ทำไม Microsoft ถึงกลายมาเป็นผู้พ่ายแพ้ในตลาด Smartphone
ทุกสิ่งล้วนอนิจจังไม่เว้นแม้แต่บริษัท Microsoft (ไมโครซอฟต์) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอทีที่ครั้งหนึ่งเคยครองความยิ่งใหญ่ในฐานะราชันย์ที่เพียบพร้อมไปด้วยสุดยอดผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ (Operating System ; OS )Window ที่ครั้งหนึ่งเคยผูกขาดระบบปฏิบัติการกว่า 90 %ของโลก, Internet Explorer อดีตสุดยอด Web Browser ที่เคยครองอันดับ 1 ในด้านความเร็วในการโหลดหน้าเว็บและจำนวนผู้ใช้งาน, Microsoft Office สุดยอดโปรแกรมจัดการสำนักงานที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน, Hotmail (หรือต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Outlook ในปัจจุบัน) บริการจดหมายออนไลน์ที่ครั้งหนึ่งเคยครองความนิยมในอันดับ 1 และ Xbox เครื่องเกมคอนโซลที่ครั้งหนึ่งเคยก้าวขึ้นมาเป็นเครื่องเกมยอดนิยมที่เป็นรองแค่เพียง PlayStation เท่านั้น เป็นต้น
5
ด้วยความสำเร็จที่มีมาอย่างยาวนานทำให้ในบริษัทเต็มไปด้วยทรัพยากรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เงินทุน, บุคลากร, สินค้า และชื่อเสียงของ Brand ส่งผลให้มันไม่ใช่เรื่องยากที่ Microsoft จะสร้างระบบปฏิบัติการใน Smartphone ให้ประสบความสำเร็จ ถึงกระนั้นบริษัทกลับทำออกมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จ หนำซ้ำยังพ่ายแพ้ให้กับบริษัท Google ที่เป็นหน้าใหม่ในตลาดระบบปฏิบัติการ จนสุดท้าย Microsoft ก็ถูกเขี่ยลงจากบัลลังก์ราชาแห่งวงการไอทีในที่สุด ต่อมาในปี 2017
6
ซึ่งถือเป็นจุดด่างพร้อยและจุดดำมืดที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท Microsoft ที่แม้แต่ Bill Gate (บิล เกตส์) อดีต CEO และ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft ยังออกมายอมรับเลยว่านี่เป็นสิ่งที่ผิดพลาดอันยิ่งใหญ่ที่สุดของบริษัท Microsoft ที่ทำให้ระบบ Android ของ Google ได้ผงาดขึ้นมาแทนที่
Bill Gate (บิล เกตส์) อดีต CEO และ ผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด เริ่มมาจากความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของบริษัท Microsoft ในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer ; PC) ซึ่งบริษัทสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้กว่า 90 % ในช่วงทศวรรษ 1990 จึงส่งผลให้บริษัทมีความมั่นใจและความหยิ่งผยองในฐานะผู้นำตลาดที่ไม่มีวันถูกโค่นล้มลงได้ ทำให้บริษัททุ่มเททรัพยากรไปพัฒนาสินค้าเดิมที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น อย่าง Window , Office และ Internet Explorer มากกว่าทุ่มเทพัฒนาสิ่งใหม่ๆที่กำลังจะเป็นเทรนใหม่ในวงการเทคโนโลยี
