Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มูลนิธิหมอชาวบ้าน
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2020 เวลา 06:02 • สุขภาพ
:: เหนื่อยหอบแน่นหน้าอก แยกอย่างไร? โรคหัวใจ หรือ COVID-19 ::
โรคเดียวที่พูดถึงกันไปทั่วโลกในขณะนี้
หนีไม่พ้นเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
ซึ่งเกิดจากเชื้อ SARS Coronavirus-2 มาตั้งแต่ปลายปี 2562
โดยหนึ่งในอาการของการติดเชื้อ COVID-19 คือ เหนื่อยหอบแน่นหน้าอก
ซึ่งใกล้เคียงกับอาการของโรคหัวใจบางประเภท
เรามาดูวิธีสังเกตอาการว่าจะแยกออกจากโรคหัวใจได้อย่างไร
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการของการติดเชื้อโรค COVID-19
คือ การติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ
โดยจะมีอาการที่ทางเดินหายใจส่วนบนเป็นอันดับแรก เช่น
ตัดจมูก น้ำมูกไหล ไอเจ็บคอร่วมกับอาการไข้
จนถึงไข้สูงหนาวสั่นปวดเมื่อยตามตามตัว ปวดหัว ปวดตามข้อ
หลังจากนั้น อาการจะมีการเปลี่ยนแปลงและลุกลาม
ไปจนถึงการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง
คือ ปอด จุดนี้ที่จะทำให้คนไข้เริ่มมีอาการเหนื่อย
เกิดภาวะเมตาบอลิซึ่มสูง ร่วมกับการติดเชื้อในปอด
ทำให้ออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง คนไข้จะหายใจหอบเหนื่อย
หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งจะมีความแตกต่างจากอาการเจ็บหน้าอก
จากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คือ อาการเริ่มต้นจะไม่มีอาการ
ของไข้หวัดมาก่อน โดยมากอาการเจ็บหน้าอกจากเส้นเลือดตีบ
จะสัมพันธ์โดยตรงกับการออกแรงและออกกำลังกาย
ขณะที่อาการเหนื่อยจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือน้ำท่วมปอดนั้น
หากเกิดขึ้นจากภาวะน้ำหนักเกินจะไม่มีอาการเป็นไข้หวัดนำมาก่อน
หรือร่วมด้วย แต่ลักษณะอาการของโรคหัวใจล้มเหลว หรือน้ำท่วมปอดนั้น
จะเป็นตอนขณะที่นอนราบ และอาการจะมากขึ้นจนถึงนอนราบไม่ได้
นอนลงไปแล้ว จะมีอาการไอ ต้องนอนหมอนสูงหลายใบ
และหนักสุดคือนั่งหลับ เพราะนอนราบไม่ได้
สิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือ คนที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว
หากติดเชื้อ COVID-19 จะไปกระตุ้นให้อาการของโรคหัวใจกำเริบ
จนยกอาการได้ค่อนข้างยาก
ผู้ป่วยโรคหัวใจหากติดเชื้อ COVID-19
อาการจะรุนแรงมีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป
ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการหากติดเชื้อ
ไม่ได้อยู่เฉพาะในคนที่เป็นโรคหัวใจเท่านั้น
แต่ในกลุ่มอื่นๆ เช่น คนที่อายุมากว่า 65 ปี และมีโรคประจำตัว
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดเรื้อรังเดิม โรคเบาหวาน
โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับแข็ง และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่เดิม
ล้วนแต่เป็นภาวะที่จะทำให้การติดเชื้อ COVID-19 รุนแรง
และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงได้
ดังนั้น ผู้ป่วยควรมีความระมัดระวังในการดูแลตัวเองอย่างยิ่ง ไม่ให้ติดเชื้อ
โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนที่รักษาโรคได้โดยตรง
การดูแลตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
คนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว จะมีอาการแสดงมากขึ้น
หลังจากติดเชื้อ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หรือล้มเหลว
ถ้าได้รับเชื้อเข้าไปจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเมตาบอลิซึมสูงขึ้น
จนกระทั่งกระตุ้นให้โรคหัวใจล้มเหลวกำเริบ
หากติดเชื้อรุนแรงจะทำให้ไตวาย
และไตไม่สามารถขับน้ำออกจากร่างกายได้ จนเป็นเหตุให้น้ำท่วมปอด
ซึ่งทั้งสองภาวะนี้ ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิต
หรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จนต้องรักษาตัวเองในโรงพยาบาลนาน
และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาอีกมากมาย
คำแนะนำที่ดีที่สุด และได้ผลที่สุด
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ควรปฏิบัติ คือ Social Distancing
เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร ใส่หน้ากากอนามัย
และหมั่นล้างมือให้สะอาดสม่ำเสมอ หรือใช้เจลแอลกอฮอลล์ล้างมือ
กินร้อน ใช้ช้อนของตัวเอง ไม่ปนกับใคร แยกของใช้
และไม่ไปในแหล่งที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค
ส่วนของลูกหลานเองก็ต้องไม่เอาเชื้อจากนอกบ้านไปติดผู้สูงอายุ
ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/geralt-9301/?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=116585">Gerd Altmann</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th/?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=116585">Pixabay</a>
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ หากเกิดการติดเชื้อ COVID-19
อาจต้องสังเกตอาการของตนเองอย่างดี ตั้งแต่เริ่มต้น
เช่น อาการที่คล้ายหวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล
ไอเจ็บคอร่วมกับอาการมีไข้ จนถึงไข้สูงหนาวสั่น
ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัว ปวดตามข้อ ควรจะต้องรีบติดต่อสถานพยาบาล
และเตรียมพร้อมที่จะมาตรวจเพื่อรักษาอาการตั้งแต่เริ่มต้น
หากปล่อยไว้นาน อาจเป็นอันตรายได้
ในห้วงเวลาการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ขอดูแลทุกคนด้วยความห่วงใย
ภายใต้คุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล
เครติด : นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ
อายุรแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
บันทึก
5
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย