21 พ.ค. 2020 เวลา 12:00 • ข่าว
รู้จัก Platybelodon ช้างดึกดำบรรพ์ มีงาแบน อยู่บนโลกนี้ 20 ล้านปีก่อน
ช้างดึกดำบรรพ Platybelodon ช้างดึกดำบรรพ์ งวงล่างมีงาแบนอยู่ที่ปลายงวง ลักษณะคล้ายพลั่ว
เมื่อ 23-5 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาของสมัยไมโอซีน (Miocene) ที่กินเวลาประมาณ 10 ล้านปี ในยุคนั้น มีสัตว์หน้าตาแปลก ๆ เดินกันให้ควักมากมาย หนึ่งในนั้นคือ Platybelodon
Platybelodon อ่านว่า "พลาตีบีโลดอน" เป็นสิ่งมีชีวิตเลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายช้างในปัจจุบัน อาศัยอยู่ในยุคปลายของสมัยไมโอซีน ทั่วทวีปแอฟริกาและยูเรเชีย
ตัวของพลาตีบีโลดอนสูง 9 ฟุต ยาว 10 ฟุต และหนักประมาณ 2 ตัน คาดว่าน่าจะมีขนาดและน้ำหนักเท่ากับรถคันเล็ก 1 คน ไม่ใหญ่เท่าช้างในปัจจุบัน แต่ก็ไม่น่าเล็กเกินไป คาดว่าน่าจะขนาดพอ ๆ กับช้างเอเชียในปัจจุบัน มันอาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำธาร คอยกินพืชผัก เพราะเป็นสัตว์กินพืช
ช่วงปี 20 นักวิทยาศาสตร์พบเจ้าพลาตีบีโลดอน และตั้งชื่อมันในปี 1928 ว่า "Flat-Tusk" หรือ "ช้างงาหอกแบน" จากลักษณะงาของมันที่แบน ติดอยู่ตรงปลายงวงล่าง ยื่นไปข้างหน้า คล้าย ๆ กับพลั่ว โดยความยาวของงวงและงาล่างนี้อยู่ที่ประมาณ 2-3 ฟุต
หลายคนคงสงสัยว่า แล้วงวงและงานี้มันทำงานอย่างไร? Henry Osborne ผู้ชำนาญการด้านพืชและสัตว์ดึกดำบรรพคิดทฤษฎีหนึ่งตั้งแต่ช่วงปี 30 ไว้ว่า งาด้านล่างของมันทำหน้าที่คล้ายพลั่วขุดพืชขึ้นมากิน (คล้าย ๆ กับช้อนส้อม Spork ในปัจจุบัน) แต่ผู้ชำนาญการด้านพืชและสัตว์ในปัจจุบันคิดต่าง จากลักษณะของงวงและงาล่างที่หนาและแข็งแรง มันน่าจะมีไว้เพื่อตัดต้นไม้ กิ่งไม้ และแซะไม้ออกมากินต่างหาก
สาเหตุการสูญพันธุ์ของพลาตีบีโลดอนยังไม่แน่ชัด และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปในช่วงปลายยุคไมโอซีน ตอนนั้นเกิดภัยแล้ง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้เจ้าช้างงาหอกแบนเหล่านี้ไม่สามารถหาอาหารและสูญพันธุ์ไปได้
ภาพ TOMASZ JEDRZEJOWSKI
ที่มา
ณิชากร บัวทรัพย์
เด็กหญิงแก้มยุ้ยเป็นมิตร
environman
ติดตามกันได้ที่
โฆษณา