แต่อย่างไรก็ดี Microsoft ก็ยังมีความสนใจเกี่ยวกับตลาดเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่บ้าง อย่างตลาดเครื่อง PDA ( หรือรู้ในชื่อเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาที่มีความสามารถคล้ายคลึงกับ Smartphone ในปัจจุบันที่ต่างมีเพียงแค่จะไม่สามารถโทรออกได้ และต้องใช้ Stylusในการป้อนคำสั่งเป็นหลัก และนิยมในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นองค์กรเท่านั้น) ดังนั้น Microsoft จึงคิดค้นระบบปฏิบัติการ Window CE เพื่อรองรับตลาดนี้ขึ้นมาในปี 1996 (พ.ศ.2539) แต่ทว่า Microsoft ก็ไม่ได้จริงจังเท่าที่ควร นั่นเพราะสำหรับเครื่อง PDA Microsoft มองว่ามันเป็นแค่ส่วนเสริมสำหรับกลุ่มนักธุรกิจ ที่ต้องการคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถใช้ตอบ Email ได้ในขณะเดินทาง และทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวที่แจ้งเตือนกำหนดการต่างๆในชีวิต
2
ซึ่งนี่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบริษัท Apple กับ Microsoft นั่นก็คือเรื่องวิสัยทัศน์ ซึ่ง Apple มองขาดว่าเครื่องเล่นเพลง MP3 ที่สามารถโหลดเพลงเข้าไปในเครื่องได้หลายพันเพลงคืออนาคตจึงส่งผลให้เครื่องเล่น iPod ประสบความสำเร็จและกลายมาเป็นตำนานเครื่องเล่น MP3 จนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ Microsoft ไม่ได้มองว่าตลาดนี้คืออนาคต ทำให้ระบบปฏิบัติการ Window CE ไม่ได้รับการใส่ใจในการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้มันไม่ได้รับความนิยมและสู้คู่แข่งอย่าง Palm OS ไม่ได้
5
จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ในช่วงระหว่างปี 1999-2000 ที่ตลาดเครื่อง PDA นั้นกำลังอยู่ในช่วงบูมสุดขีด ยอดขายโตกว่า 114 % ทำให้ Microsoft เริ่มสนใจมาบุกตลาดนี้จริงจังมากขึ้นโดยพัฒนาระบบปฏิบัติการ Window CE เดิมให้มีความเหมาะสมกับหน้าเล็กๆของเครื่อง PDA และกินพลังเครื่องน้อยกว่าเดิมแถมยังเปลี่ยนชื่อเป็น Pocket PC 2000 ก่อนที่สุดท้ายจะเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น Windows Mobile ในที่สุด
2
(บน) หน้าจอ UI ของWindow CE (ล่าง) หน้าจอ UI ของ Pocket PC 2000
ถึงแม้ Microsoft จะบุกตลาดเครื่อง PDA จริงจังยิ่งขึ้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังคงขาดวิสัยทัศน์อยู่ดี เนื่องจาก Microsoft ยังคงมองเครื่อง PDA เป็นแค่ส่วนเสริมสำหรับนักธุรกิจอยู่เหมือนเดิม ทำให้ Windows Mobile ไม่ได้รับการพัฒนาให้มี Function การใช้งานที่ล้ำหน้าหรือเปลี่ยนแปลงโลกแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังคงประสบความสำเร็จอยู่ดี เนื่องจากมันมาในจังหวะที่ตลาดเครื่อง PDA กำลังเติบโต และมาจากชื่อเสียงของ Microsoft ที่ในขณะนั้นกำลังครองบัลลังก์อยู่พอดี
ถึงแม้ Microsoft จะเข้ามาสู่ตลาดนี้อย่างเป็นทางการช้ากว่าเจ้าอื่นๆ แต่ยอดขายของเครื่อง Windows Mobile ก็โตวันโตคืนขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงช่วงพีคที่สุดในปี 2007 ที่มียอดขายกว่า 42 % ของเครื่อง PDA ในประเทศสหรัฐอเมริกาล้วนเป็นของ Windows Mobile ด้วยกันทั้งสิ้น
แต่ทว่าท่ามกลางความสำเร็จอันสวยงามเหล่านี้ของ Microsoft ในปีนั้นทำให้ Microsoft หลงระเริงจนไม่ได้ตระหนักถึงภัยร้ายจากอสุรกายตัวใหม่จากบริษัท Apple ซึ่งในตอนแรกอาจดูไม่มีพิษสงหรืออันตรายใดๆ แต่ทว่านานวันเข้ามันก็ค่อยๆแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายสิ่งที่มันทำลายไม่ใช่เพียงแค่ Windows Mobile ของ Microsoft แต่มันยังทำลายตลาดเครื่อง PDA ที่ไม่ได้มีความแข็งแกร่งอยู่แล้วให้พังพินาศลงมาจนสิ้นซาก ซึ่งอสุรกายตัวนั้นก็คือ iPhone รุ่นแรกนั่นเอง
