Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นักอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
23 พ.ค. 2020 เวลา 02:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
[ Chapter 14 ] PART 2 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
กลับมาเจอกันอีกครั้งใน Part ที่ 2 สำหรับเสา Planned Maintenance (PM) ใน Part ที่ผ่านมาผมได้พูดถึง Basic เบื้องต้นกันไปแล้ว แต่ผมก็ยังไม่สามารถที่จะพาทุกท่านเข้า Step ของ เสา PM ได้ ...ถ้าทุกท่านยังไม่เข้าใจ บทบาทหน้าที่ของแต่ละหัวข้อที่ได้พูดไว้ใน Part ที่ผ่านมา วันนี้ผมจะมาขยายความแต่ละหัวข้อ และทุกๆ รายละเอียด ด้วยภาษาแบบผมเนียแหละ จะทำให้กระชับและเข้าใจง่ายที่สุด เพราะช่วงนี้นิ้วเริ่มล็อค ผังผืดเริ่มกินข้อมือแล้ว 😭 มีวิธีการไหนที่พิมพ์ง่ายกว่าพิมพ์กับมือถือมั้ย
นั้นมาเริ่มกันเลยครับ เริ่มจาก.....
1. วิธีการซ่อมบำรุงเชิงปัองกัน (Preventive Maintenance ) คือ การรักษาสมรรถนะของเครื่องจักร โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร ถ้าให้เข้าใจง่ายๆ คือต้องทำให้เครื่องจักรเดินเครื่องได้ปกติ ภายใต้กิจกรรมป้องกันการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร เช่น การหล่อลื่น การปรับเครื่อง การตรวจสอบ การเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการบำรุงรักษาตามกำหนด และการบำรุงรักษาเชิงป้องกันด้วยเพื่อตรวจสอบความเสื่อมสภาพ
2. Predictive Maintenance : การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ คือการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักร จากผลการวัดและประเมินโดยการใช้เครื่องมือจำเพราะ เพื่อให้ได้ผลที่แสดงเป็นข้อมูลที่สามารถพยากรณ์การชำรุดในปัจจุบัน เพื่อที่จะวางแผนการซ่อมบำรุงในอนาคต เพื่อป้องกันการ breakdown ของเครื่องจักร
3. Corrective Maintenance : การบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง คือรูปแบบการบำรุงรักษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความน่าเชื่อถือ ด้านสมรรถนะการบำรุงรักษาและความปลอดภัยต่างๆ โดยมีการทำ Kaizen แบบมีแบบแผนและจริงจังต่อจุดด้อย หรือจุดที่เป็นจุดอ่อนจากการออกแบบของเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบด้านโครงสร้าง หรือการใช้วัสดุ และมุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาในจุดเหล่านี้ เพื่อมุ่งไปสู่เครื่องจักรที่ไม่ต้องมีการบำรุงรักษา
สิ่งที่สำคัญคือ การนำข้อมูลการบำรุงรักษาที่มีการเก็บจากการทำ Corrective maintenance มาเป็นประโยชน์ในการ Maintenance Prevention ต่อไป
4. Maintenance Prevention : การป้องกันการบำรุงรักษา คือ การนำเอา Technology ใหม่ๆ เข้ามาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเครื่องจักรใหม่ โดยอาศัยข้อมูลจากการทำ Corrective maintenance มาเป็นข้อมูลในการออกแบบ โดยมีเป้าหมายคือการซ่อมบำรุงเป็นศูนย์ หรือ “Maintenance free ” นั้นเอง
ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การสร้างระบบ Feedbackโดยนำข้อมูลการบำรุงรักษามาเขียน MP Infornation ที่ได้จากการทำ Corrective maintenance ในแต่ละวันมาใช้เป็นประโยชน์ในการออกแบบนั้นเอง สำหรับฝ่ายผลิตก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่ทำ Kaizen ในแง่การบำรุงรักษา การปรับปรุง การแก้ไข เขียนเป็น MP Information sheet ส่งหน่วยงาน Engineering เพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการออกแบบเครื่องจักรใหม่
5. Breakdown Maintenance : การบำรุงรักษาเมื่อขัดข้อง คือ รูปแบบการบำรุงรักษาที่ดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนเมื่อเครื่องจักร หรืออุปกรณ์เสื่อมสภาพเสียหาย หรือกลไกหยุดทำงาน ในการทำงานส่วนใหญ่ยังคงพบ Breakdown maintenance อยู่ทั่วไปในภาคอุตสาหกรรมที่มีระบบ Preventive maintenance ไม่ดีพอ
จากระบบการบำรุงรักษาหลักๆ ที่ได้อธิบายไปเป็นเพียงส่วนนึงที่คุณต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะขยับตัวเข้าไปในเขตพื้นที่ของการเริ่มทำ เสา PM แต่แค่นี้คงยังไม่พอ ผมขอเพิ่มเติมสิ่งที่คุณต้องรู้ให้อีกนิดหน่อยก่อนเข้า Part ที่ 3 ละกันโดยเริ่มจาก
(1) หลักการคิดอัตราการเกิด Failure คือ
อัตราความถี่การเกิด Failure = (จำนวนรวมของการหยุด/จำนวนรวม load time)x100%
* load time คือ เวลาเครื่องทำงาน + เวลาเครื่องหยุด
(2) ช่วงเวลาทำงานเฉลี่ยระหว่าง Failure หรือ Mean time between failures : MTBF
MTBF = เวลารวมของเวลาทำงาน / จำนวนครั้งรวมของการหยุด(Failure)
เช่น t1+t2+t3+t4
——————
4
(3) ระยะเวลาเฉลี่ยจนถึง Failure (MTTF : Mean time to failure) คือค่าเฉลี่ยของเวลาทำงานของชิ้นส่วนที่ไม่ซ่อมตั้งแต่เริ่มใช้งานจนกระทั้ง Failure
เช่น t1+t2+t3+t4
——————
4
* t : อายุการใช้งานแต่ละชิ้นส่วน
(4) เวลาซ่อมโดยเฉลี่ย ( Mean time to repair) คือค่าเฉลี่ยเวลาที่จำเป็นในการซ่อมบำรุง คิดได้จาก
. ยอมรวมของเวลาหยุดจาก Breakdown
MTTR = ———————————————
ยอดรวมจำนวนครั้งหยุดจาก Breakdown
จากทั้งหมดที่ได้อธิบายมาก็คงพอจะเป็นความรู้เบื้องต้นในการที่จะทำ PM Activity ได้พอสมควร ใน Part ที่ 3 ผมจะมาอธิบายขั้นตอนแต่ละ Step ของเสา PM รวมถึงข้อมูลในการยื่นขอ Assessment จาก JIPM ด้วย
สุดท้ายถ้าเห็นว่าเป็นบทความที่มีประโยชน์ฝากกดติดตามด้วยครับ
#นักอุตสาหกรรม #TheSyndicate
บทความ TPM ที่เกี่ยวข้อง
1. SPECIAL CONTENT : EP 2 เรื่องเล่าเสา 2
https://www.blockdit.com/articles/5ec721c00952850b8f1d8702
2. SPECIAL CONTENT : EP 1 เรื่องเล่าเสา 2
https://www.blockdit.com/articles/5ec628b89d862b31f552165f
3. [ Chapter 14 ] PART 1 : PM Pillar - Planned แบบไหน Maintenance แบบไหนให้ซื้อใจเครื่องจักร
https://www.blockdit.com/articles/5ec400935e3bb40c64eb1cbd
3 บันทึก
4
12
3
4
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย