20 พ.ค. 2020 เวลา 02:40
บทสัมภาษณ์ อภิชาตพงษ์ วีระเศรษฐกุล (ปี 2005) ใน The Guardian ตอนที่ 2
ยัติภังค์ แปล
คุณร่วมงานกับ ม.ล.มิ่งมงคลได้ยังไง ?
น่าจะเป็นตอนเรื่อง “ดอกฟ้าในมือมาร” ผมอยากได้สำนักงาน ทีมบันทึกเสียงเลยแนะนำให้รู้จักเธอซึ่งเพิ่งจะเปิดบริษัทหนัง ผมเลยขอร้องเธอให้มาช่วยงานด้วยครับ
แล้วคุณไปร่วมในงานเบื้องหลังของ I-San Special หนังเรื่องแรกของเธอได้ยังไง ?
คิดว่าผมแค่ชอบขับรถ, อยู่ในรถ เคลื่อนไปและมีอะไรผ่านสายตา และมีอะไรน้ำเน่าๆ ปนอยู่ด้วย ก็คิดแค่รวมเอาสองอย่างนี้ไว้ด้วยกัน ความจริงผมอยากจะทำหนังเรื่องนี้ แต่เธอขอทำไปเสียก่อน
แล้วคิดว่าคุณอยากจะทำหนังเรื่องนี้อีกแบบหรือเปล่า ?
ใช่ครับ อยากทำ
คุณมีสมุดจดบันทึกไอเดียมากมายระหว่างทำงานหรือเปล่า ? คุณเริ่มสร้างงานชิ้นใหม่ๆ ได้ยังไง ? อย่าง I-san Special ที่เธอนำเรื่องไป คุณได้เขียนบทหรือแค่ทรีทเม้นต์สำหรับเรื่องต่างๆ เหล่านั้นมั้ย?
มีหลายแนวทางเพราะผมเคยไปบริษัทสร้างภาพยนตร์ซึ่ง เขียนบทแบบ Soap Opera แล้วผมก็ขอบทพวกนั้นมาลอกมันโดยตรงจากนักเขียนเลย
คุณทำอย่างนั้นเลยหรือ ?
ใช่ครับ ผมไม่ได้เขียนหรอก แล้วนำมาดัดแปลงใหม่บนรถที่กำลังแล่นอยู่ และดัดแปลงบางบทสนทนา และการกระทำบางช่วงให้แสดงบนรถโดยสาร พอ ม.ล.มิ่งมงคลเริ่มถ่ายทำ เธอก็มีบทสนทนาเตรียมไว้พร้อมอยู่แล้ว โดยเธอได้เพิ่มรายละเอียดใหม่ๆ ไปเช่น ตัวละครหลักที่กำหนดให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ร้าย จากไอเดียแรกของผมมันจะพุ่งไปข้างหน้าและเกิดเหตุการณ์ในรถโดยไม่มีการหยุด เลย และไม่มีผีอย่างในเรื่องนั้น
ใช่ๆ ถือว่าแปลกที่มันมีผี
มันมีอะไรแบบนี้บนรถประจำทางเสมอ ครับ แต่แรกเริ่มเลยรถจะหยุดที่หมู่บ้านและทุกคนจะเดินออกไปที่หมู่บ้านพวกเขา เราจะตามไปประมาณ 10 นาที ติดตามชีวิตความเป็นอยู่ แต่อย่างไรไม่ทราบชีวิตพวกเขามันดูเมโลดราม่ามากครับ
สุดเสน่หา เจ้าของรางวัลจากสาย Uncertain Regard ในคานส์ปี 2002 หนังดำเนินเรื่องอย่างเชื่องช้า ราบเีรียบ และแหวกขนบของหนังทั่วไปหลายอย่าง เช่น การเปิดเครดิตช่วงเกือบกลางเรื่อง, การนำภาพวาดมาประกอบ, ฉากร่วมเพศที่ค่อนข้างดิบ จนถูกฉายแบบจำกัดโรงในไทย และถูกตัดใหม่แม้ในตอนวางจำหน่ายเป็นดีวีดี
สุดเสน่หา
เฮ้ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลย ที่คุณทำในช่วงกลางเรื่องของ “สุดเสน่หา” วิธีการในหนังกับทุกอย่างที่คุณทำมันเท่และดูดีชะมัด คุณยังเล่นกับโครงสร้างของหนังอีก ผมทึ่งเลยเมื่อเห็นการเปิดเครดิตตอนที่หนังผ่านไปได้ 1 ใน 3 ของเรื่อง คุณผิดหวังมั้ย หรือไม่ประหลาดใจเมื่อหนังถูกตัดในประเทศไทย(และฉายแบบจำกัดโรง) ?