ซึ่งนี่คือทัศนคติที่ CEO Microsoft ณ ขณะนั้นอย่าง สตีฟ บัลเมอร์ (Steve Ballmer) มอง ซึ่งมันส่งผลให้ Microsoft ไม่ได้ใส่ใจพัฒนาระบบ Window Mobile ซักเท่าไหร่เพราะ Microsoft มั่นใจว่าตลาดเครื่อง PDA แบบดั้งเดิมยังคงไปได้อยู่ เนื่องจากยอดขายที่พุ่งไม่หยุดของเครื่อง PDA ในปี 2007 และไม่ได้มองว่าสิ่งที่ Apple ทำมันจะกลายเป็นอนาคตของวงการไอทีแต่อย่างใด
สตีฟ บัลเมอร์ (Steve Ballmer) CEO ของ Microsoft ในช่วงปี 2000-2014
ในขณะที่ Microsoft กำลังหลงระเริงกับความสำเร็จของตน คู่แข่งรายใหม่อย่าง Google ก็ผงาดขึ้นมาสู่สงครามระบบปฏิบัติการใน Smartphone ด้วยการปล่อย Android ออกมาในปี 2008 (พ.ศ.2551) ซึ่งเป็นหนึ่งปีให้หลังจากการเปิดตัว iPhone รุ่นแรก
8
โดยในตอนแรก Google สร้าง Android มาแข่งกับ Windows Mobile ของ Microsoft แต่ทว่าหลังจาก iPhone รุ่นแรกเปิดตัวมา ทีมงาน Google ต่างก็ต้องตกตะลึงไปตามๆกันกับนวัตกรรมการออกแบบ UI ที่ใช้งานง่ายและระบบการสัมผัสด้วยนิ้วมือมนุษย์ ซึ่งมีความล้ำหน้ากว่าบริษัทใดๆในโลก และยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังมองว่าสิ่งที่ Apple ทำคืออนาคตของวงการไอทีที่กำลังจะก้าวต่อไป Google จึงไม่รอช้าจึงรีบเขียน Android ขึ้นมาใหม่โดยอิงจาก iPhone จนออกมาเป็น Android 1.0 ใน HTC Dream มือถือ Android เครื่องแรกของโลก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2008
กลับมาที่ทาง Microsoft หลังจากหลงระเริงในความสำเร็จในปี 2007 ทำให้บริษัทไม่ได้สนใจพัฒนาระบบ Windows Mobile ที่บัดนี้ได้กลายเป็นของโบราณตกยุคไปแล้ว หลังจากการเปิดตัวของ iPhone รุ่นแรก ทำให้ 1 ปีต่อมาในช่วงปลายปี 2008 ยอดขาย Windows Mobile ก็ตกฮวบลงเหลือเพียง 27 % กลุ่มลูกค้าบางส่วนของ Microsoft เริ่มหันไปซื้อ iPhone ที่มีความทันสมัยและใช้งานง่ายกว่ามากขึ้น
ซึ่งกว่า Microsoft จะตะหนักรู้ก็ได้สายเกินไปเสียแล้ว เนื่องจากในขณะนั้นพวกเขาไม่มีระบบปฏิบัติการที่มีความล้ำสมัยที่เทียบเท่ากับ iPhone อยู่ในมือเลย ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ในปี 2009 ทาง Microsoft ได้ปล่อย Windows Mobile 6.5 เป็นเวอร์ชั่นแก้ขัด แต่สาหตุที่Microsoft ต้องปล่อยเวอร์ชั่น 6.5 ออกมาก่อนตัวจริงนั่นก็เป็นเพราะการสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาใหม่ให้เท่ากับ iPhone นั้นจะต้องใช้เวลานานมากและพวกเขาไม่มีทางทำเสร็จภายในระยะเวลาครึ่งปีได้ ด้วยเวลาที่นานโขเพื่อป้องกันไม่ให้เสียฐานลูกค้าเดิมจึงทำให้จำต้องปล่อยเวอร์ชั่นแก้ขัดออกมาก่อนเพื่อให้ลูกค้ายังเห็นความต่อเนื่องของพวกเขา
ซึ่ง Windows Mobile 6.5 นั้นสามารถรองรับได้หลายต่อหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการซื้อ/โหลด App บนร้านค้าออนไลน์อย่าง Window Marketplace for Mobile, การปรับระบบการใช้งานให้เหมาะกับนิ้วมือมากขึ้น และการปรับเมนูปุ่ม Start ให้ไอคอนใน App เรียงกันเป็นแบบ iPhone ถึงแม้มันอาจไม่ไหลลื่นเท่ากับของ iPhone ก็ตาม ผลตอบรับจากระบบลูกผีลูกคนก็ไม่ดีตามที่คาดโดยยอดของ Windows Mobile ตกฮวบเหลือเพียง 15 %
