าในมือมาร” หรือ Mysterious Object at Noon ที่ทดลองการนำเรื่องเล่า กับเรื่องแต่งผสมผสานเข้าด้วยกัน เล่าเรื่องที่เกิดจากการต่อกันตามคำบอกเล่าเรื่อง “ครูดอกฟ้า” ของแต่ละคนที่ต่างความคิดกันไป โดยไม่มีนักแสดงอาชีพ ถือเป็นหมุดแรกๆ ของกระแสงานสร้างหนังอินดี้ในเมืองไทย
อะไรเป็นจุดเริ่มต้นในแนวคิดของหนังเรื่องแรกของคุณที่ทำให้เกิด เทคนิคการเล่าเรื่องที่มาจากการอ้างถึงบุคคลคนหนึ่ง เกิดในช่วงถ่ายทำหรือเปล่า ?
มันเป็นแนวคิดหลักตั้งแต่เราเริ่มทำ หนังกันเลย และมีอยู่ในหนังทั้งเรื่องครับ
การเดินทางเพื่อสร้างงานชิ้นนี้มันทำให้เป็นไปตามแผนที่ว่านั้น ได้อย่างไร หรือมันเกิดขึ้นอย่างอิสระขณะที่คุณตระเวนเดินทาง
ที่ เราแค่รู้ว่าเราจะตระเวณจากเหนือไปใต้ แต่ตามความจริงเลยเราเพิ่งจะมีแผนเมื่อเราไปในแต่ละเมือง แต่ละจังหวัด ในภาคเหนือเราเริ่มจากที่ภูมิประเทศ เช่น เห็นชาวนาแล้วเราก็เริ่มถ่ายทำ จากนั้นก็ เอ้า เริ่มทำให้เป็นรูปเป็นร่างกันเลย
มีสิ่งที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นมั้ยตอนที่ทำงานชิ้นนี้ หรือมีอะไรแปลกๆ หรือเปล่าตอนที่ถ่ายทำ ?
มีครับ เกี่ยวกับคนที่มาเล่าเรื่องเพราะเราเปิดโอกาสให้เขาเล่า เช่น เด็กๆ นั้นมีจินตนาการและเปิดกว้างมาก ผมว่าทราบทีหลังว่ามันเป็นอิทธิพลจากวิถีชีวิตนั่นเอง พวกเขาเป็นเด็กนักเรียนจึงมีอิทธิพลจากหนังสือการ์ตูน,โทรทัศน์มาก พวกเขาแค่อยากสนุกและนึกถึงภาพต่างๆ เราไม่ได้นึกถึงเรื่องประเด็นสังคม หรือทำมันให้เป็นสารคดีกึ่งเรื่องแต่งเลย ชีวิตผู้คนที่เกี่ยวข้องกับสังคมมันส่งในหนัง และทำให้เรื่องราวน่าสนใจขึ้นเอง
คุณมีทีมงานในเรื่อง Mysterious Object at Noon กี่คน?
ประมาณ 10 คนได้
แล้วนั่นใช้เวลาถ่ายทำกี่สัปดาห์ ?
เราเดินทางไปหลายที่มากจน ผมเองก็บอกไม่ได้ บางทีคงประมาณ 20-30 คนที่ได้ถ่ายไป หรือแค่ 10 คนขึ้นอยู่กับงบและแต่ละเขตพื้นที่ ผมไม่ได้มีอาสาสมัครทุกครั้ง การเดินทางไปภาคเหนือเคยมี 20 คน พอหยุดถ่ายในกรุงเทพฯ ก็เปลี่ยนทีมงาน เป็นลักษณะอย่างนั้น
รางวัลที่ สร้างความมั่นใจ
คุณนำกลับมาตัดต่อหนังเรื่องแรกนานเท่าไหร่ ? คิดว่านานนะผมนึกภาพคุณกับกองฟิล์มจำนวนมหาศาลเลย
ครับนานมาก ประมาณ 3 เดือนได้มั้ง ไม่แน่ใจแต่ถือว่านานเอามากๆ เราเริ่มนั่งในห้องตัดต่อและก็สับเปลี่ยนกันไปมา บางทีเราก็ตัดออกทั้งเรื่อง ผมตัดกับ ม.ล.มิ่งมงคล แต่แล้วช่วงหนึ่งเธอก็เลิกไป แต่มันก็ยังดีเพราะเราได้รับการสนับสนุนจากบริษัทตัดต่อแห่งหนึ่งใน กรุงเทพฯ ซึ่งผมก็ใช้เวลาตลอดทั้งเดือนทำทุกอย่างด้วยตัวคนเดียว
I-San Special หรือ คืนวันพระจันทร์เต็มดวง ผลงานเรื่องแรกของ ม.ล.มิ่งมงคล โสณกุล ที่เขามีส่วนร่วมกับเรื่อง หนังเป็นการผสมผสานเรื่องแบบสมจริงในรถบัสคันหนึ่ง กับเรื่องแต่งจากละครวิทยุ
โฆษณา