ผม รู้สึกผิดหวังที่ทั้งหนังถูกตัดก่อน และถึงมันจะไม่ถูกตัด ดีวีดีและวีซีดีก็ถูกตัด ฉบับที่พวกเขาเผยแพร่นั้นผมไม่คิดว่าเป็นหนังของผมเลย สีก็ผิด และยังถูกตัดต่อใหม่ ในแง่ดีผมอาจจะดีใจที่มันถูกตัด แต่มองอีกแง่มันแย่มาก การตัดเพราะมีฉากเกี่ยวกับเรื่องเพศ แถมมันยังถูกตัดใหม่อีก
คุณนึกถึงการทำตามข้อจำกัดเหล่านั้นหรือเปล่าเมื่อตอนที่ถ่ายฉากเหล่า นี้ แม้มันจะสำคัญกับเรื่องราวทั้งหมด ?
เราแค่คิดว่าเราทำหนังที่ เราอยากทำ และเพราะการทำหนังมันเป็นเรื่องน่าเบื่อหากต้องทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ ผมต้องหาทางจุดร่วมที่ไม่ให้ออกมามากเกินไปและต้องมีผลที่แตกต่างด้วย เช่น การเปิดเครดิตซึ่งมักจะมาในเริ่มเรื่อง แต่เมื่อเราดูซ้ำอีกทีมันเกิดความรู้สึกว่าควรจะนำมาใส่ไว้ในช่วงกลางๆ แนวคิดนี้ไม่ได้อยู่ในแผนแต่ต้น นี่แหละเมื่อไหร่ที่เราทำหนัง เราจะเปิดรับความเป็นไปได้เสมอตราบเท่าที่มันให้ผลดีกับเรา เราแค่ทำตามที่คิด ผมโชคดีที่มีโปรดิวเซอร์ในหนังทุกเรื่องเปิดกว้างและปล่อยให้ทำอย่างที่ต้อง การ และเขาก็อยากให้เป็นอย่างนั้นด้วย
เมื่อผมอ่านเรื่องเกี่ยวกับหนังครั้งแรกนั้น ผมเข้าใจเอาว่าช่วงขึ้นเครดิตนั้นอยู่ในที่ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ ทำเอาผมนึกไปถึงประสบการณ์แรงๆ แบบหนัง ฌอง ลุค โกดารด์ ในแนวคิดเรื่องการนำตัวหนังสือมาใช้กับภาพ แต่เมื่อดูในหนังก็พบว่าเครดิตที่ขึ้นมานั้น มันเหมาะอย่างยิ่งต่อการเริ่มทิศทางของเรื่องจากจุดนั้น และเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติมากๆ
หัวใจทรนง หรือ The Adventure of Iron Pussy ผลงานชิ้นที่ 3 ที่กำกับร่วมกับ ไมเคิล เชาวนาศัย จากตัวละครที่โดดเด่นในหนังสั้นของไมเคิล กลายเป็นงานตลกล้อเลียนหนังไทยยุคเก่า กับปฏิบัติของวีรสตรีชื่อหวาดเสียว ซึ่งฉายจำกัดโรงในไทยเช่นกัน โดยได้เสียงตอบรับก้ำกึ่ง
หนังเรื่องที่สามที่คุณได้กำกับร่วมกับ ไมเคิล เชาวนาศัยใน “ไอออน พุซซี่ (หัวใจทรนง)” น่าเสียดายผมยังไม่ได้ดูเรื่องนี้เลย ไมเคิลจบจากสถาบันศิลปะที่ซานฟรานซิสโก และมีส่วนในการสร้างหนังเรื่องนี้แต่แรก ม.ล.มิ่งมงคลก็เรียนที่นี่ อะไรที่ดึงดูดให้พวกเขาทั้งคู่มาเรียนที่นี่ โอกาสที่พวกเขาได้รับหรือ ?