Window Phone 7.0 ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากเหล่านักวิจารณ์ เนื่องจากความไหลลื่นของระบบที่สามารถเทียบเท่ากับ iOS ของ iPhone อีกทั้งยังดียิ่งกว่า Android ที่ยังอยู่ในช่วงเวอร์ชั่นแรกๆ และหน้าจอ Metro UI ที่ได้รับการออกแบบให้มีความโดดเด่นกว่าของ iPhone และ Android ที่เป็นไอคอน APP เรียงกันอยู่ในหน้าจอหลัก โดยในหน้าจอหลักใน Windows Phone จะแสดงเป็นรูปหน้าต่างที่เปิดอยู่ตลอดเวลาและผู้ใช้สามารถรับรู้การแจ้งเตือนต่างๆได้แบบ Real time โดยที่เราไม่ต้องกดเข้าไปใน APP อย่างเช่นเราสามารถรู้ได้เลยว่าตอนนี้มีสภาพอากาศเป็นเช่นไรจากข้อมูลบนรูปหน้าต่าง
ถึงกระนั้น Microsoft ก็มาช้าไปเสียแล้ว เพราะในตลาด Smartphoneในขณะนั้นส่วนใหญ่ถูกพิชิตโดย iOS กับ Android ไปเสียแล้วและแทบไม่มีพื้นที่ให้ผู้เล่นหน้าใหม่ๆหรือหน้าเก่าเข้ามาเล่นได้เลย อย่างไรก็ตาม Microsoft ก็ยังมีข้อได้เปรียบอยู่จากการที่เป็นราชาแห่งวงการไอทีมานานกว่า 15 ปี ส่งผลให้มีชื่อเสียง บารมีและทรัพยากรจำนวนมากอยู่พอสมควรจึงทำให้ Microsoft ยังมีโอกาสแก้ลำกลับมายิ่งใหญ่ในตลาด Smartphone ที่กำลังเติบโตอยู่ได้ แต่ทว่า Microsoft ก็ยังคงเดินเกมพลาดอีกจนได้และการเดินพลาดในครั้งนี้ส่งผลให้กลายเป็นความผิดพลาดครั้งเลวร้ายที่สุดที่พวกเขาไม่อาจจะคาดถึงได้
1
Metro UI ในWindow Phone 7.0
ซึ่งเรื่องราวความผิดพลาดครั้งเลวร้ายที่สุดของ Microsoft มีดังต่อไปนี้
1
จากความสำเร็จของ Android ที่วางตัวเป็นระบบปฏิบัติการที่ทุกคนสามารถใช้ได้และเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการ Smartphone ที่มีความสามารถเหมือน iPhone ในราคาไม่แพงจึงทำให้มือถือที่ใช้ระบบ Android ได้แพร่หลายไปทั่วโลกอย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ครั้งหนึ่ง Microsoft เคยใช้จนสามารถเอาชนะระบบ Mac OS และขึ้นครองโลกได้ในที่สุด
2
แต่ทว่าสิ่งที่ Google นั้นแตกต่างจาก Microsoft นั่นก็คือ Google เปิดโอกาสให้ทุกคนในโลกใช้ได้ฟรี ในขณะที่ Microsoft ยังคงทำการตลาดแบบเก่าๆที่ผู้ผลิตต้องเสียค่า License ในการลงระบบปฏิบัติการของ Microsoft ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิต Window Phone จึงสูงกว่า ทำให้บริษัทผลิตมือถือหันไปลงทุนในการผลิต Smartphone ที่ใช้ในระบบ Android ซึ่งต้นทุนถูกกว่าและประสบความสำเร็จไปแล้ว
2
แต่มันยังไม่จบเพียงเท่านี้เมื่อ Microsoft เลือกที่จะเลียนแบบบริษัท Apple ที่มีการผลิตทั้ง Hardware และ Software เองจึงส่งผลให้บริษัทสามารถควบคุมการผลิต iPhone ให้ออกมามีคุณภาพสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งความไหลลื่นซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ Hardware และ Software ที่เกิดมาเพื่อพึ่งพาซึ่งกันและกัน
1