ก็ คงอย่างนั้นครับ ผมไม่รู้นะ ผมก็เกือบเลือกที่นี่เหมือนกันในครั้งแรก
แต่มันเลยกำหนดไปเสียก่อนเหรอ ?
เกี่ยวกับเงินทุนที่ไม่เอื้อ ให้ไปเรียนครับ ผมเคยไปเมื่อปีที่แล้วและรู้สึกต่างจากเมืองอื่นในสหรัฐฯ มีความเป็นเสรีและมองออกว่าทำไมสองคนนั้นถึงต่างจากคนอื่น แต่ไม่เคิลไปที่ชิคาโกในตอนหลัง ซึ่งทำให้ผมได้รู้จักกับเขา
ได้ยินว่าคุณกับไมเคิลจะร่วมงานกับอีกในภาคต่อของ ไอออน พุซซี่ หรือในงานอื่นอีก ?
เราก็หวังว่าอย่างนั้นครับ ก็คิดจะสร้างไออน พุซซี่ เป็นอนิเมชั่นแบบญี่ปุ่น สไตล์แบบเก่าๆ แต่เรายังหาเงินทุนอยู่
คุณได้มองหาแหล่งเงินทุนในญี่ปุ่น หรือที่ไหนบ้างมั้ย ?
เราหา ในญี่ปุ่น และหาจากค่ายหนังไปด้วย พร้อมๆ กับที่ทำอะไรหลายอย่างๆ ไปด้วย
แล้วยังได้จัดแสดงงานติดตั้งจัดวางที่ไหนอีกมั้ย ตอนที่ยุ่งขณะนี้ ?
ผมพยายามจะเน้นไปที่หนังแต่มันคงยาก เพราะมีงานอื่นๆ ที่รายได้ดีกว่าทำหนังอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น Video Installations ด้วย
แนวทางอย่างคุณ, ไมเคิล(เชาวนาศัย ศิลปินและนักแสดงในหนังเรื่อง “หัวใจทรนง”) และ ม.ล.มิ่งมงคลทำอยู่นั้นแตกต่างจากทางของผู้กำกับที่ผ่านงานโฆษณาอย่าง วิศิษฐ์ ศาสน์เที่ยง และเป็นเอก รัตนเรือง มีอะไรมั้ยที่เหมือนกันระหว่างงานที่เขาทำ กับที่คุณทำอยู่ ?
ผมว่า มันเป็นเรื่องน่าทึ่งนะ วิศิษฐ์ และเป็นเอกนั้นมีบุคลิกชัดเจนที่ไม่ใช่ลักษณะด้านพาณิชย์ ก็มีทางเป็นไปได้ที่ จะได้ร่วมงานกันบางโอกาส
หลังจาก “สัตว์ประหลาด” ทำให้คุณได้รับรางวัลพิเศษจากคณะกรรมการที่คานส์ ถือเป็นการรับรองหนังของคุณได้ทันที ยากนะที่จะมีใครได้รับการกล่าวถึงจากการทำหนังเพียง 4 เรื่อง คุณรู้สึกยังไงบ้าง ?
ก็รู้สึกเป็นหนังในการประกวดแค่นั้นพอแล้ว ขณะที่ได้รับรางวัลก็รู้สึกดีแต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมากมายแค่ “โอเค ได้ประกวดแล้วผมดีใจ” ทั้งที่มันอาจจะได้เร็วเกินไปด้วยซ้ำ ไม่รู้สินะ แต่ตอนนี้ก็มีความเชื่อมั่นในการทำหนังและโดยส่วนตัว คิดว่ารางวัลมีส่วนช่วยให้เกิดความรู้สึกนั้น
สัตว์ประหลาด(Tropical Malady) เจ้าของรางวัล Jury Prize จากคานส์ปี 2004 หนังที่ได้เสียงวิจารณ์แตกต่างกันสุดขั้วในงาน และกลายเป็นหนังที่ได้รับการโหวตเป็นอันดับ 1 ในปีที่ผ่านมาจากนิตยสาร Cahier de Cinema
อย่างนั้นก็ดีสิ
ตอนนี้ผมไม่คิดว่าต้องการทำหนังสำหรับเทศกาล ซึ่งก็มีส่วนของกระบวนการด้านการตลาดด้วย ซึ่งผมไม่แน่ใจ ขอบอกว่าผลของความกดดันและความคาดหวังจากโปรดิวเซอร์ของหนังในคานส์และหนัง ในเทศกาล ผมคิดว่าสิ่งเหล่านั้นมันผ่านและจบไปแล้ว ตอนนี้เราแค่ทำหนังโดยไม่ต้องคิดว่า “นี่แหละหนังสำหรับเทศกาล” มันมีอิสระมากขึ้น
เขากำลังจะฉายหนังเรื่องนี้ในอเมริกาและดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ของ คุณกับ มาร์คัส ฮู ที่นั่นเป็นไปได้ด้วยดี หนังของคุณอาจได้ฉายให้คนดูในวงกว้างขึ้น คุณคิดว่าเขาจะยังนำ “สุดเสน่หา” มาลงวิดีโอไหม หรือยังไม่เสร็จดี ?
เหลือแค่ผมจะส่งดีวีดีให้เขาจาก ที่กรุงเทพฯ แต่ยังต้องคอยด้วยว่าทางบริษัททราบเรื่องก่อน ผมจึงจะส่งให้มาร์คัสได้ ก็ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ดีครับ
ตอนนี้คุณมีโครงการอื่นที่เริ่มทำบ้างแล้วหรือยัง?
ผมถ่ายทำ งานวิดีโอขนาดสั้นให้เกาหลี ความยาว 40 นาทีชื่อว่า Worldly Desires เกี่ยวกับป่าในอนาคต เป็นเรื่องที่เหล่าต้นไม้ในป่านึกถึงมนุษย์ที่มาถ่ายมิวสิควิดีโอ เป็นอย่างนั้นทุกวันและทุกคืน มันเพลิดเพลินกับสิ่งเหล่านั้น เป็นหนังทดลองที่จะถ่ายทำเดือนนี้ และผมก็มีแผนที่จะทำหนังเรื่องต่อไปที่ยังไม่ตั้งชื่อ เกี่ยวกับพ่อแม่ของผม เรื่องราวของพวกท่านก่อนที่จะจากไป
คุณจะถ่ายทำที่ขอนแก่นใช้มั้ย?
ครับแต่ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะเราต้องการเมืองเล็กๆ แต่ขอนแก่นตอนนี้เจริญไปมากแล้ว
แล้วคุณจะหาเมืองนี้ได้ที่ไหนล่ะ?
ในหนัง ผมคิดไว้ว่าจะนำเรื่องหมอดูที่มองเห็นอดีตชีวิตพ่อแม่ แล้วนำเรื่องราวในอดีตเหล่านั้นของท่านรวมเข้ากับภาพจริงๆ
บทสัมภาษณ์ยังทิ้งท้ายว่าหนังเรื่องใหม่เขาจะเริ่มถ่ายทำหนังเรื่อง ดังกล่าวในเดือนกันยายน – ตุลาคมปีที่สัมภาษณ์
ขอขอบุคณข้อมูลและภาพจาก Kick The Machine
ผลงานเรื่อง ต่างๆ ของอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล
ข้อมูลทั่วไป ของ อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล
รายละเอียดผลงาน เรื่องใหม่ Worldly Desires
หนังสือพิมพ์ The Guardian
โฆษณา