จึงทำให้ Microsoft คุมเข้มการกำหนดสเปคมือถือที่บริษัทมือถือผลิตออกมาจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ Microsoft กำหนดไว้ ไม่อย่างนั้นก็จะผลิตออกมาไม่ได้ ด้วยความเรื่องมากและมาตรฐานสูงที่ Microsoft ทำตัวราวกับเป็นเจ้าของบริษัทผลิตมือถือ ทั้งที่เป็นแค่บริษัทผลิต Software เพียงเท่านั้นและเมื่อรวมกับปัญหาก่อนหน้านั้นอย่างเรื่องการเก็บค่า license ทำให้บริษัทผลิตมือถือจำนวนมากไม่ค่อยยอมผลิต Smartphone ที่ลงระบบ Windows Phone ส่งผลให้การตลาดที่เคยเป็นจุดแข็งของ Microsoft อย่างการวางตัวเป็นระบบปฏิบัติการที่ทุกคนสามารถใช้ได้กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ถึงแม้ Window Phone จะมีความไหลลื่นและประสิทธิภาพที่สูงกว่า Android ก็ตาม
2
ยิ่งไปกว่านั้น Microsoft ยังละโมบโลภมากต้องการกำไรจาก License และในขณะเดียวกันก็ยังต้องการกำไรจาก Hardware อีกด้วยจึงไปจับมือกับ Nokia เพื่อผลิต Smartphone รุ่นใหม่ที่มีชื่อว่า Nokia Lumia ขึ้นมาในปี 2011ซึ่งได้รับกระแสตอบรับดีมากจากนักวิจารณ์และสร้างยอดขายเป็นที่น่าพอใจสำหรับ Microsoft ถึงแม้มันอาจสู้ยอดขายของ Samsung Galaxy S2 กับ iPhone 4S ที่ออกมาในเวลานั้นด้วยเช่นกันไม่ได้
Nokia Lumia 800 (2011) เป็นผลงานชิ้นแรกในซีรี่ย์ Lumia ที่เกิดจากความร่วมมือระว่าง Microsoft กับ Nokia
จึงส่งผลให้ Microsoft ต้องกระชับความสัมพันธ์กับ Nokia ให้แนบแน่นขึ้นกว่าที่เคย โดยการให้สิทธิประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิการผลิตมือถือโดยไม่ต้องเสียค่า License ให้กับ Microsoft และ สิทธิการได้รับอัพเดทก่อนเจ้าอื่นๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ที่ Microsoft แสดงออกมานั้นสร้างความไม่พอใจต่อบริษัทผลิตมือถือยักษ์ใหญ่เป็นจำนวนมาก และเมื่อรวมกับยอด Market Share ของ Window Phone ที่ยังคงต่ำเรี่ยดินไม่ถึง 5 % ด้วยซ้ำจึงทำให้บริษัทเหล่านั้นได้ถอนตัวจากการเป็นผู้ผลิตมือถือและนั่นส่งผลให้ Nokia ได้กลายมาเป็นผู้ผลิต Window Phone รายใหญ่รายเดียวของ Microsoft ทำให้ในปี 2014 Microsoft ได้ซื้อ Nokia มาเป็นของตน
จึงทำให้มันเป็นเรื่องน่าเสียดายเอามากๆสำหรับ Microsoft ยักษ์ใหญ่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพมากมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนโลกเหมือนอย่าง Apple แต่ทว่าบริษัทกลับขาดวิสัยทัศน์จึงทำให้บริษัทพลาดที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำเทรนใหม่ๆในโลกไอที อย่างการสร้าง Smartphone ขึ้นมา ทั้งที่บริษัท Microsoft มีประสบการณ์จากการบุกตลาดก่อน Apple แท้ๆ ถึงกระนั้นยังไม่น่าเจ็บใจเท่ากับการที่บริษัทยังไม่เข้าใจตนเองว่าอยากทำอะไรกันแน่ จึงเลือกวิธีการที่เต็มไปด้วยความละโมบโลภมาก ผลสุดท้ายบริษัทก็จบลงด้วยความไม่ประสบความสำเร็จเลยสักอย่างและกลายมาเป็นความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของบริษัทอีกด้วย
2
ซึ่งความล้มเหลวของ Window Phone นี้มันช่างยิ่งใหญ่เกินกว่ามูลค่าเงินที่ Microsoft ขาดทุนไปเสียอีก สิ่งที่ Microsoft สูญเสียไปก็คือจุดยืนในสงครามโลกไอทีในยุคปัจจุบันอย่าง Smartphone กับ Tablet ซึ่งมันกำลังจะกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะถูกใช้แทนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่นับวันคนซื้อมาใช้งานก็มีแต่จะถดถอยลงไปเรื่อยๆ และสุดท้ายหากทุกคนในโลกเลิกใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะกันหมดมันอาจทำให้บริษัทถึงคราวอวสานก็เป็นได้